อบรมการจัดการเรียนการสอนศตวรรษที่ 21


อบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการเรียนการสอนศตวรรษที่ 21

วันที่ 22-23 เมษายน 2556

ณ มหาวิืทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์


ด้วยความสนใจที่ท่านอาจาiย์วิจารณ์ได้พยายามสื่อสาร ผู้เขียนจึงตั้งความหวังและวัตถุประสงค์จากการเข้าประชุมดังนี้

ด้านความรู้

เพื่อรับความรู้ในการพัฒนาตนเองให้ทันกับศตวรรษที่ 21

ด้านกระบวนการ

เพื่อให้เกิดทักษะ วิธีการสอนในศตวรรษที่ 21

ด้านการนำไปใช้

สามารถนำการสอนศตวรรษที่ 21ไปวางแผนการสอนนักศึกษาพยาบาลได้



สรุปสาระ


การสอนในศตวรรษที่ 21 คือ การเข้าใจผู้เรียน ด้วยการคิดอย่างเป็นระบบ สอนโดยให้ผู้เรียนหาคำตอบด้วยตนเองโดยครูมีหน้าที่เป็นโค้ช


คุณลักษณะที่สำคัญของครู

  1. เปลี่ยนแนวคิดจากการเป็นผู้ผูกขาดการสอนมาเป็นโค้ช
  2. มีทักษะการฟังที่ดี
  3. มีทักษะการตั้งคำถาม
  4. มีความอดทนในการหาคำตอบของผู้เรียน

วิธีการสอนที่ได้รับ


การสอนแบบ Coaching มีดังนี้

ผู้สอนให้สถานการณ์เป็นภาพนิ่งต่อเนื่อง

เรื่องราวของเด็กชายแฮมเบอร์เกอร์ ที่เรียนในชั้นปะถมศึกษา โดยครุมอบหมาให้นักเรียนทำอาหารเป็นกลุ่มกลุ่มละ 1 อย่าง เด็กผู้หญิงในชั้นเรียนต่างรีบเข้ากลุ่ม เหลือเพียงเด็กชายแฮมฯกับเพื่อนชายที่ต้องจำใจเข้ากลุ่มเดียวกันเนื่องจากเพื่อนไม่รับเข้ากลุ่ม และเด็กชายพิการนั่งWheelchair อีกคน ทั้งสามจึงต้องอยู่กลุ่มเดียวกันด้วยความจำใจ ครูให้แต่ละกลุ่มบอกเหตุผลในการคิดเมนูอาหารที่จะทำ โดยให้ผู้เรียนมาอธิบายหน้าชั้นเรียน จากนั้นให้ไปเตรียมอุปกรณ์ กลุ่มดังกล่าวต้องการทำแฮมเบอร์เกอร์ ต่อมามีปัญหาต่างๆที่กลุ่มต้องแก้ไข...

วิทยากรตั้งคำถามเป็นระยะ รอคำตอบจากผู้เรียน แล้วเฉลยแนวคิดจากภาพ

จากนั้นให้ผู้เรียนแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ บริหารจัดการกลุ่ม

สำหรับกลุ่มที่ได้เข้าร่วมได้คิดประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่อง 5 ประเด็น แต่ละประเด็นมีผู้รับผิดชอบเป็นกลุ่มเล็กนำไปเขียน Mapping จากนั้นนำมานำเสนอในกลุ่มตัดประเด็นความซำ้ซ้อน แล้วนำMapping มาต่อยอดกันเป็นแผ่นใหญ่ จึงนำเสนอแนวคิดหน้าชั้นเรียน

อีกกลุ่มทำโดยเริ่มจากกลุ่มเล็กที่สนใจประเด็นเดียวกันมารวมกันเขียน จากนั้นหากลุ่มที่เขียนประเด็นไม่เหมือนกันมารวมเป็นกลุ่มใหญ่ภายหลัง


วิทยากรอธิบายว่าระหว่างทำกลุ่มนี้ ผู้สอนจะต้องเป็นโต้ช สิ่ที่เป็นตัวกระตุ้นแนวคิดอาจเป็นเรื่องราว บทละคร คลิปต์ วิดีทัศน์ เป็นต้น

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยผูเชี่ยวชาญคล้ายกัยการทำ KM คือ PCL


ผลงานของแต่ละกลุ่ม


สรุปว่าการสอนในศตวรรษที่ 21 ต้องสอนแบบ Active Learning


วันที่สองของการอบรม

วิทยากรให้ผู้เข้ารับการอบรมแต่งตัวตามสบาย จัดชั้นเรียนใหม่นั่งแบบยู รู้สึกสบายขึ้นและมีส่วนร่วมในการตอบคำถามวิทยากรอย่างใกล้ชิดมากกว่าบรรยายบนเวที



วิธีการสอนแบบโครงงาน(PBL:Project Base Learning)

วิทยากรปูพื้นกระบวนการคิดของผู้สอนโดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สอนให้ผู้เรียนได้คิด3 ห่วง 2 เงื่อน เพื่อให้ผู้เรียนคิดอย่างรอบคอบ

ใช้ระัฆังเป็นตัวกระตุ้นการตั้งสติของผู้อบรมเป็นระยะ

ตั้งคำถามผู้เรียนโดยให้ผู้อบรมแลกเปลี่ยนถ่ายทอดประสบการณ์มากกว่าความรู้ที่เป็นทฤษฎีเพื่อนำไปสู่การทำโครงงานที่นักศึกษาสนใจตามที่นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมุ

จากนั้นให้ผู้อบรมคิดประเด็นที่สนใจเพื่อพัฒนาทักษะต่างๆของผู้เรียน


เข้ากลุ่มใหม่เพื่อร่วมคิดแผนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะที่ต้องการพัฒนาผู้เรียนนับตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน และการประเมินผล

ที่กลุ่มนำเสนอ คือ ทักษะการคิด ทักษะการเขียน ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการอ่าน ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการคิดเชิงเหตุผล 

คิดเพิ่ม ทักษะการสื่อสาร  ทักษะการสัมผัส ทักษะการปรับตัว ทักษะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะการนำเสนอ  ล้วนแต่สำคัญสำหรับวิชาชีพพยาบาล

วิทยากรเสนอว่าทักษะดังกล่าวเป็นทักษะที่ผู้สอนจำเป้นต้องฝึกให้กับผู้เรียนเพื่อให้สามารถใช้เกิดเป็นทักษะพื้นฐานทักษะ



ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรเป็นระหว่างพัก

ประเด็นท์่พูดคุยเป็นเรื่องการมอบหมายให้นักศึกษาได้มีพัฒนาการเรื่องการเขียนรายงานโดยใช้กระบวนการพยาบาลซึ่งนักศึกษาไม่สามารพัฒนาได้ หลังจากได้ค้นหาสาเหตุร่วมกันแล้วพบว่าอาจารย์ต้องมีความอดทนในการให้นักศึกษาหาคำตอบที่ทุกคนมีพัฒนาการไม่เหมือนกัน



การนำไปใช้ในคณะพยาบาลศาสตร์

TEACH  LESS      LEARN  MORE

ฝึกทักษะพื้นฐานในชั่วโมงพบคณบดีทุกชั้นปีทุกสัปดาห์ มีขั้นตอนดังนี้

กำหนดประเด็น เช่น

ชั้นปีที่ 1 เรียนอย่างไรให้เป็นสุข

ชั้นปีที่ 2 เจตคติต่อวิชาชีพพยาบาล 

ชั้นปีที่ 3 การเตรียมสอบใบประกอบวิชาชีพ

ชั้นปีที่ 4 จิตอาสา การเตรียมตัวเข้าสู่ตลาดนัดแรงงาน

วิธีการ

  • ให้นักศึกษาทุกคนเขียนวิเคราะห์สิ่งที่ต้องการเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามประเด็นของแต่ละชั้นปี
  • ฝึกกระบวนการให้เกิดทักษะต่างๆที่จำเป็น เช่น ทักษะการคิด ทักษะการเขียน ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการอ่าน ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการคิดเชิงเหตุผล ทักษะการสังเกต ทักษะการสัมผัส  และการคิดอบ่างเป็นระบบที่เป็นทักษะจำเป็นสำหรับใช้ในวิชาชีพพยาบาลและในโลก
  • ให้นำเสนอรายบุคคลเพื่อได้ทราบความต้องการและความแตกต่างของบุคคลและฝึกการฟัง
  • ให้นักศึกษารวบรวมประเด็นด้วยกัน
  • จัดทำเป็นศูนย์ในแต่ละเรื่อง นักศึกาาเป็นผู้ที่หาความรู้มานำเสนอตามเวลาที่กำหนด
  • เชิญชวน ประชาสัมพันธ์ผู้สนใจมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งในและนอกสถานที่
  • การสอนรู้จักตนเอง และรู้จักเห็นอกเห็นใจคนอื่น (วิจารณื พานิช)
  • เพียงได้คิดก็เป็นสุข หากได้ปฏิบัติจะสุขเพียงใดที่จะได้เรียนรู้ความใหม่จากนักศึกษา

    ทิพบวรรณ นิลทยา

    23 เมษายน 2556



    หมายเลขบันทึก: 533713เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2013 22:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2013 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (4)

    ขอบคุณความรู้ครับ ผมชอบแนวคิดและวิธีการของ รศ.ไพโรจน์ กำลังตามท่านไปครับ....

    ส่วนใหญ่จะเห็นครูบาอาจารย์ที่เป็นผู้บริหาร มุ่งเน้นการพัฒนาตนด้านการบริหาร และไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเรียนการสอนนะคะ

    เมื่อเห็น "ผศ.ทิพยวรรณ นิลทยา" ซึ่งเป็นคณบดี ขนขวายพัฒนาตนเองเพื่อนำความรู้และประสบการณ์ไปพัฒนาศิษย์จึงรู้สึกชื่นชมมากค่ะ

    และการเขียนบันทึกแบ่งปันประสบการณ์ ก็เป็นประโยชน์มากค่ะ สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้ารับการอบรม  

    ขอโทษค่ะ พิมพ์ผิด "ขวนขวาย" ค่ะ ไม่ใช่ "ขนขวาย"

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท