การจัดการเรียนรู้ผักพื้นบ้านล้านนา 1


การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องความสำคัญของผักพื้นบ้านล้านนา รายวิชา ช่างอาหารพื้นเมือง ชั้น ม. 1

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนได้หาแนวทางในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึก คิด วิเคราะห์ และเน้นกิจกรรมการสร้างเสริมทักษะการทำงานกลุ่ม จึงได้รูปแบบการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นตัวนำในการเรียนรู้ของนักเรียน 


       โดยได้เรียนรู้เรื่องผักจากพี่ๆ น้องๆ สมาชิกในกลุ่ม อาหารเพื่อสุขภาพมากที่สุดค่ะ ที่นี่


http://www.gotoknow.org/user/kandanalike/profile   

                                                                        พี่กานดา น้ำมันมะพร้าว  (กานดา แสนมณี (สาธุวงษ์) )

http://www.gotoknow.org/user/akkhanich/profile      

                                                                             น้องเพลิน (อักขณิช ศรีดารัตน์)

http://www.gotoknow.org/user/naree_122/profile  

                                                                    น้องหนูรี  (นารี เอี่ยมวิวัฒน์กิจ ชูเรืองสุข)

ทั้งสามท่านนี้ต้องยกให้เป็นครูที่ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้านอาหารการกิน เพราะแต่ละวิธีเป็นเทคนิคที่เกิดขึ้นมาเพราะความสามารถของท่านนะคะ 

            จึงขอนำเสนอแผนการจัดการเรียนรู้ ในหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ชื่อหน่วย ผักพื้นบ้านล้านนา 

รายวิชาช่างอาหารพื้นเมือง ง20205 ( สาระเพิ่มเติม)  ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2/2555 

มาเพื่อแชร์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน นะคะ

                                                   แผนการจัดการเรียนรู ที่ 1

 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3  เรื่อง ผักพื้นบ้านล้านนา  เรื่องความหมายของผักพื้นบ้านล้านนา  

รายวิชาช่างอาหารพื้นเมือง (ง20205)   ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1  จํานวน   2  ชั่วโมง

ชื่อผูสอน นางรุจี  เฉลิมสุข  โรงเรียนสันทรายวิทยาคม  จังหวัดเชียงใหม่   สพม. 34

..............................................................................................................................................................

มาตรฐานการเรียนรู/ผลการเรียนรู้

  มาตรฐาน 1.1 เข้าใจการทำงานมีความคิดสร้างสรรค์มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ

  ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้  มีคุณธรรม  และลักษณะนิสัยในการทำงาน  มีจิตสำนึกในการใช้พลังงานทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม  เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว

ผลการเรียนรู

พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันในการทำงานกลุ่มเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องผักพื้นบ้านล้านนา

สาระสำคัญ

การสร้างความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการทำงานกลุ่มในเรื่องผักพื้นบ้านล้านนาสามารถพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่มอย่างเป็นระบบมีวิธีการแก้ปัญหา การจัดการโดยเน้นทักษะการสื่อสารและทักษะการทำงานกลุ่มเพื่อให้ผู้เรียนใฝ่เรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้

1.  อธิบายความหมายความสำคัญของผักพื้นบ้านล้านนาได้

2.  สามารถบอกกระบวนการทำงานจากการศึกษาผักพื้นบ้านล้านนาได้

3.  สามารถทำงานกลุ่มร่วมกันเพื่อจำแนกประเภทของผักพื้นบ้านล้านนาได้

4.  มีพฤติกรรมการใฝ่เรียนรู้ในการทำงานกลุ่มร่วมกันอย่างมีความสุข

5.  สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีได้

สาระการเรียนรู้

ความรู้

1. ความหมายความสำคัญของผักพื้นบ้านล้านนา

2. กระบวนการทำงาน

ทักษะ/กระบวนการ

ทักษะการทำงานกลุ่ม

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

ใฝ่เรียนรู้

สมรรถนะสําคัญของผูเรียน

ความสามารถในการสื่อสาร

ภาระงาน / ชิ้นงาน

- ทําแบบทดสอบวัดทักษะ กอนเรียน เรื่องทักษะการทำงานกลุ่ม

- ป้ายนิเทศเรื่องประเภทของผักพื้นบ้านล้านนา

- สื่อ Power Point  หัวขอลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักพื้นบ้านล้านนากลุ่มละ  1 เรื่อง

กิจกรรมการเรียนรู

ขั้นเชื่อมโยงปัญหาและระบุปัญหา

1. นักเรียนนั่งสมาธิกอนเรียน 3 นาที และทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้เรื่องผักพื้นบ้านล้านนา  จำนวน 20 ข้อ

2. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ / การเลือกอาหาร / การซื้ออาหารจานด่วน ฯลฯ

3. นักเรียนศึกษาใบความรู้ที่ 1 เรื่องทักษะเพื่อพัฒนาการทำงานกลุ่ม แล้วนักเรียนแบงกลุม ๆ ละ 5  คน เลือกประธาน เลขาฯ และแบ่งหน้าที่เพื่อศึกษาตามประเด็นปัญหา เรื่อง“วัยรุ่นไม่กินผัก” พร้อมระดมสมองสืบค้นหาปัญหา สาเหตุ และตอบประเด็นปัญหา คำถามที่อยากรู้ หาคำนิยาม หรือสถานการณ์ของปัญหา อธิบายวิธีการค้นหาคำตอบ 

                                                           ประเด็นปัญหา เรื่อง“วัยรุ่นไม่กินผัก”

ใน​ปัจจุบัน​มี​เด็ก​จำนวน​มาก​เห็น​ผัก​ใน​จาน​แล้ว​เขี่ย​ทิ้ง​เพราะ​ไม่​ชอบ​รับ​ประทาน​​แม้ว​่า​พ่อ​แม่​จะ​คะยั้นคะยอ​หรือ​บังคับ​ก็​ไม่​เป็น​ผ​ล นอกจากไม่กินผักแล้วยังไม่รู้จักชื่อของผักพื้นบ้านที่ขึ้นตามท้องไร่ท้องนา หรือป่าละเมาะ และที่สำคัญไม่เคยได้กินอาหารพื้นเมืองประเภทผัก ไม่ว่าจะผักกินใบ กินดอก กินผล กินรากหรือหัว เด็กวัยรุ่นจะไม่ได้กินอาหารที่ทำด้วยผักพื้นบ้านเพราะส่วนใหญ่จะทำกินกันในครอบครัว ไม่ได้ทำเพื่อการจำหน่ายจึงไม่เห็นมากนักในตลาด ในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่ผู้ปกครองต้องออกจากบ้านแต่เช้าไปทำงาน กลับบ้านดึกจึงไม่มีเวลาทำอาหารโดยเฉพาะอาหารที่ทำจากผักพื้นบ้าน  และที่สำคัญในยุคนี้มีร้านซื้อสะดวก ที่เปิดขายตลอดเวลา ทำให้ซื้ออาหารสำเร็จ จานด่วนได้ง่ายขึ้น กินง่าย มีความอร่อยแต่ขาดสารอาหารที่จำเป็นบางชนิด จึงไม่หันไปกินอาหารพื้นบ้าน และไม่สนใจในการเรียนรู้เรื่องผักพื้นบ้าน จึงน่าเป็นห่วงเด็กไทยในยุคนี้ถ้าปล่อยให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ต่อไป

  คำถาม 1. นักเรียนมีพฤติกรรมแบบนี้หรือไม่

2.  นักเรียนควรทำอย่างไรกับประเด็นนี้

3.  นักเรียนจะมีวิธีการให้เด็กชอบผักได้อย่างไร

4.  บอกชื่อผักพื้นบ้านล้านนาที่นักเรียนรู้จักมาให้ได้มากที่สุด


ขั้นกำหนดแนวทางที่เป็นไปได้

4. นักเรียนแต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่รับผิดชอบโดยให้เขียนแนวทางในการสืบค้นตามประเด็นปัญหาการไม่กินผักของวัยรุ่นในยุคปัจจุบัน และผักพื้นบ้านล้านนาหมายถึงอะไร โดยให้สมาชิก ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

4.1  วิเคราะห์ภาระงาน

4.2  วางแผนการทำงาน

4.3  ลงมือปฏิบัติงาน

4.4  ประเมินผลงาน

5. นักเรียนหาวิธีการในการศึกษาโดยระบุแนวทางในการสืบค้นที่เป็นไปได้ และได้ข้อมูลที่ถูกต้อง โดยแต่ละกลุ่มบันทึกลงใน แบบบันทึกทักษะการทำงานกลุ่ม

ขั้นดำเนินการศึกษาค้นคว้า

  6. นักเรียนระดมพลังสมองและอภิปรายร่วมกันในหัวข้อกระบวนการทำงานแล้วช่วยกันบอกวิธีการทำงานที่จะเกิดผลสำเร็จนั้นควรทำอย่างไรบ้างแล้วแบ่งหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละคน ก่อนจะแยกกันไปศึกษาค้นคว้าตามแนวทางที่ได้ระบุไว้

ขั้นสังเคราะห์ความรู้

7. นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้ที่ 2 เรื่องผักพื้นบ้านล้านนา โดยแบ่งหน้าที่วิเคราะห์งาน ดังนี้

    7.1  แนวทางในการสืบค้นผักพื้นบ้านล้านนา จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น ห้องสมุด ห้องสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต

    7.2 การออกสืบถามผู้รู้เรื่องผักพื้นบ้านล้านนาในโรงเรียนและการสืบค้นทางอินเตอร์เน็ตนักเรียนในแต่ละกลุ่มนำข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นมาอภิปรายร่วมกันในกลุ่มแล้วเขียนลงในสมุดบันทึกงานของแต่ละคน และสามารถไปศึกษาเพิ่มเติมนอกเวลาต่อไป

ขั้นสรุปและประเมินค่า

8. แต่ละกลุ่มสรุปผลการศึกษาของกลุ่มตนเองเพื่อนำเสนอหน้าห้องเรียนให้กลุ่มอื่นๆ รับฟังในการบอกสาเหตุของการที่วัยรุ่นไม่ชอบกินผัก และความหมาย ความสำคัญของผักพื้นบ้านล้านนา

9. ครูรวบรวมคําตอบโดยการสุมถามแตละกลุม จากนั้นครูสรุปเพิ่มเติมในประเด็น

ขั้นนำเสนอ และประเมินผลงาน

10.  นักเรียนดำเนินการสรุปองค์ความรู้จากการศึกษาเป็นป้ายนิเทศเรื่องผักพื้นบ้านล้านนา

และให้แต่ละกลุ่มไปค้นคว้าเรื่องผักพื้นบ้านล้านนา รวบรวมนำเสนอเป็นสื่อ Power Point

หัวขอลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักพื้นบ้านล้านนากลุ่มละ 1 เรื่อง

11.  ครู ประเมินผลงานการทำงานกลุ่ม คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะสำคัญของนักเรียน

สื่อ อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้

1. แบบทดสอบก่อนเรียน

2.ใบความรู้ ที่ 1 เรื่อง ทักษะเพื่อพัฒนาการทำงานกลุ่ม

3. ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง ผักพื้นบ้านล้านนา

4. ใบประเด็นปัญหา

5. แบบบันทึกทักษะการทำงานกลุ่ม

6. สื่อทางอินเตอร์เน็ต /เว็ปห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

7. เครื่องฉายโปรเจคเตอร์

8. คอมพิวเตอร์

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

เป้าหมาย

วิธีวัด

เครื่องมือวัด

เกณฑ์ประเมิน

ด้านความรู้

1.อธิบายความหมายความสำคัญของผักพื้นบ้านล้านนาได้

2. สามารถบอกกระบวนการทำงานจากการศึกษาผักพื้นบ้านล้านนาได้

1. สังเกตการปฏิบัติกิจกรรมระหว่างเรียน

2.  การสรุปความรู้และขั้นตอนการปฏิบัติงานกลุ่ม

1. แบบทดสอบก่อนเรียน

จำนวนนักเรียนที่ได้ระดับดีขึ้นไป

ร้อยละ 80 

ด้านทักษะกระบวนการ

3.สามารถทำงานกลุ่มร่วมกันเพื่อจำแนกประเภทของผักพื้นบ้านล้านนาได้

1. สังเกตการปฏิบัติกิจกรรมระหว่างเรียน

2.  การสรุปความรู้และขั้นตอนการปฏิบัติงานกลุ่ม

2. แบบประเมินทักษะการทำงานกลุ่ม

จำนวนนักเรียนที่ได้ระดับดีขึ้นไป

ร้อยละ    80

ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

4.มีพฤติกรรมการใฝ่เรียนรู้ในการทำงานกลุ่มร่วมกัน

3.  สังเกตพฤติกรรมการใฝ่เรียนรู้ของกลุ่ม

3.  แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

จำนวนนักเรียนที่ได้ระดับดีขึ้นไป

ร้อยละ 80  

ด้านสมรรถนะสำคัญ

5.สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีได้

3.  สังเกตพฤติกรรมการนำเสนองาน

3.  แบบประเมินสมรรถนะสำคัญ

นักเรียนที่ได้

ระดับดีขึ้นไป

ร้อยละ     80  


<p></p>

การจัดหาสื่อการเรียนรู้ได้จากบันทึกของเพื่อนสมาชิกที่บันทึกเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในครั้งนี้ค่ะ

                              

                                                        ท้องทุ่งนาบ้านตาด ต. ห้วยทราย อ. สันกำแพง


                                                                                      

                                                                                            ผักกาดจ้อน 

                                                                                     

                                                                                               ผักขี้หูด

                                                                                  

                                                                                              บ่าค้อนก้อม

                กระบวนการ/ขั้นตอนการจัดกิจกรรมใช้รูปแบบ PBL

                                         (ใช้ปัญหาเป็นฐาน)

หมายเลขบันทึก: 533861เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2013 15:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2015 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

 ..  ทุกอย่างของการเรียนรู้ ... จบด้วย..... เกณฑ์การประเมิน ..... นะคะ ขอบคุณค่ะ


              

ยอดเยี่ยมเลยครับ พี่ตูม

ชื่นชม หากเรียนรู้ได้ จบแล้วเยี่ยมค่ะ ประเด็นวัยรุ่นไม่กินผัก ดีมากเลยค่ะ

ให้กำลังใจนักเรียนมากๆ มีปัญหาอะไรสอบถามได้นะคะ ขอบคุณมากค่ะ

ชื่นชมที่แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ผักพื้นบ้านล้านนา ของน้องครูตูม มีรายละเอียดครบถ้วน ชัดเจน และมีคุณค่า มากค่ะ น่าที่คุณครูอื่นๆ จะได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากๆ นะคะ 


  ใช่เลยค่ะการประเมินคือสิ่งที่ทุกคนจะต้องผ่านเพื่อวัดว่ามีการพัฒนา

  ขอบคุณน้องสาวเช่นกัน

  ขอบคุณพี่ใหญ่เช่นกันค่ะ

  คงจะบันทึกอีกหลายแผนค่ะ มีเลขต่อท้ายด้วยสิ  อิอิ

  ลุงวอญ่าเรียนรู้ผักเมืองเหนือนะคะ

   ทำแผนฯ ละเอียดเพื่อการประเมินเช่นกันค่ะ

  ค่ะการสอนที่พัฒนาทักษะการทำงานกลุ่มนะคะ

  ขอบคุณมากค่ะ


                           สื่อการเรียนรู้ ใบความรู้ และแบบประเมินนั้นจะรวบรวมในบันทึกสุดท้ายค่ะ 

                               ขอบันทึกชื่อนี้เป็นตอน1-8 เลยนะคะ 


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท