เรื่องเล่า ตลาดนัดความรู้ นครพนม (6) : ความสำเร็จเล็กๆ ที่ภาคภูมิใจ


เราก็ให้ความรู้ตามปกติแต่เพิ่มความรู้เรื่องการดูแลเท้าไปอีก พอมาถึงการเลือกรองเท้าก็มีเสียงจากผู้ป่วยว่าทำไมต้องเป็นแบบนั้นล่ะ แบบเดิมที่ใส่เหมาะแล้ว คือส่วนมากผู้ป่วยจะใส่รองเท้าแตะแบบคีบ มีเสียงวิพากวิจารณ์จากผู้ป่วยค่อนข้างมาก
ความสำเร็จเล็กๆ ที่ภาคภูมิใจ ในรอบ 1 ปีผ่านมาที่ได้รับผิดชอบงานเกี่ยวกับโรคเบาหวาน มีโอกาสได้ไปประชุมหลายครั้งแต่ละที่ให้ความรู้ที่คล้ายๆ กัน มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยให้คิดตามและมีความรู้ใหม่ๆ ที่ทำให้เรารู้เพิ่มขึ้น เช่น เรื่องการดูแลเท้าสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน มันอาจเป็นเรื่องที่มีมานานมากแต่ช่วงนี้จะเห็นได้ว่าเวลาไปประชุมเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคเบาหวานประเด็นนี้มักถูกหยิบยกขึ้นมาเสมอๆ จึงมานั่งคิดทบทวนและปรึกษาพี่ๆ ที่ทำงานด้วยกันว่า เรามีความรู้มากน้อยแค่ไหนในการดูแลเรื่องเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่ก็ตอบคล้ายๆ กัน คือ ระวังไม่ให้เกิดแผลที่เท้า ถ้าเกิดแผลที่เท้าต้องดูแลทำความสะอาดเพื่อไม่ให้เกิดการตัดเท้า/ขาต่อมา ให้ใส่รองเท้าทุกครั้งที่ต้องออกนอกบ้านอะไรทำนองนี้ ส่วนในรายละเอียดปลีกย่อยยังไม่มีใครพอที่จะให้คำตอบได้ จึงได้เล่าเรื่องที่ได้ไปประชุมมาให้ฟังว่า เราต้องให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสนใจเกี่ยวกับการดูแลเท้าเพิ่มมากขึ้นเพราะถึงแม้ว่าเค้าจะไม่เกิดแผลที่เท้าแต่วันหนึ่งเท้าเค้าอาจผิดรูปจากโรคของเค้าได้ ดังนั้น เราต้องให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลความสะอาดของเท้า การใส่รองเท้าที่ถูกต้องเหมาะสมและอื่นๆ (ตามบัญญัติ 10 ประการ ที่ได้รับจากการไปประชุมที่ รพร.ธาตุพนม เมื่อครั้งที่ผ่านมา) พอเราคุยกับพี่ๆ ที่ฝ่ายเสร็จเราก็เริ่มแผนการที่วางไว้ คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลเท้าตามที่ไปประชุมมา เริ่มจากวันศุกร์ (3 ก.พ. 49) แรกที่ผ่านมา เราก็ให้ความรู้ตามปกติแต่เพิ่มความรู้เรื่องการดูแลเท้าไปอีก พอมาถึงการเลือกรองเท้าก็มีเสียงจากผู้ป่วยว่าทำไมต้องเป็นแบบนั้นล่ะ แบบเดิมที่ใส่เหมาะแล้ว คือส่วนมากผู้ป่วยจะใส่รองเท้าแตะแบบคีบ มีเสียงวิพากวิจารณ์จากผู้ป่วยค่อนข้างมาก บางกลุ่มก็เงียบ บางคนก็เห็นด้วยแต่เสียงส่วนมากเป็นรองเท้าแตะแบบคีบ เราก็เลยพยายามบอกข้อดีข้อเสียอีกครั้ง และพอทุกนัดวันศุกร์ต่อๆ มาเราก็ให้ความรู้แบบเดิมอีก ประมาณ 1 เดือนซึ่งก็น่าจะครบรอบที่ให้ความรู้ผู้ป่วยกลุ่มแรกพอดี (ลืมบอกไปว่า เวลาเราออกเยี่ยมบ้านก็บอกเรื่องนี้ด้วย) เราก็สังเกตเห็นว่าเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงให้เห็น ผู้ป่วยใส่รองเท้าแตะแบบสวมกันมากขึ้น เช่น ผู้ป่วยมารับบริการ 20 คน ใส่รองเท้าแตะแบบคีบ 5 คน ซึ่งนับเป็นนิมิตหมายอันดี และในปัจจุบันนี้ เราก็พบผู้ป่วยที่ใส่รองเท้าแตะแบบคีบเหลือไม่ถึง 10 คน และไม่พบการมีแผลที่เท้าเพิ่มจากจำนวนผู้ป่วยเดิม ผู้เล่าเรื่อง น.ส.ธัญญาพร เสวิวัฒน์ พยาบาลวิชาชีพ 4 รพ.โพนสวรรค์ นครพนม
หมายเลขบันทึก: 53310เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2006 22:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ในฐานะ ที่เป็นส่วนหนึ่งของทีมเบาหวาน รู้สึกดีใจด้วยค่ะที่การทำงานที่เราทุ่มเทมาผลิดอกออกผลสวยงามขึ้น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท