ชาวเขาในประเทศไทย


ชุมชนภายในกลุ่มชนเหล่านี้อยู่ในประเทศไทยมานานหลายทศวรรษ และมีคนอื่นๆ เดินทางมาสมทบอยู่เรื่อยๆ อีกทั้งยังรวมไปถึงบุตรธิดาที่เกิดจากกลุ่มคนเหล่านี้ แม้ชาวเขาเหล่านี้จะจัดว่าตนเองอยู่ในประเภท “ประชากรพื้นเมือง”
 ในประเทศไทยประชากรชาวไทยภูเขาถูกเรียกว่า  ชาวเขา  ชาวเขาในประเทศไทยอาจแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้หกประเภท  กล่าวคือ  ชาวเขากะเหรี่ยง   ชาวเขาม้ง   ชาวเขาละฮู    ชาวเขาอาข่า   ชาวเขาเย้า และชาวเขาขยิ่น

ชุมชนภายในกลุ่มชนเหล่านี้อยู่ในประเทศไทยมานานหลายทศวรรษ และมีคนอื่นๆ เดินทางมาสมทบอยู่เรื่อยๆ อีกทั้งยังรวมไปถึงบุตรธิดาที่เกิดจากกลุ่มคนเหล่านี้   แม้ชาวเขาเหล่านี้จะจัดว่าตนเองอยู่ในประเภท ประชากรพื้นเมือง   แต่ตามกฎหมายและนโยบายของประเทศไทยไม่ระบุไว้อย่างชัดเจนถึงเรื่องเกี่ยวกับประชากรพื้นเมืองไว้ รัฐบาลไทยมักมองว่าชาวเขาเป็นชนกลุ่มน้อย และปัญหาที่เกิดกับชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ก็คือ พวกเขาเหล่านั้นหากดูตามสถานะทางกฎหมายอย่างแท้จริงแล้ว เค้าเหล่านั้นส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลที่ไร้สัญชาติ  ทั้งนี้เพราะไม่มีการแจ้งเกิด  ไม่มีบัตรประชาชน หรือบางคนไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎรด้วยซ้ำไป  บางคนเป็นพวกที่หลบหนีเข้าเมืองมาอย่างผิดกฎหมายโดยลักลอบเข้ามาทางรอยต่อระหว่างตะเข็บชายแดนของทั้งสองประเทศ  นอกจากนี้ก็ยังมีเด็กซึ่งเป็นบุตรที่เกิดมาจากชาวเขาที่อพยพ หลบหนี หรือแอบเข้ามาตามตะเข็บชายแดนระหว่างประเทศ เด็กเหล่านั้นก็จะกลายเป็นเด็กไร้สัญชาติไปโดยปริยาย

                    อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ประชากรชาวไทยภูเขาเพิ่งได้รับการยอมรับทีละน้อยโดยทางรัฐบาลไทยได้เข้าไปจัดการให้มีการขึ้นทะเบียนของชาวเขาเหล่านี้  อันจะมีผลทำให้พวกชาวเขาเหล่านี้มีสถานะตามกฎหมายของประเทศไทย การขึ้นทะเบียนมีความสำคัญในสามระดับในประเทศไทย กล่าวคือ ระดับหมู่บ้าน ครัวเรือน และบุคคล หมู่บ้านที่ไม่ขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการกับกระทรวงมหาดไทย จะไม่มีสิทธิได้รับบริการของรัฐ  เช่นโรงเรียน หรือถนน ทะเบียนบ้านที่แสดงถิ่นที่อยู่ และการขึ้นทะเบียนบุคคลทำให้ได้รับสิทธิต่าง ๆ มากมายตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในการเป็นบุคคลสัญชาติไทย อันจะทำให้ชาวเขาเหล่านี้ไม่เป็นบุคคลผู้ไร้สัญชาติอีกต่อไป

                       ในปี พ.ศ. 2544  รัฐบาลตัดสินใจให้สถานภาพพลเมืองแก่บุตรของคนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ถาวร และขยายเวลาการมีถิ่นที่อยู่ให้กลุ่มชนเหล่านี้  ชาวไทยภูเขาจำเป็นต้องจดทะเบียน และสำนักงาน UNESCO ในกรุงเทพ ได้ให้ความช่วยเหลือในกระบวนการนี้ โดยจัดตั้งโครงการจดทะเบียนพลเมือง   แต่กระบวนการนี้ก้าวหน้าอย่างเชื่องช้า ดังนั้นจึงมีคนจำนวนน้อยที่ได้รับสถานะพลเมือง

หมายเลขบันทึก: 53280เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2006 17:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท