ปัญหาที่ยังรอ "การแก้"


เช้าวันนี้ดูจะเต็มไปด้วย "ปัญหา" และเป็นปัญหาที่ยังไม่มีข้อสรุปลงตัว พวกเราทำได้ได้เพียงแต่ "วิเคราะห์" เท่านั้น ปัญหาจากเหตุการณ์ถึงสองเหตุการณ์ ซึ่งต่างกรรมต่างวาระ.............

รายแรก......

 แพทย์โทรมาจะส่งตรวจ Lactic acid ซึ่งใช้หลอด NaF (สำหรับตรวจน้ำตาล) และเจาะไปแล้ว 2 ครั้ง Clotted ทุกครั้ง เลือดเด็กซะด้วย โทรมาปรึกษาห้อง Lab. นายดำเป็นคนรับค่ะ บอกว่าสงสัยหลอด NaF จะมีปัญหาซะแล้ว พี่นุชจึงเป็นคนรับช่วงต่อค่ะ บอกทั้งวิธีการเก็บถูกหรือไม่ใช้หลอดถูกมั๊ย ?Mix ดีรึเปล่า เขาก็บอกทำตามขั้นตอน ผู้เขียนจึงเดาเอาว่าเป็นเพราะหลอด Stock ไว้นานรึเปล่า ? พี่นุชจึงได้แนะนำให้ลองมาเบิกหลอดจากพัสดุและลองเจาะอีกครั้ง ส่งมาใหม่ โชคดีไม่ clotted 

แม้ปัญหาถูกแก้ไปแล้ว แต่สาเหตุหรือต้นเหตุที่แท้จริงล่ะ พวกเราลองคุยๆ กันค่ะ รวมทั้งคุณประจิมหัวหน้าโครงการด้วย ซึ่งพบว่าปัญหาการ Clotted ไม่ลดลงสักเท่าไร หรือจะลองซื้อ Tube NaF มาลองเปรียบเทียบใช้ดูบ้าง  เพราะขั้นตอนการเตรียมก็ยุ่งยาก เตรียมครั้งละ 5000 - 6000 หลอด  ทั้งล้างหลอด เรียงหลอด เติมน้ำยา อบ ปิดจุก ติดสลาก นับ  Pack และส่ง (ตอนนี้พี่ดา และพี่นุช ไฟเขียว แต่  อ.ประสิทธิ์ ยังไม่แน่ใจ ) แล้วเราก็ จบ !! ตรงแค่นี้

รายที่สอง (แม้เป็นรายที่สองแต่เกิดก่อน)

เกิดอุบัติการณ์และอุบัติเหตุขึ้นในห้อง Lab. เคมี แต่เช้าเลย......ขวดปัสสาวะที่เก็บ 24 ชั่วโมง เกิดร้าวและแตกขณะพี่ผอบนำไปวัดปริมาตร ผลก็คือพี่อบต้องกลับไปอาบน้ำบ้านพี่ดาใหม่อีกรอบ

เหตุการณ์นี้เคยเกิดกับผู้เขียนแล้วด้วย ผู้เขียนเลยเสนอว่าถ้าเราใช้ขวดที่เป็นพลาสติกล่ะ (จะได้ไม่แตก) แต่พี่โอ๋และพี่นุชแนะนำว่ายังไงผ่านการล้างและอบหลายครั้งก็คงจะกรอบเหมือนกัน อีกทั้ง Toluene ซึ่งเป็นสาร Preservative ก็ยังกัดพลาสติกได้อีก....

แล้วเราจะสามารถใช้สาร preservative ตัวอื่นได้ไหม??? (เพราะสาร Tolune เป็นสารที่ค่อนข้างอันตราย ทั้งต่อระบบหายใจ สัมผัส และมีมลพิษกับสิ่งแวดล้อมอีกต่างหาก)
พี่นุชบอกว่า อาจจะได้ และให้ผู้เขียนลองไปค้นดู.....
ตอนนี้ยังไม่มีเวลาค้นค่ะ แต่ผู้เขียนคลับคล้ายคลับคลาว่า
"Tolune มีคุณสมบัติเป็นเหมือนน้ำมันที่เคลือบผิวชั้นบนของปัสสาวะไม่ให้สัมผัสกับอากาศ"

ผู้เขียนนึกสงสัยขึ้นมาอีกแล้วค่ะ ว่า.....

หากเราจะใช้น้ำมันอื่นๆ เช่นน้ำมันพืช น้ำมันทาตัวเด็ก น้ำมันมะกอก มาเคลือบผิดของปัสสาวะไม่ให้สัมผัสกับอากาศแทนจะได้ไหมหนอ  ??

 แค่ลองคิดดูเล่น ๆ แต่คิดดัง ๆ ค่ะ

แต่นายดำเสนอให้ลองถามพี่อนุชาดูค่ะ ได้คำตอบค่ะ คือในน้ำมันพืช ก็อาจจะมีสารอาหารทำให้แบคทีเรียเติบโตได้เช่นกัน

แต่ผู้เขียนก็ยังนึกสงสัยอยู่เช่นเดิมค่ะ เป็นต้นว่า....

แล้วน้ำมันทาตัวเด็กล่ะ หรือน้ำมันมะกอกล่ะ.....

 แล้วจะต่างกันอย่างมีนัยสำคัญรึเปล่า ?????หนอ!!!!

หมายเลขบันทึก: 53555เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2006 13:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ปัญหาแรก
  • หลอด NaF ที่เบิกไปอาจเก่าเก็บ ซี่งอาจเก่าเก็บที่เรา หรือเก่าเก็บที่วอร์ดก็ได้ โดยอาจมีบางส่วนที่ทางวอร์ดใช้แต่ของใหม่ แล้วมีบางส่วนของเก่าค้างไว้ไม่ถูกนำมาใช้
  • น่าจะมีการติด Lot No และ วันหมดอายุ บนหลอดเก็บ NaF ที่เราเตรียมขึ้น เพื่อให้รู้ให้รู้ว่า เราเตรียมขึ้นเมื่อไหร่ หมดอายุเมื่อไหร่ หลอดที่ส่งต้วอย่างตรวจมาแล้ว clot เกิดจากหลอดหมดอายุหรือเปล่าจะได้สามารถติดตามได้ครับ
ปัญหาที่สอง
  • หากต้องการเพียงแค่สารเคลือบผิวไม่ให้สัมผัสอากาศ การใช้น้ำมันพืช น้ำมันทาผิว หรือน้ำมันมะกอก ก็น่าจะใช้ได้ แต่เกรดของสารที่นำมาใช้อาจไม่ได้รับการยอมรับ เนื่องจากอาจมีสารปนเปื้อนอยู่ในนั้นได้ ในห้องแล็บเราจะมี immersion oil ซึ่งเป็นน้ำมันที่เป็น reagent grade อยู่ ซึ่งอาจจะนำมาลองใช้เปรียบเทียบดูได้ครับ
  • เป็นกำลังใจให้ค่ะ
  • Happy กับ holiday นี้นะคะ

พี่ Mito ค๊ะ

ปัญหาแรก ตอนนี้เพิ่งมีการเพิ่ม lot No. ไปเมื่อการเตรียมครั้งล่าสุดที่ผ่านแล้วค่ะ ให้ชื่อว่า A, B, ...ไปเรื่อย ๆ ค่ะ  เนื่องจากเนื้อที่ของสติ๊กเกอร์มีจำกัด จึงเขียนได้แค่นั้นค่ะ แล้วจึงไปบันทึกในสมุดว่า lot A เตรียมวันไหน เมื่อไร ??

ปัญหาที่สอง ขอบคุณพี่ไมโตฯ ที่ชี้ช่องทางเลือกให้อีกหนึ่งทางค่ะ ผู้เขียนมีความคิดขึ้นมาว่า ปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะการเกษตร หรืออื่น ๆพยายามใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด ทางแพทย์หันมาใช้สมุนไพร เราชาว Lab. ก็น่าจะหาอย่างอื่นทดแทนได้บ้างมั๊ย ???

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท