R2R...ที่เกิดจากอุดมการณ์.."ทำเพื่อผู้ป่วย"(2)


พี่ราบอกว่า "ลูกทีมของพี่เก่งๆทั้งนั้น..."
ไม่ต้องรอข้ามวันค่ะ จากบันทึกก่อนหน้านี้  ถึงช่วงบ่ายวันเดียวกันนั้นเอง พี่ราก็มากระซิบบอกพี่เม่ยว่า
"พี่ไปคุยกับน้องหรู น้องนุก แล้วนะ เค้าโอเคกันหมดเลย.... ถามว่าจะเริ่มกันเมื่อไรล่ะ"
พี่เม่ย "นั่นสิ เริ่มเมื่อไรดี?"
พี่รา "เริ่มเลยดีกว่าเนาะ จะได้เสร็จเร็วๆ"
พี่เม่ย "งั้นพี่ราก็ต้องวางแผนมาคุยกับทีมนะ ว่าจะทำสัปดาห์ละกี่ราย  เก็บ sample กันยังไง  บันทึกผลอะไรบ้าง..."
พี่รา "ได้...ได้... เออ! หรูบอกว่า เวลานับเนี่ยเราต้องทำทันที ทุกคนเลย เพราะถ้าตั้งสไลด์ทิ้งไว้นานๆสีอาจจะซีดลงได้" นั่นไง ได้ตัวควบคุมเรื่องเวลาในการอ่านผลมาแล้ว
"นุกก็บอกว่า ดี ดี อยากทำจัง...สงสารคนไข้"
พี่เม่ย "เม่ยว่า ให้พี่ราเป็นคนคุมหมายเลขรหัสสไลด์คนเดียวเลย  ทุกคนที่มานับก็จะไม่รู้ว่าสไลด์หมายเลขใดเป็นของผู้ป่วยรายไหน จะได้ไม่มี bias" เอ้า ได้ตัวควบคุมเรื่อง bias มาแล้ว
พี่รา "พี่คิดว่าจะให้ทุกคนมาลงผล score รวมไว้ในสมุดนี้..." พี่ราโชว์สมุดปกอ่อนที่ตีตารางแบ่ง ให้พวกเราแต่ละคนมาลงผลรวมกันไว้ที่เดียวกัน
พี่เม่ย "เสนออีกแล้ว  ถ้าแบบนี้ คนที่มาลงผลทีหลังอาจจะมี bias ได้ เช่นได้ค่าไม่เท่ากับเพื่อนก็ต้องไปนับใหม่อีก.... เอางี้ดีกว่า พี่ราทำเป็นใบ report สำหรับการนับแต่ละครั้งเลย  ใครมานับก็เขียนลงในใบนึง  อีกคนก็เขียนในอีกใบนึง ไม่ต้องดูของเพื่อน จะได้ตัวเลข 4 ชุดที่ไม่ขึ้นแก่กันเลย..." อย่างนี้เป็นการควบคุมการตรวจวัด ได้มั๊ยเนี่ย?
พี่ราทำท่าคิดนานค่ะ  รับปากว่าจะลองสร้างใบ report ให้น้องๆบันทึกข้อมูล ...."เราบันทึกเฉพาะ score รวมก็พอเนาะ!"
พี่เม่ย "ไหนๆก็เก็บข้อมูลแล้ว เราบันทึกให้ครบทุกค่า*  เลยดีกว่านะ  เผื่อจะได้เห็นอะไรที่คาดไม่ถึง"
พี่ราได้ไอเดียจากน้องๆลูกทีมไปหลายเรื่องแล้วค่ะ  เริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้วค่ะ กับ R2R ที่เกิดจากแนวคิด "ทำเพื่อผู้ป่วย" เรื่องนี้...การบ้านชิ้นโตของพี่ราก็คือการเขียนร่างโครงการพร้อมแผนการดำเนินงาน....
น้องๆทุกคนก็ช่วยกันเชียร์ค่ะ...สู้ต่อไปนะ  ทาเคชิ!
*****************
หมายเหตุ  ในการนับคะแนนการติดสี เราต้องให้คะแนนการติดสีในเม็ดเลือดขาวว่ามีระดับ 0-4 ไปทีละตัวจนครบ 100 ตัว ก่อนที่จะนำคะแนนทั้งหมดมารวมกันเพื่อรายงานผลเป็น LAP score 
การบันทึกให้ครบทุกค่า* ก็คือให้บันทึกไว้ด้วยว่าสเมียร์แผ่นนี้นับได้เม็ดเลือดขาวที่คะแนน 4 กี่ตัว คะแนน 3 อยู่กี่ตัว คะแนน 2 อยู่กี่ตัว......... พี่เม่ยมองเห็น trend ว่าถ้าปฏิกิริยาของเอ็นไซม์ลดลงจากการเก็บเสมียร์ไว้ค้างคืนเนี่ย ความถี่ของแต่ละกลุ่มคะแนนจะเปลี่ยนไป...ถึงตอนนั้นเราอาจจะมาวางแผนปรับปรุงวิธีการทดสอบได้ เช่นเพิ่มเวลาในการย้อมให้นานขึ้น....สงสัยพี่ราจะได้เรื่องยาวค่ะ คราวนี้
หมายเลขบันทึก: 53532เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2006 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท