ห้องเรียนคุณภาพวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร)


เป็นกระบวนการที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดผลดีแก่ผู้เรียนได้จริง และยั่งยืน พร้อมทั้งเป็นการพัฒนาครูให้สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ จนส่งผลต่อผู้เรียน ดังนี้ 1. เพิ่มผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และมัธยมศึกษาปีที่ 5 2. พัฒนาให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ และมีสมรรถนะที่สำคัญ 5 ประการ 3. เป็นการสร้างวินัยเชิงบวก (Positive Discipline) ที่เน้นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม หรือคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ 8 ประการ สังเคราะห์และจัดทำฐานข้อมูล Best Practice ในเรื่อง การสร้างวินัย หรือคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ที่เป็นรูปธรรม

ห้องเรียนคุณภาพ รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร)

                

         

สภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้

  การจัดการเรียนรู้รายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร) ของโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย ระหว่างปีการศึกษา 2553 -2554 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 นั้น โรงเรียนได้จัดโครงสร้างหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร) ตามสภาพความพร้อมด้านบุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่และห้องปฏิบัติการ ดังนี้

  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  เรียนในรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร) รหัสวิชา  ง 22102  จำนวน  0.5  หน่วย เวลา  20 คาบ  โดยศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเกษตร  ความหมาย ปัจจัยการปลูกพืช ความสำคัญและประโยชน์ของการทำการเกษตรด้วยการปลูกพืชตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง   การใช้เครื่องมือ วัสดุ – อุปกรณ์ รวมทั้งการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง  การทำโครงงานที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร แสวงหาความรู้ต่างๆ อย่างหลากหลาย

   นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  เรียนในรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร) รหัสวิชา  ง 32102 จำนวน 0.5 หน่วย  เวลา 20 คาบ โดยศึกษา ค้นคว้า เกี่ยวกับความหมายความสำคัญของการเกษตร  เครื่องมือ อุปกรณ์การปลูกพืช เทคโนโลยีการเกษตร  แนวทางในการประกอบอาชีพเกษตร  คุณลักษณะที่ดีของผู้ประกอบอาชีพเกษตร  ปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืช การปลูกพืช  การขยายพันธุ์พืช  การดูแลการป้องกันรักษา โรค และการเก็บเกี่ยวผลผลิต การจัดจำหน่ายผลผลิตการเกษตรและการแปรรูป  จัดการและแก้ปัญหาในการทำงานจากการปลูกพืชในภาชนะ การประดิษฐ์ภาชนะปลูกพืช  การทำโครงงานที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เลือกใช้ทรัพยากรในการทำงานเกษตรอย่างประหยัด  สร้างสรรค์ และคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ที่มาและความสำคัญของปัญหา

จากการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ปีการศึกษา 2553 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทำได้เฉลี่ยเพียงร้อยละ 67.20 และ 76.97 ตามลำดับเท่านั้นซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายกำหนดไว้ การวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีต่ำเกิดจากเหตุสำคัญ 3 ด้าน คือ 

1)  ด้านตัวครู ครูยังใช้วิธีการสอนไม่หลากหลาย เน้นเนื้อหามากกว่าการฝึกให้นักเรียนได้คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างมีเหตุผล 

2) ด้านตัวนักเรียนขาดความสนใจในการเรียน ไม่ได้ฝึกทักษะอย่างจริงจัง ไม่สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ทำให้ขาดความรับผิดชอบ เห็นแก่ตัว แก้ปัญหาไม่เป็นเบื่อหน่ายในการเรียน  

3) ด้านสื่อ อุปกรณ์ทางการเรียน ยังมีน้อย ไม่พอเพียงกับผู้เรียน  ดังนั้นผู้รายงานในฐานะที่เป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี จึงมีความสนใจที่จะพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนคุณภาพ โดยมีการจัดทำหน่วยการเรียนรู้  ระบุเป้าหมายการเรียนรู้  หลักฐานการเรียนรู้ของผู้เรียนและกิจกรรมการเรียนรู้  สอดคล้องสัมพันธ์กันและตอบสนองมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรครบถ้วน  โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการคิด เลือกวิธีการวัดและประเมินผลได้ตรงกับเป้าหมายการเรียนรู้และตอบสนองมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรและมีการนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้

วัตถุประสงค์

1. เพิ่มผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และมัธยมศึกษาปีที่ 5

2. พัฒนาให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ และมีสมรรถนะที่สำคัญ 5 ประการ

3. สร้างวินัยเชิงบวก (Positive Discipline) นำร่อง กระบวนการสร้างวินัยเชิงบวก ที่เน้นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม หรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ สังเคราะห์และจัดทำฐานข้อมูล Best Practice ในเรื่อง การสร้างวินัย หรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เป็นรูปธรรม

ชั้นตอนการดำเนินงาน

1. นำผลการทดสอบระดับชาติ และข้อมูลสารสนเทศประเมินภายนอก ประเมินภายใน มาใช้ในการวางแผนออกแบบพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร)

2. ออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ Backward  Design  โดยอิงกับมาตรฐานการเรียนรู้ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 

3. กำหนดหน่วยการเรียนรู้ รายวิชาการงานอาชีพ (เกษตร) โดยระบุเป้าหมายการเรียนรู้ หลักฐานการเรียนรู้ของผู้เรียน และกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องสัมพันธ์กันและตอบสนองมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตร

4. จัดการเรียนรู้ ที่มีขั้นตอนกิจกรรมนำเข้าสู่การเรียน กิจกรรมพัฒนานักเรียนทั้งด้านผลการเรียนและการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งกิจกรรมส่วนใหญ่จะเน้นบทบาทของนักเรียนมากกว่าครู เช่น นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ การเผยแพร่องค์ความรู้สู่ชุมชนและสาธารณะ  

5. จัดกิจกรรมการเรียนรู้และดำเนินการสอนแบบโครงงานเทคโนโลยีเกษตรและอื่นๆให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และจัดกิจกรรมส่งเสริม ป้องกัน และแก้ปัญหาให้กับนักเรียนแต่ละกลุ่ม  โดยการป้องกันแก้ปัญหานักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ด้วยวิธีการที่สัมพันธ์สอดคล้องกับการป้องกันแก้ปัญหานักเรียนตามงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

6.  ส่งเสริมให้นักเรียนใช้กระบวนการคิด ค้นคว้าสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้และการนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ เช่น การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การแปรรูปผลผลิตเกษตร การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาไทย 

  7. ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเอง จากสื่อเอกสารในรายวิชาเกษตรและสื่อทางอินเตอร์เน็ต แล้วนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ประกอบการเรียนการสอนและออกแบบการเรียนรู้ ผลิตใบงาน ใบความรู้ เอกสารประกอบการเรียนการสอนที่น่าสนใจ และทันสมัย ออกแบบสร้างสื่อแผ่นภาพไวนิลในรายวิชาการงานอาชีพ (เกษตร) 

   

8. วัดผลประเมินผลตามสภาพจริง ด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย มีเกณฑ์การประเมินผลงาน/ชิ้นงานครอบคลุมมาตรฐานและเป้าหมายการเรียนรู้ ให้คำแนะนำทั้งรายบุคคลและกลุ่ม และเปิดโอกาสให้พัฒนาผลงานอย่างต่อเนื่อง 

9. มีหนังสือเพียงพอในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย และจัดมุมหรือป้ายนิเทศ/สื่อการสอน ที่ส่งเสริมการเรียนรู้/แสวงหาผลงานผู้เรียนที่มีคุณภาพแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครูเพื่อนำข้อบกพร่องมาแก้ไขและพัฒนาตนเอง   

10. จัดหาสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัยน่าสนใจ และสื่อเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพนักเรียน เช่น VCD รายการกบนอกกะลา วารสารเกษตรธรรมชาติรายเดือน วารสารเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรจากองค์กรต่างๆ

11. นำผลการประเมินมาวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อยของผู้เรียนและสะท้อนผลสู่ผู้เรียนเพื่อการพัฒนา เช่น นำผลการประเมินมาจัดกลุ่มผู้เรียนและออกแบบการเรียนรู้หรือพัฒนาผู้เรียนอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง  ละรายงานผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแก่ผู้ปกครอง เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียนทุกด้าน   

ผลการดำเนินงาน

  ตาราง 1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร)   

  รหัสวิชา ง 22102 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ปีการศึกษา

จำนวน (n)

Mean

S.D.

t

df

Sig.

2553

178

67.20

7.880

2.465

258.361

.014

2554

166

70.22

13.798

จากตาราง 1 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร) รหัสวิชา ง22102 สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (mean difference = 3.01) ที่ระดับ .05  

  ตาราง 2  เปรียบเทียบสัมฤทธิ์ทางการเรียน  รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร)  

  รหัสวิชา ง 32102 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 

ปีการศึกษา

จำนวน (n)

Mean

S.D.

t

df

Sig.

2553

127

76.94

8.918

4.351

256

.000

2554

131

81.33

7.198

จากตาราง 2 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี  

รหัสวิชา (เกษตร) ง 32102 สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (mean difference = 4.38) ที่ระดับ .05

 

  ตาราง 3 ความพึงพอใจเกี่ยวกับบรรยากาศในห้องเรียนคุณภาพวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร)

  รหัสวิชา ง 22102 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 

ลำดับ

รายการประเมิน

ระดับความพึงพอใจเฉลี่ย

ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

1

มีความสะอาด

4.08

.771

2

มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย

4.15

.849

3

มีการตกแต่งห้องอย่างสวยงาม

4.16

.851

4

มีแสงสว่างเพียงพอ

3.90

.831

5

อากาศถ่ายเทสะดวก

4.18

.847

6

มีป้ายนิเทศที่สวยงาม ให้ความรู้ที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์

4.02

.857

7

ปราศจากกลิ่นและเสียงรบกวน

4.07

.827

8

มีสื่อปุกรณ์การจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัย

3.97

.880

9

มีข้อตกลงในการใช้ห้องเรียนที่เหมาะสม

4.01

.877

10

ขนาดห้องเรียนเหมาะสมกับผู้เรียน

4.10

.853

รวมเฉลี่ย

4.06

.342

 

จากตาราง 3 พบว่าความพึงพอใจเกี่ยวกับบรรยากาศในห้องเรียนคุณภาพวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร) รหัสวิชา ง 22102 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  รวมเฉลี่ยคือ 4.06 และความพึงพอใจเกี่ยวกับบรรยากาศในห้องเรียนคุณภาพวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร)  มากที่สุด คือ อากาศถ่ายเทสะดวก ( = 4.18) รองลงมาคือ มีการตกแต่งห้องอย่างสวยงาม (= 4.16), มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ( = 4.15), ขนาดห้องเรียนเหมาะสมกับผู้เรียน ( = 4.10), มีความสะอาด (4.08), ปราศจากกลิ่นและเสียงรบกวน ( =  4.07)  มีป้ายนิเทศที่สวยงาม ให้ความรู้ที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ (=  4.02), มีข้อตกลงในการใช้ห้องเรียนที่เหมาะสม (=  4.01), มีสื่ออุปกรณ์การจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัย (= 3.97) และมีแสงสว่างเพียงพอ (= 3.90) ตามลำดับ

  ตาราง 4  ความพึงพอใจเกี่ยวกับบรรยากาศในห้องเรียนคุณภาพวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร)

  รหัสวิชา ง 32102 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ลำดับ

รายการประเมิน

ระดับความพึงพอใจเฉลี่ย

ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

1

มีความสะอาด

4.09

.769

2

มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย

4.19

.847

3

มีการตกแต่งห้องอย่างสวยงาม

4.21

.848

4

มีแสงสว่างเพียงพอ

3.91

.827

5

อากาศถ่ายเทสะดวก

4.22

.839

6

มีป้ายนิเทศที่สวยงาม ให้ความรู้ที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์

4.08

.854

7

ปราศจากกลิ่นและเสียงรบกวน

4.15

.819

8

มีสื่อปุกรณ์การจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัย

4.03

.861

9

มีข้อตกลงในการใช้ห้องเรียนที่เหมาะสม

4.04

.859

10

ขนาดห้องเรียนเหมาะสมกับผู้เรียน

4.08

.847

รวมเฉลี่ย

4.10

.351

จากตาราง 4 พบว่าความพึงพอใจเกี่ยวกับบรรยากาศในห้องเรียนคุณภาพวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร) รหัสวิชา ง 32102 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  รวมเฉลี่ยคือ 4.10 และความพึงพอใจเกี่ยวกับบรรยากาศในห้องเรียนคุณภาพวิชาการงานอาชีพ (เกษตร) มากที่สุด คือ อากาศถ่ายเทสะดวก ( = 4.22) รองลงมาคือ มีการตกแต่งห้องอย่างสวยงาม  (=  4.21), มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย (=  4.19), ปราศจากกลิ่นและเสียงรบกวน  (= 4.15), มีความสะอาด (= 4.09), มีป้ายนิเทศที่สวยงาม ให้ความรู้ที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ และขนาดห้องเรียนเหมาะสมกับผู้เรียน (=  4.08), มีข้อตกลงในการใช้ห้องเรียนที่เหมาะสม (4.04), มีสื่ออุปกรณ์การจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัย (=  4.03) และมีแสงสว่างเพียงพอ  (= 3.91) ตามลำดับ

  ตาราง 5 คุณภาพการจัดการเรียนรู้ ในห้องเรียนคุณภาพวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร)

  โดยคณะผู้บริหาร เป็นผู้ประเมิน

ลำดับ

รายการประเมิน

คุณภาพเฉลี่ย

ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

1

มีแผนการจัดการเรียนรู้

5.00

.000

2

มีการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย

5.00

.000

3

จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

5.00

.000

4

มีบันทึกหลังสอน

4.50

.577

5

มีการวัดประเมินตามสภาพจริงด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย

4.25

.957

6

มีการรายงานข้อมูลให้ผู้ปกครองทราบและเป็นปัจจุบัน

3.25

.500

7

มีการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

4.00

.000

8

มีการส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ

5.00

.000

9

นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

5.00

.000

10

มีกิจกรรมสอนซ่อมเสริมหรือกิจกรรมที่แก้ปัญหาด้านผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน

5.00

.000

รวมเฉลี่ย

4.60

.183

จากตาราง 5  พบว่าคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ในห้องเรียนคุณภาพวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย  กรุงเทพมหานคร รวมเฉลี่ยคือ 4.60 และคุณภาพการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนคุณภาพวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร) มากที่สุดคือ มีแผนการจัดการ

เรียนรู้ มีการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย, จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง, มีการส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ, นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้, มีกิจกรรมสอนซ่อมเสริมหรือกิจกรรมที่แก้ปัญหาด้านผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน (5.00) รองลงมาคือ มีบันทึกหลังสอน (4.50), มีการวัดประเมินตามสภาพจริงด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย (=  4.25), มีการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น (4.00) และมีการรายงานข้อมูลให้ผู้ปกครองทราบและเป็นปัจจุบัน (= 3.25) ตามลำดับ

  ตาราง 6 คุณภาพการจัดการเรียนรู้ ในห้องเรียนคุณภาพวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร)

  โดยครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ฯ เป็นผู้ประเมิน

ลำดับ

รายการประเมิน

คุณภาพเฉลี่ย

ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

1

มีแผนการจัดการเรียนรู้

4.90

.316

2

มีการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย

4.80

.422

3

จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

4.70

.483

4

มีบันทึกหลังสอน

4.30

.675

5

มีการวัดประเมินตามสภาพจริงด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย

4.40

.699

6

มีการรายงานข้อมูลให้ผู้ปกครองทราบและเป็นปัจจุบัน

4.10

.876

7

มีการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

3.90

.738

8

มีการส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ

4.60

.516

9

นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

4.60

.699

10

มีกิจกรรมสอนซ่อมเสริมหรือกิจกรรมที่แก้ปัญหาด้านผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน

4.70

.483

รวมเฉลี่ย

4.50

.194

จากตาราง 6 พบว่าคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ในห้องเรียนคุณภาพวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย  กรุงเทพมหานคร รวมเฉลี่ยคือ 4.50 และคุณภาพการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนคุณภาพวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร) มากที่สุดคือ มีแผนการจัดการเรียนรู้ (4.90) รองลงมาคือ มีการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย (= 4.80), จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และมีกิจกรรมสอนซ่อมเสริมหรือกิจกรรมที่แก้ปัญหาด้านผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน (= 4.70), มีการส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ และนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  (=  4.60), มีการวัดประเมินตามสภาพจริงด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย (= 4.40), มีบันทึกหลังสอน  (=  4.30), มีการรายงานข้อมูลให้ผู้ปกครองทราบและเป็นปัจจุบัน (=  4.10) และมีการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น (= 3.90) ตามลำดับ

การสรุปและอภิปรายผล

  จากตารางที่ 1- 2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ที่เรียนรายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตินั้น  มีสาเหตุสำคัญมาจากการปรับรูปแบบวิธีการ

จัดการเรียนรู้ของครู โดยการปรับปรุงห้องเรียนให้เป็นห้องเรียนคุณภาพ ที่นำเอาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมาเป็นหลักในการวางแผนการจัดการเรียนรู้และนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ภาคทฤษฎี  มีการสรุปผลการเรียนรู้  หลังเรียนพร้อมกับมอบหมายงานให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม หรือเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตตลอดจนซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ได้เตรียมไว้บริการนักเรียน  ส่วนการเรียนรู้ภาคปฏิบัติได้เน้นการปฏิบัติจริงในรูปของกิจกรรมโครงงานต่างๆ ทำให้นักเรียนมีความรู้ มีทักษะและประสบการณ์ตรงนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน จึงมีความรู้ ความเข้าใจที่คงทนและมีผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร) รหัสวิชา ง22102 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร) ง32102 จึงกล่าวได้ว่าห้องเรียนคุณภาพเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

  นอกจากนั้นสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร) รหัสวิชา ง 22102 (ตารางที่ 3) และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร) ง 32102 (ตารางที่ 4) โดยใช้กิจกรรมห้องเรียนคุณภาพ  นักเรียนเกือบทั้งหมดมีความพึงพอใจอย่างมากเกี่ยวกับบรรยากาศการเรียนรู้ในห้องเรียนคุณภาพวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร) ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับผลการประเมินห้องเรียนคุณภาพวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร) ของครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (ตารางที่ 5) และคณะผู้บริหารโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย(ตารางที่ 6) ที่อยู่ในเกณฑ์ดีมากจริงเชื่อมั่นได้ว่าห้องเรียนคุณภาพวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร) มีผลโดยตรงต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร) และยังเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ ได้นำไปใช้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัยต่อไป


 นำผลงานมายึดถือเป็นแบบอย่างได้อย่างไร ส่งผลสัมฤทธิ์ต่อการเรียนของนักเรียนอย่างไร


  จากการดำเนิงานกิจกรรม  “ห้องเรียนคุณภาพวิชาการงานอาชีพ(เกษตร)”  ตามขั้นตอน/วิธีการพัฒนา โดย

§  นำการเปลี่ยนแปลงสู่ห้องเรียนคุณภาพวิชาการงานอาชีพ(เกษตร)

§  ออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน

§  มีการวิจัยในชั้นเรียน (CAR)

§  การใช้ ICT เพื่อการสอนและสนับสนุนการสอนวิชาการงานอาชีพ(เกษตร)

§  พัฒนางานโดยการสร้างวินัยเชิงบวก (Positive Discipline)

เป็นกระบวนการที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดผลดีแก่ผู้เรียนได้จริง และยั่งยืน พร้อมทั้งเป็นการพัฒนาครูให้สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้  จนส่งผลต่อผู้เรียน  ดังนี้

1. เพิ่มผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และมัธยมศึกษาปีที่ 5

2. พัฒนาให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ และมีสมรรถนะที่สำคัญ 5 ประการ

3. เป็นการสร้างวินัยเชิงบวก (Positive Discipline) ที่เน้นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม หรือคุณลักษณะอันพึง  ประสงค์ 8 ประการ สังเคราะห์และจัดทำฐานข้อมูล Best Practice ในเรื่อง การสร้างวินัย หรือคุณลักษณะอันพึง  ประสงค์ที่เป็นรูปธรรม


                 ออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน




     นำการเปลี่ยนแปลงสู่ห้องเรียนคุณภาพวิชาการงานอาชีพ(เกษตร)




           เชิญวิทยากรให้ความรู้นักเรียนเรื่อง  สมุนไพรแก่นตะวัน


การใช้ ICT เพื่อการสอนและสนับสนุนการสอนวิชาการงานอาชีพ(เกษตร)






            น้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์ชีวภาพ จากน้ำหมักชีวภาพ

              เกลือหอมปรับอากาศ  และเกลือตะไคร้หอมไล่ยุง

หมายเลขบันทึก: 532789เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2013 19:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2013 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีปีใหม่ไทยครับ

                                    สุขสันต์วันสงกรานต์ประสานสุข

                                    นิราศทุกข์โรคภัยห่างไกลหาย

                                    สุขภาพสมบูรณ์เกื้อกูลกาย

                                    สิ่งใดหมายให้สมหวังประดังมา

                                             ขอบคุณในผลงานวิจัยที่นำมาแบ่งปันครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท