บทเรียนสำเร็จรูปที่น่าสนใจ


ความสำคัญของพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนสถาบันหลักที่สำคัญของสังคมไทยมี 3 สถาบัน
ได้แก่ สถาบันชาติสถาบันศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์เราถือว่าสถาบันชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติส่วนสถาบันศาสนาซึ่งหมายถึง พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชน
พุทธศาสนิกชนหมายถึงผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนามีความเลื่อมใสศรัทธาในพระรัตนตรัยอันได้แก่พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์บางทีเราเรียกว่าพุทธศาสนิกชนว่า
ชาวพุทธ ก็ได้
ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรทั้งประเทศประมาณ 65ล้านคน มีผู้นับถือพระพุทธศาสนาประมาณ62ล้านคนมีประชากรเพียงประมาณ3ล้านคนเท่านั้นที่นับถือศาสนาอื่นดังนั้นเราจึงกล่าวได้ว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนหรือชาวพุทธ
1. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของพระรัตนตรัย
ก. พระพุทธ  ข. พระธรรม        ค. พระศาสนา       ง. พระสงฆ์

คลิกดูตัวอย่างบทเรียนสำเร็จรูปที่น่าสนใจ
http://www.thaigoodview.com/node/17877

หมายเลขบันทึก: 533045เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2013 21:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2013 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียน ท่าน ผอ.วิเชียร  ทองน้อย

            บทเรียนสำเร็จรูป เรื่องพุทธประวัติ : ครูศุกลรัตน์ ทองน้อย  เป็นบทเรียนที่น่าสนใจจริง ๆ  เป็นแบบอย่างที่ดี ในการนำไปประยุกต์ใช้ทำหรับการทำผลงานได้ดีค่ะ

เรียนท่าน ผอ. วิเชียร ที่นับถือ

ผมได้อ่านบทเรียนสำเร็จรูป ที่ท่านได้ทำลิงค์ไว้ อย่างรวดเร็ว  ซึ่งบทเรียนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ ให้ผู้เรียน

1.  รู้ เข้าใจ และเห็นความสำคัญของพระพุทธศาสนา
2.  รู้ เข้าใจ และเห็นคุณค่าของพุทธประวัติในเรื่อง การตรัสรู้ และการประกาศพระธรรม

ผมมีความเห็น ดังนี้ครับ

  • บทเรียนนี้ อาจจะทำให้เกิดความ "รู้" เกี่ยวกับพุทธประวัติในเรื่องการตรัสรู้ และการประกาศพระธรรม บ้าง แต่ไม่น่าสามารถทำให้ผู้เรียน "เข้าใจ" "เห็นความสำคัญ" หรือ "เห็นคุณค่า" ของพระพุทธศาสนาหรือพุทธประวัติได้
  • ผมคิดว่า บทเรียนนี้ เน้นเพียงเนื้อหา (ที่แปล-เขียนต่อๆ กันมา) เป็นการเรียนรู้แบบ "ท่องจำ" โดยเฉพาะคำถาม ที่เกือบทั้งหมดเป็นคำถามความจำ ดังนั้น ที่ผมว่าอาจจะเกิดความรู้นั้น คือ "รู้จำ" คงยังไม่อาจทำให้นักเรียน "รู้เข้าใจ" ได้
  • วิธีหนึ่งที่นิยมที่สุดในการเรียนรู้ให้เกิดความเข้าใจคือ "การคิดอย่างมีวิจารณญาณ" หรือ นำมาคิออย่างเป็นเหตุเป็นผล เราอาจเรียกวิธีศึกษาหลักพุทธศาสนาแบบนี้ว่า การศึกษา"พุทธปรัชญา" ซึ่งผมคิดว่าอาจทำให้เกิดความ "เข้าใจ" ได้แม้ว่าจะยังไม่ "เข้าถึง"
  • เราสามารถทำให้เกิดความเข้าใจใน "พุทธปรัชญา" ได้โดยการ "ตั้งคำถาม" ให้ผู้เรียนช่วยกันอภิปรายอย่างเป็นเหตุเป็นผล เช่น ถามว่า "เจ้าชายสิทธัตถะคิดอย่างไรหรือเข้าใจอะไรถึงได้หนีออกบวช?" ...... ผมเอง เพิ่งอ่านเจอจากหนังสือเล่มหนึ่ง ไม่นานมานี้เองว่า ท่านบรรลุโสดาบันในคืนที่จะออกบวช  ผมค่อนข้างให้น้ำหนักกับหนังสือเล่มนี้มาก เพราะผมเองตอนนี้ มีลูกน้อยเล็กๆ ดูความรู้สึกตนเองแล้ว ไม่มีทางเลยที่จะหนีไปไหนได้.....
  • วัตถุประสงค์เรื่องการเห็นความสำคัญหรือเห็นคุณค่า น่าจะสำเร็จได้ด้วยการ "เข้าถึง" ซึ่งมีวิธีเดียวคือ ให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติ การปฏิบัติหรือลงมือทำด้วยตนเองจะทำให้นักเรียน "เข้าใจด้วยตนเอง" และ "เห็น" หรือ "เรื่มเห็น" ผลของการปฏิบัติ

ผิดถูกประการใด ขออภัย แต่ยืนยันว่า เสนอข้อคิดเห็นด้วยความจริงใจครับ

เรียน ท่านฤทธิไกร มหาสารคาม
        ขอขอบคุณท่านเป็นที่อย่างสูงที่แสดงความเห็นในครั้งนี้ด้วยความจริงใจ 
                                                                                  ขอขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท