โจทย์ปัญหาน่าเบื่อจริงหรือ


กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์

จากการเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาทำให้เกิดความท้อถอย จากการที่นักเรียนไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์ ไม่ชอบคิดอย่างมีระบบ ไม่ส่งการบ้านและสุดท้ายผลการเรียนต่ำ ปัญหาเหล่านี้ที่ทำให้ดิฉันต้องคิดเป็นการบ้านทุกวัน และเป็นคนที่ไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆ จึงคิกว่าตนเองควรจะเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนแบบเดิมๆที่เคยใช้กับนักเรียน เฃ่นอธิบายตามขั้นตอนและให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด นักเรียนเบื่อหน่ายทำไม่ได้  จึงได้คิดวิธีเปลี่ยนมาเป็นให้นักเรียนคิดตั้งโจทย์ปัญหาเองโดยใช้โบว์ชัวร์สินค้าของห้างต่างๆ และจากโจทย์ปัญหาที่นักเรียนเลือกมาจากหนังสือคณิต นำมาเสนอในห้องเรียนโดยมีครูและเพื่อนๆร่วมกันคิดกระบวนการแก้โจทย์ปัญหา สรุปได้คือ

                         1.โจทย์ถามอะไร

                          2.โจทย์บอกอะไร

                          3.อะไรคือกุญแจและตัวแรกที่จะแก้ปัญหานั้นๆ

                           4.กำหนดวิธีการและกระบวนการ

  นักเรียนได้ร่วมกันคิดร่วมสร้างกระบวนการและสามารถทำเลขโจทย์ที่ซับซ้อนได้อย่างมีความสุขและแล้วโจทย์ปัญหาก็ไม่น่าเบื่ออย่างที่คิดอีกต่อไป (ครูทำได้เด็กก็มีความสนุกสนาน)

คำสำคัญ (Tags): #ชุมชน11
หมายเลขบันทึก: 53464เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2006 19:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ขออนุญาตร่วมแสดงความคิดเห็นนะคะ
  • ในวัยของนักเรียนมัธยมศึกษา เป็นช่วงเข้าสู่วัยรุ่นนั้น เขามักจะติดเพื่อนและให้ความสำคัญกับเพื่อนมากขึ้นกว่าตอนสมัยเด็ก และชอบการแข่งขัน ท้าทาย ฯลฯ
  • กิจกรรมการเรียนรู้ที่คุณครูจัดให้เด็กช่วงนี้อาจต้องมีลักษณะที่สนองตอบธรรมชาติของเด็กวัยรุ่น เช่น ใช้การเรียนแบบกระบวนการกลุ่ม แทรกด้วยเกมสนุก ๆ แปลงบทเรียนให้เป็นเนื้อเพลงโดนใจวัยรุ่น อาจทำให้วิชาคณิตศาสตร์ดูไม่เครียด และเรียนสนุกขึ้นก็ได้ค่ะ
  • ชื่นชมคุณครูบุญเสริมค่ะ...ที่ไม่ท้อถอยอะไรง่าย ๆ และพยายามนำสิ่งที่ดีมาให้ลูกศิษย์
  • ขอบคุณสำหรับการจุดประกายทางปัญญาค่ะ
เขียนสิ่งที่ดีๆมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอีกนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท