เส้นทางความรู้สู่การเลี้ยงโคแบบพอเพียง ตอนที่ 1 การเลี้ยงโค


การเลี้ยงโคให้ได้ผลดี จะต้องมีโคพันธุ์ดี อาหารดี โรงเรือนดี การจัดการ (การเลี้ยงดู) ดี และการควบคุมป้องกันโรคดี
เส้นทางความรู้สู่การเลี้ยงโคแบบพอเพียง : ตอนที่ 1  การเลี้ยงโค                                ปัจจุบันการเลี้ยงโคกำลังเป็นอาชีพหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง มีคนหันมาเลี้ยงโคกันมากขึ้นทั้งเกษตรกรและคนนอกวงการ ทั้งเลี้ยงเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม  ทั้งนี้ เนื่องจากการเลี้ยงโคเป็นอาชีพที่สร้างรายได้สูงเพราะเนื้อโคราคาแพงและค่อนข้างแน่นอน การบริโภคเนื้อโคในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพตามอัตราการเพิ่มของจำนวนประชากรและการขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศและตลาดโลก เกษตรกรส่วนใหญ่จึงหันมาเลี้ยงโคควบคู่กับการทำการเกษตรอย่างอื่นด้วย เช่น การทำไร่ ทำสวน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์                  โคเป็นสัตว์ที่เลี้ยงแล้วให้ประโยชน์กับเกษตรกรหรือผู้เลี้ยงรอบด้านและครอบคลุม ให้อาหาร ให้แรงงาน และให้ของใช้ต่าง ๆ เช่น  มูล  หนัง กระดูก    ทั้งยังเป็นสัตว์ที่สามารถเลี้ยงและเจริญเติบโตได้ในสภาพภูมิอากาศหลาย ๆ แบบทั่วโลกทั้งเขตร้อนและเขตหนาว อาหารหลักของโคคือหญ้าซึ่งเป็นพืชที่สามารถขึ้นในที่ต่างๆ ตามธรรมชาติได้ทั่วโลก ดังนั้นโคจึงสามารถเลี้ยงได้ทุกท้องที่ของประเทศไทยที่พื้นดินมีหญ้าให้กิน                การเลี้ยงโคในอดีตของไทยจะนิยมเลี้ยงโคพื้นเมืองกันตามบ้าน ๆ ละ 3 – 5  ตัว หรือมากกว่านั้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้โคเป็นเงินออม มีไว้ขายยามจำเป็นเปลี่ยนมาเป็นการเลี้ยงเพื่อการค้ามากขึ้น จากที่เคยปล่อยให้โคหากินเองก็เปลี่ยนเป็นการปลูกหญ้าให้โคกิน แต่อย่างไรก็ตามสภาพการเลี้ยงโคโดยทั่วไปที่พบในปัจจุบันยังถือว่าอยู่ในขั้นของการพัฒนาการเลี้ยง  ทั้งนี้เพราะระบบการเลี้ยงยังไม่มีรูปแบบและขั้นตอนที่แน่นอนและยังมีเกษตรกรจำนวนมากที่ยังเลี้ยงแบบดั้งเดิม โดยการไล่ต้อนไปหากินตามทุ่งนา ป่าโคก ที่สาธารณะ ไหล่ถนน ตกเย็นก็ไล่ต้อนกลับคอก การผสมพันธุ์ก็ปล่อยตามธรรมชาติ ทำให้ได้โคไม่มีคุณภาพขายได้ราคาต่ำ  ส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกรต่ำไปด้วย                การเลี้ยงโคในปัจจุบันและอนาคตจึงต้องมีการส่งเสริมการเลี้ยงให้มีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานสูงยิ่งขึ้นจากการเลี้ยงที่เป็นอาชีพเสริมของเกษตรกรที่มีความรู้ การจัดการและการลงทุนต่ำมาสู่ระบบการเลี้ยงที่มีความรู้ทั้งในท้องถิ่นและความรู้ทางวิชาการสมัยใหม่มาผสมสานกันมากขึ้นเป็นความรู้ที่เหมาะสมกับเกษตรกรและชุมชน ทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองและชีวิตมีความสุขภายใต้ความพอเพียง                ถ้าเกษตรกรต้องการเลี้ยงโค จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้1.       ประวัติการเลี้ยงโค2.       สภาพทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นที่เอื้อและเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงโค3.       สภาพสังคมความเชื่อในท้องถิ่นที่เอื้อและเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงโค4.       วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายการเลี้ยง    เป็นการเลี้ยงเพื่อเลี้ยงโคพันธุ์ โคเนื้อหรือโคขุน5.       ระบบการเลี้ยงโค เลี้ยงแบบปล่อยทุ่ง เลี้ยงแบบมีรั้วกัน หรือเลี้ยงเพื่อการค้า6.       พันธุ์โคที่สำคัญในประเทศไทย พันธุ์ต่าง ๆมีคุณสมบัติอย่างไร เหมาะสมกับวิธีการที่จะเลี้ยงหรือไม่7.       การเริ่มต้นเลี้ยงและการคัดเลือกโค ควรซื้อโคที่มีลักษณะอย่างไร8.       คอกเลี้ยงโค9.       การจัดการเลี้ยงดูโค10.    การดูแลสุขภาพและควบคุมป้องกันโรคโค11.    การผสมพันธุ์โค12.    อาหารและการให้อาหารโค ทั้งอาหารหยาบและอาหารข้น13.    พืชอาหารสัตว์  หญ้าและการปลูกหญ้าเลี้ยงโค

14.    ตลาดโค

ดังนั้นการเลี้ยงโคต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกล่าวมาและจัดการความรู้เชื่อมโยงสู่การผสมผสานอาชีพทางการเกษตรด้านอื่นอย่างลงตัวเพื่อให้อาชีพการเลี้ยงโคประสบผลสำเร็จและส่งผลต่อรายได้ที่มั่นคงและพอเพียงของเกษตรกร

 
หมายเลขบันทึก: 53512เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2006 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อย่าลืมมองอย่างใช้ KM เข้าไปจับ  เราต้องการรู้ว่า คนเลี้ยงโคที่บุรีรัมย์ รู้อะไรบ้างแล้ว จะจัดการความรู้ ที่รู้แล้วอย่างไร  และถ้าต้องการพัฒนาสิ่งที่รูแล้วให้ดีกว่าเดิม หรือดีอย่างยั่งยืน จะใช้ KM เป็นเครื่องมือ ได้อย่างไร

 

อาจารย์สุทธิดา  ที่เคารพ

        ตอนนี้กำลังศึกษาข้อมูลคนเลี้ยงโคที่บุรีรัมย์ว่ามีความรู้อะไรบ้าง  แต่ยังใช้ KM  ไปเป็นเครื่องมือพัฒนาความรู้ต่อได้ไม่กี่รายค่ะ

       ขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่ช่วยเตือน เพราะกำลังเก็บแต่ความรู้จนเพลิน

       ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะ  อาจารย์หนิง

        ขอกำลังใจส่งกลับไปให้อาจารย์อีกหลายรถสิบล้อค่ะอาจารย์

หลายครั้งที่มีการตอบโจทย์คำถามที่ว่าอะไรที่มีความสำคัญต่อการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย

คำตอบคือพันธ์,อาหาร,การจัดการที่ดีแต่สิ่งที่อยากฝากว่าที่สำคัญที่สุดคือตัวเจ้าของฟาร์มโคนม

หรือเกษตรกรนั่นเองที่จะต้องมีร่างกายที่แข็งแรงสุขภาพดี,ต้องมีความรู้ที่ประกอบด้วยรู้สถานการณ์

แวดล้อมโลก(สภาวะโลกร้อน,โลกาภิวัฒน์(การแข่งขันเสรีทางการค้าโลก)ที่แข่งขันเชิงได้เปรียบ,

รู้สถานการณ์สังคมไทยด้าน(ความรู้,ทัศนคติ,ประเพณี,วัฒนธรรม),การเมืองไทย,เศรษฐกิจไทย,

เทคโนโลยี่ของไทย,รู้สถานการณ์งาน(ผู้บริโภค,คู่แข่ง,ผู้สนับสนุน,คู่ค้า),รู้งานจริงและอย่างลึกซึ้ง,

รู้สมรรถนะของตนเอง(ความรู้ที่ได้กล่าวมา,เงินทุน,เวลา)แลัวพิจรณาก่อนตัดสินใจเลี้ยง

ความพอเพียงเป็นการพอต่อกำลังคน,กำลังเงินในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งครับคงไม่จำเป็น

ที่ให้ทุกคนไปทำนาทั้งประเทศแต่ทุกคนต้องทำหน้าที่ของแต่ละคนในบทบาทที่ได้มีอยู่ให้เป็นประโยขน์

ต่อตนเอง,ไม่เดือดร้อนและยังเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นทั้งสังคมและธรรมชาติด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท