ถอดบทเรียน การรับรองมาตรฐานวัดส่งเสริมสุขภาพ


ผู้รับรอง ... ต้องมีการเตรียมความพร้อม สร้างความเข้าใจในหลักเกณฑ์แต่ละข้อ ซึ่งจะมีทั้งสิ่งแวดล้อม สุขภาพ การสืบสานศิลปะวัฒนธรรม และการประเมินผล

 

เมื่อวันก่อน (25 กย.49) ได้รับข้อมูลจากคุณวันเพ็ญ ศิวารมย์ จากศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น มาให้ดู ... อ่านๆ แล้วดูน่าสนใจดีนะคะ เลยนำมาบันทึกไว้ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันกับผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

ประกอบกับปีนี้ กรมอนามัยจะเอาจริงเรื่องวัดส่งเสริมสุขภาพละค่ะ (ก็เอาจริงมานานแล้ว แต่ปีนี้ว่า จะเอาจริงจริง จริง ... เอ๊ะ ยังไง) โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับเรา เรา ที่จะเจาะลงกลุ่มผู้สูงอายุ น่าจะสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ได้ดีทีเดียวเน๊าะ

ข้อมูลของศูนย์อนามัยที่ 6 คุณวันเพ็ญ สรุปมาให้ว่า

... ปัจจุบันมีวัดส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่รับผิดชอบของ ศูนย์อนามัยที่ 6 รวมทั้งสิ้น 26 วัด ใน 24 อำเภอ จากประสบการณ์การเป็นแกนนำในการออกรับรองมาตรฐานเรื่องนี้ เกิดการเรียนรู้ทั้งในด้านของทีมรับรอง และด้านการพัฒนาวัด สาระสำคัญมีดังนี้

ด้านทีมรับรอง

1. การหาแนวร่วม ... ควรประสานกับผู้รับผิดชอบของ สสจ. ให้เชิญตัวแทนของสำนักพระพุทธศาสนาจังหวัด ร่วมดำเนินการด้วย เพื่อให้ทีมรับรองมีความหลากหลาย ตลอดจนให้แกนนำ / ผู้นำชุมชน ทั้งในส่วนภาครัฐ และภาคประชาชน ผู้ที่มาร่วมกิจกรรม การรับรองฯ มีส่วนร่วมเป็นกรรมการด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ชุมชนเกิดความภาคภูมิใจ ที่มีส่วนร่วมพิจารณาด้วย

2. สมรรถนะของผู้รับรอง ... ต้องมีการเตรียมความพร้อม สร้างความเข้าใจในหลักเกณฑ์แต่ละข้อ ซึ่งจะมีทั้งสิ่งแวดล้อม สุขภาพ การสืบสานศิลปะวัฒนธรรม และการประเมินผล

  • เป็นผู้ที่สามารถฟัง และจับประเด็นสำคัญได้เป็นอย่างดี
  • มีทักษะการพูดในที่ชุมชน ในระดับดีมาก เพราะจะมีผู้ที่มาร่วมงานมากกว่า 100 คน
  • ต้องสำรวมกิริยามารยาท และมีการใช้ภาษาพูดในการสื่อสารกับพระภิกษุอย่างถูกต้อง
  • มีความรู้ และประสบการณ์ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่องการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
    ... ซึ่งในระหว่างผู้รับรองบางส่วนออกสำรวจสภาพแวดล้อมของวัด กับคณะกรรมการวัด ผู้ที่อยู่ในที่ประชุมฯ จะเป็นผู้ให้ความรู้แก่ประชาชนที่มาร่วมงาน ซึ่งจะเป็นผู้สูงวัยเป็นส่วนใหญ่ เป็นการสร้างโอกาสให้ประชาชนได้รับรู้ข่าวสารด้านสุขภาพ และเมื่อการซักถามข้อมูล และเยี่ยมชมสภาพแวดล้อมเรียบร้อยแล้ว จะมี ...
  • การสรุปผลการรับรอง ผู้รับรองต้องมีวาทะศิลป์ในการโน้มน้าว ให้เจ้าอาวาสวัด และญาติโยมในที่ประชุมฯ เห็นความสำคัญ และประโยชน์ของการปรับปรุงพัฒนาให้สอดคล้องกับเกณฑ์

ด้านการพัฒนาวัด

เจ้าอาวาสวัดส่งเสริมสุขภาพระดับดีเด่น คือ นักพัฒนา การจัดการต่างๆ ภายในวัด ตลอดจนเป็นผู้นำในการวางแนวทางพัฒนาชุมชน โดยท่านจะปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ในการปรับปรุง และพัฒนาให้วัดสะอาดร่มรื่น และจะขยายผลออกสู่ชุมชน เวลาท่านออกบิณฑบาต เมื่อพบสิ่งที่ไม่เหมาะสม เช่น การทะเลาะเบาะแว้ง การแต่งกายไม่สุภาพ ท่านจะนำมาประกาศ และให้แง่คิดทางหอกระจายช่าวของวัด ท่านเจ้าอาวาสวัดบางแห่ง เป็นแกนนำในการจัดทำโครงการ เพื่อขอรับการสนับสนุน จาก สสจ. รพช. และท้องถิ่น เพื่อการปรับปรุงพัฒนาชุมชน ให้เป็น หมู่บ้านส่งเสริมสุขภาพ ด้วยการส่งเสริมให้คนทั้งหมู่บ้านออกกำลังกายพร้อมกันในตอนเช้า การจัดการขยะ การส่งเสริมปลูกผักปลอดสารพิษ การใช้สมุนไพร เป็นต้น นอกจากนั้นพบว่า การมีส่วนร่วมขององค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ และประชาชน ในการพัฒนา และจัดกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ จะมีความเข้มแข็ง และต่อเนื่องอย่างมาก

... น่าสนใจไหมคะ เดี๋ยวจะต้องให้หาข้อมูลเพิ่มเติมต่อ ว่า แล้วที่วัดไหน เขาทำอะไรกันบ้าง ดีไหมคะ

 

หมายเลขบันทึก: 53339เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2006 09:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ตอนแรกอ่านชื่อบันทึก มาตรฐานวัด นึกว่าหมายถึง วัด ที่เป็นคำกริยา (standard of measurement) อ่านไปอ่านมา อ๋อ วัดที่เป็น คำนาม นั่นเอง! วัดจริงๆ : )
  • หมู่บ้านที่เจ้าอาวาสเป็นแกนนำนี่ ท่าจะไปได้ไกลนะคะ เพราะมีผู้นำทางจิตวิญญาณเป็นคนเดียวกับผู้นำกิจกรรมสุขภาพด้านอื่นๆ
  • น่าสนใจมากค่ะ  จะมาติดตามเรื่อยๆค่ะ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท