โรงเรียนกวดวิชา ธุรกิจอีกประเภทที่น่าสนใจ


โรงเรียนกวดวิชาควรมุ่งเน้นที่เทคนิคการถ่ายทอด ความรู้ การจัดการในชั้นเรียน
การกวดวิชานั้นเกิดขึ้นจากภาวะการแข่งขันของระบบการศึกษา  นับวันยิ่งทวีความรุนแรงในสังคมที่ผ่านมา  พูดมาตลอดว่าการกวดวิชาเป็นแหล่งหากินจากช่องทางการศึกษา  สร้างความไม่เป็นธรรมขึ้นในสังคม  แต่ปัจจุบันโรงเรียนกวดวิชาเองก็ปรับตัวตามปรัชญาการศึกษาที่เปลี่ยนแปลง ปัญหาที่ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่เกิดความต้องการเรียนกวดวิชามาจากปัญหาที่เกิดขึ้นจากชั้นเรียนปกติในโรงเรียน  ทำให้นักเรียนต้องขวนขวายที่จะเรียนกวดวิชา  ซึ่งปัญหาที่พบคือ 

1.  เนื้อหาที่เรียนในห้องเรียนไม่สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอน

ทำให้นักเรียนไม่เข้าใจเนื้อหาได้ทั้งหมด  อีกทั้งเนื้อหาตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการไม่เพียงพอสำหรับความรู้ที่ใช้ในการสอบคัดเลือกในระดับต่าง ๆ

2.  สื่อและอุปกรณ์ในการเรียนการสอนที่โรงเรียนไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน

3.  อาจารย์ที่สอนในโรงเรียนปกติแต่ละท่านมีความพร้อมต่างกัน    คุณภาพในการสอนจึงไม่เท่ากัน  บางโรงเรียนมีอาจารย์สอนไม่ตรงกับสาขาวิชาที่จบมา  ไม่มีความรู้จริง  ทำให้นักเรียนได้ความรู้ไม่เต็มที่ จึงต้องออกมาเรียนกวดวิชา

4.  เวลาการเรียนมีน้อย

นักเรียนบางคนกลัวเรียนไม่ทันเพื่อน รวมทั้งบรรยากาศในการเรียนการสอนในโรงเรียนปกติไม่ดึงดูดความสนใจของนักเรียน จนกระทั้งราษฎร์อาวุโส ศน.พ. ประเวศ  วะสี เคยกล่าว่าสภาพห้องเรียนในระบบการศึกษาไทยเต็มไปด้วยความเครียดปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้นล้วนเป็นปัญหาที่กระตุ้นให้นักเรียนจำเป็นต้องเรียนกวดวิชาซึ่งอาจจะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ให้นักเรียนได้ไม่มากก็น้อย 

 

หมายเลขบันทึก: 53544เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2006 12:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท