ปอบิด ชาปอกะบิดเพื่อสุขภาพ


ชาปอกะบิดเพื่อสุขภาพ

ปอกะบิด ได้ชมภาพและทราบประโยชน์ปอกะบิดที่บันทึก ลูกบิดหรือปอกะบิด ของน้องเพชรน้ำหนึ่ง

http://www.gotoknow.org/posts/534374   ดีใจที่ได้ชมทราบข้อมูลพร้อมต้นปอกะบิด

ชื่อแล้วแต่เรียกนะคะ มีทั้ง ปอบิด ปอกะบิด

 

 

กิ่ง ใบดอก ปอบิด

 

 

ดอกปอบิด

 

 

ปอบิด

 

( ขอบคุณภาพปอบิด  1 ,2 ,3  จาก คุณ Puritat Rattanasiri - facebook )

 

สรรพคุณ ตามชื่อ ปอบิด มีดังนี้

 

ปอบิด     มะบิด( เหนืือ) , ปอทับ (เชียงใหม่) ,ช้อ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่ ),

             ข้าวจี่ ( ลาว) , ห้วยเลาะทั่ว(จีนแต้จิ๋ว), หั่วหลั่งหมา ( จีนกลาง),

 

เปลือกต้น ราก   รสเฝื่อน  บำรุงธาตุ

ลูก    รสฝาด  แก้ปวดท้อง แก้กระเพาะอาหารลำไส้อีักเสบเรื้อรัง แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ

                  แก้บิดปวดเบ่ง แก้เสมหะพิการ ตำพอก แก้ปวด เคล็ด ขัด บวม

 

( ขอบคุณ สรรพคุณปอบิด จากหนังสือเภสัชกรรมไทย ร่วมอนุรักษ์มรดกไทย โดย วุฒิ วุฒิธรรมเวช )

 

 

ปอกะปิด

 

 

ชาปอกะปิด

 

 

ปอกะบิด นำมาต้มหรือชงชาดื่มก็ได้ รสชาติดื่มง่ายจืดหอมเล็กน้อย แต่ถ้าน้ำสีเข้มจะมีรสชมออกมาบ้างเหมือนการดื่มชาจีนน้ำสีเข้ม หากนำมาต้มดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น สีของน้ำชาอยู่ที่เราใส่ปอกะบิดมากน้อยต่อครั้ง

 

ได้ทราบข้อมูลปอปิดเพิ่มนำมาฝากนะคะ

ปอบิด พิชิตสรรพโรคจริงหรือ?

รองศาสตราจารย์ รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล

ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

   ถ้ามีใครเดินไปตามร้านขายผัก หรือสมุนไพรในขณะนี้ คงไม่มีใครไม่เห็นสมุนไพรที่เรียกกันว่า ปอบิด วางขายอยู่ทั่วไปพร้อมทั้งมีใบ ปลิวแนบสรรพคุณมากมาย ตั้งแต่ รักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ลดน้ำหนัก แก้เหน็บชา ชาปลายมือปลายเท้า ภูมิแพ้ ไทรอยด์ ปวดข้อ เข่า หลัง รวมถึง ไมเกรน บำรุงตับ ไต และใช้ได้ในโรคเรื้อรังทุกชนิด รวมถึงระบบของสตรี ด้วยวิธีการเตรียมที่ง่าย สะดวก โดยการต้ม และมีรสชาติที่ดื่มง่าย  ดังนั้นมีผู้คนจำนวนมากเริ่มสนใจ และใช้มัน และมีหลายคนที่ตั้งคำถามที่ว่ามันใช้ได้จริงหรือ และปลอดภัยหรือไม่

 

   ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักกับปอบิดก่อน ปอบิดมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helicteres isora L. เป็นพืชในวงศ์ Sterculiaceae มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นมากมาย เช่น ปอกะบิด ปอทับ มะปิด มะบิด (พายัพ) ขี้อ้นใหญ่ ปอลิงไซ (ภาคเหนือ) ลูกบิด (ไทยภาคกลาง) ซ้อ (กะเหรี่ยง เชียงใหม่) เซ้าจี (สระบุรี) เป็นพืชที่ขึ้นเองตามริมป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ที่รกร้าง แม้กระทั่งในบริเวณกรุงเทพมหานคร พบได้ทั่วไปทั้งในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ จีน และอินเดีย ลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูงไม่มากประมาณ 1-2 เมตร มีขนสีน้ำตาล ใบเดี่ยว รูปไข่กว้าง ขอบใบหยัก เมื่อลูบผิวใบรู้สึกสากคาย ออกดอกปีละครั้ง ช่วงเวลาอาจแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นและภูมิอากาศ

 

    ตามบันทึกขององค์การสวนพฤกษศาสตร์ ออกดอกและติดผลประมาณเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม แต่ตัวผู้เขียนเองเคยพบที่สระบุรี ออกดอกช่วงฤดูร้อน ประมาณเดือนเมษายน กลีบดอกสีส้มอิฐ เป็นหลอด เมื่อติดฝัก เป็นฝักยาว 3-4 ซม. บิดเป็นเกลียวคล้ายเชือกขวั้น เมื่อแก่จะแตก มีสีน้ำตาลดำ

1. จากข้อมูลในตำรายาไทย ใช้เปลือกต้นและราก บำรุงธาตุ ผล ใช้แก้บิด (สันนิษฐานว่าตามรูปร่างของผล) แก้ปวดเบ่ง(อันเนื่องมาจากบิด) ท้องเสีย ขับเสมหะ ตำพอกแก้ปวดเคล็ดบวม

2,3. ในประเทศอินเดียใช้ผลแก้ท้องเสียเช่นเดียวกัน และมีการทดลองพบว่าสารสกัดด้วยน้ำมีฤทธิ์ที่ดีในการยับยั้งเชื้ออีโคไล ที่เป็นเชื้อสาเหตุของอาการท้องเสียทั่วไป และให้ผลดีกับเชื้อ Salmonella typhimurium ซึ่งเป็นเชื้อสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีผลปานกลางต่อเชื้อไข้ไทฟอยด์ (Salmonella typhi) ซึ่งมีอาการไข้ร่วมกับท้องเสียอื่น

4. และมีผลยับยั้งการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเรียบ

5. ถึงแม้งานวิจัยนี้จะสอดคล้องการใช้ในโรคท้องเสีย ขนาดที่ใช้ในคนก็ยังระบุไม่ได้ชัดเจนนัก การศึกษาวิจัยประสิทธิภาพของปอบิดในโรคอื่นที่น่าสนใจ ได้แก่ โรคเบาหวาน พบว่าสารสกัดน้ำจากผลปอบิดมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในหนูขาวที่ทำให้เป็นเบาหวาน และป้องกันไม่ให้ระดับไขมันสูงขึ้นซึ่งมักพบตามมาหลังจากการเป็นเบาหวาน ฤทธิ์ของสารสกัดคล้ายกับยาไกลเบนคลาไมด์

6. การทดลองในเซลล์เพาะเลี้ยงพบว่าเพิ่มการขนส่งน้ำตาลเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อของหนู

7. และเพิ่มการขนส่งน้ำตาลเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อกระบังลมแต่มีประสิทธิภาพน้อยกว่ายาเมทฟอร์มิน

8. อย่างไรก็ดีการทดลองเหล่านี้แม้จะสรุปได้ว่าสารสกัดน้ำจากผลปอบิด น่าจะมีผลลดน้ำตาลในเลือดได้ แต่ยังไม่เพียงพอที่จะระบุขนาดที่ใช้ และยังไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนยารักษาเบาหวานได้จริง จำเป็นต้องมีการทดลองเพิ่มเติมต่อไปทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความเป็นพิษ

  เนื่องจากปอบิดไม่ใช่พืชอาหาร การทดลองเพื่อหาความเป็นพิษเมื่อใช้ระยะยาวเป็นอีกงานวิจัยที่สำคัญ อนึ่งพบว่าสมุนไพรจำนวนไม่น้อยที่มีรายงานความเป็นพิษต่อตับและไต หากรูปแบบหรือขนาดที่ใช้ไม่ถูกต้อง ในกรณีที่ยังมีข้อมูลไม่ครบเช่นนี้

   สำหรับผู้ที่ต้องการเลือกใช้ด้วยตนเอง หรือได้ทดลองใช้แล้ว ให้ตรวจภาวะการทำงานของตับไตอย่างสม่ำเสมอทุก 3 เดือน และห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติ หรือแม้แต่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคตับ หรือโรคไต สำหรับโรคอื่นๆที่กล่าวอ้างถึงนั้น ยังไม่พบการวิจัยที่พิสูจน์ฤทธิ์ดังกล่าว อีกทั้งโรคเรื้อรังต่างๆที่กล่าวอ้างนั้น ไม่ได้มีข้อมูลการใช้แผนโบราณสนับสนุน ดังนั้นจึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจเลือกใช้

อ่านเพิ่มที่http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=143

ขอบคุณ คุณหมอสารภี รักในหลวง ที่ face book และน้องหยั่งราก ฝากใบ ที่นำมาบอกกล่าวให้ทราบ

 

ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี

 

หมายเลขบันทึก: 534392เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2013 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2013 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ชิมมาจากบันทึกน้องเพชรน้ำหนึ่งล่ะค่ะ เพิ่งเคยเห็นบ้านเราจะพบที่ไหนคะ ป่า สวน หรือห้วยลำธาร  อิอิ

-สวัสดีครับ

-ตามมาชิมชากะบิด

-วันก่อนพี่สำรวยจะให้มาชงเหมือนกันครับ

-แต่ยังไม่กล้าชิมฮ่าๆ

-ได้ข้อมูลลูกบิดแล้ววันหน้าเข้าไปในหมู่บ้านรับรองไม่พลาดครับฮ่าๆ

-ขอบคุณสำหรับการต่อยอดเรื่อง"ชากะบิด"นะคร๊าบ!!!!

ได้กลิ่นหอมไปถึง กทม.เลยค่ะ

ขอบคุณนะคะที่ชวนมาอ่าน

โดยส่วนตัว ไม้กล้ากินดื่มสมุนไพรติดต่อกันนานๆ เลยค่ะ 

ให้กินเป็นอาหารนี่ชอบมาก ชอบกินพืชผักทุกชนิด  แต่ต้องเห็นหน้าตารู้จัก

ไม่กี่เดือนก่อนน้องคนหนึ่ง น้องเจ้าหน้าที่คนหนึ่งผลเลือดค่าครีเอตินีนสูงผิดปกติ ซักประวัติไม่มีกินยาใดๆ ยกเว้นก่อนหน้านี้ดื่มน้ำปั่นกระชายกับแครอท ดื่มมาก  คุยกับหมอโรคไตคาดว่าเกิดจากกระชาย ให้หยุดดื่ม ติดตามแลปไป ๒-๓ เดือน ตอนนี้เป็นปกติแล้ว

คิดว่าอะไรก็ตามมากเกินไปก็ไม่เป็นคุณ  กินแต่พอดี กินตามปกติ ไม่รู้จักก็ไม่ควรกินค่ะ

กินอยู่ค่ะ เบาหวานลดค่ะ กินๆหยุดๆและก็กิน ได้ผลดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท