กับดักหนู ภูมิปัญญาท้องถิ่น


กับดักหนู ที่เรียกว่า ฟ้าครอบ

              เกษตรกรผู้ปลูกข้าวจังหวัดสตูล มักมีปัญหาเกี่ยวกับการระบาดของศัตรูพืชในระยะข้าวตั้งท้อง ที่สำคัญ คือ หนู มักเข้ากัดกินต้นข้าว ทำให้ได้รับความเสียหาย ในการแก้ปัญหาของเกษตรกรตามภูมิปัญญาท้องถิ่น นายผล  แสงดำ เกษตรกรตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จะใช้กับดักหนู ที่เรียกว่า  ฟ้าครอบ ในการป้องกันกำจัดหนูในนาข้าว ซึ่งทำได้ง่าย ๆ โดยใช้ไม้กระดานยาวประมาณ 50 ซม. ใช้เสา 2 เสา สูง 20 ซม. ใช้ลิ้น นำไปวางไว้ตามทางเดินหนูเมื่อหนูเข้าไปโดนลิ้น ไม้จะครอบติดหนู เป็นกับดักที่ใช้ได้ผลดี

คำสำคัญ (Tags): #gap
หมายเลขบันทึก: 53255เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2006 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

     ผมค่อยยยยยยยติดตามการเขียน Blog  ของคุณอยู่ตลอดนะ    ฟ้าครอบ ไม่เคยเห็นมาก่อน เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ดีมากนะครับ ชื่อก็เข้าใจตั้งได้เหมาะสมและไพเราะดีนะ

      ต้องการทราบว่าหนูติดอะไร หรือถูกอะไรครอบอยู่ ผมมองภาพหลายครั้งคิดว่าเหมือนที่ดักหนูที่เป็นเหล็กที่เขาทำขายใช่หรือเล่าไม่ทราบ แล้วถ้าคนเดินไปเหยียบถูกจะเป็นอย่างไรบ้างครับ 

     แล้ว นายผล แสงดำ เป็นผู้คิดค้นเองหรือเปล่า มีการใช้กันแพร่หลายหรือไม่ ผลที่ได้รับเป็นอย่างไร  

     แต่ที่สำคัญผมคิดว่าเป็นวิธีกลที่ไม่ต้องใช้สารเคมีและรู้จักคิดดัดแปลงนำวัสดุที่มีในท้องถิ่นมาใช้ได้ดีมากเลยครับ น่าจะเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่บันทึกไว้ให้คนรู่นหลังได้รับทราบ ถ้ามีเรื่องดีๆที่พบเห็นอย่างนี้ลืมเก็บฝากใน Blog  อีกนะครับ.

                                        Mustache.

        

 

หนูจะโดนไม้กระดานหล่นทับ ไม้มีขนาดความกว้าง 1.5",2" * 6 *2.00 เมตร ไม่เหมือนกับดักหนูที่ขายในตลาด ไม่เป็นอันตรายกับคนเพราะวางขวางทางเดินหนู นายผลเป็นผู้คิดค้นเอง ปัจจุบันใช้อยู่ในแปลงไร่นาสวนผสม ตอนนี้สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตข้าวได้เรียนรู้ตามกระบวนการ km และนำไปปฏิบัติบ้างแล้ว

     ขอบคุณมากครับ ที่ตอบข้อสงสัย หากมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดีๆ อย่าลืมเก็บมาฝากอีกนะครับ.
รู้จักมานานแล้วกับดักหนูแบบนี้เมื่อก่อนทำใช้บ่อยเพราะชาวบ้านเค้าคิดประดิษฐ์กันแต่เดี๋ยวนี้อาจจะไม่ค่อยมีให้เห็นเพราะคนทำนาน้อยลงแต่เค้าใช้กันมานานแล้ว

ขอให้โชคดีมีความสุขมากๆนะครับ.

ในฐานะผู้ชำนาญการเรื่องกับดักหนู ขอชี้แจงถึงข้อด้อยของกับดักดังกล่าว คือ

1.ในการดักครั้งแรกหนูจะเข้ามาสู่กับดักได้ง่าย เพราะไม่มีประสบการณ์ในกับดักดังกล่าว แต่หนูเป็นสัตว์ที่เรียนรู้ได้เร็ว กับดักชนิดนี้มีจุดด้อยที่สำคัญที่สุดคือ มีลักษณะที่สังเกตุเห็นได้ง่าย จึงทำให้หนูตัวที่ไม่ติดกับดักดังกล่าว แต่ได้ยินเสียงหนูตัวที่ติดอยู่ ส่งเสียงร้องขอความช่วยเหลือ มาเห็นเข้า หนูก็จะจดจำ และไม่เข้ามาใกล้กับดักดังกล่าว ข้อเสียนี้ก็เหมือนกับกรงดักหนูที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไป

2.ตัวกับดักที่ทำด้วยไม้ เมื่อหนูตัวที่ติดอยู่ส่งเสียงร้องขอความช่วยเหลือ ตัวอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงก็จะมาช่วยกันกัดไม้ ซึ่งทำให้เกิดการสึกหรอได้ง่าย แต่ซ่อมแซมยาก

ความจริงมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้ไม่นิยมใช้ ไม่ใช่เพราะทำนาน้อยลง ตรงกันข้ามชาวนา ชาวไร่ กลับมีความต้องการกำจัดหนูเพิ่มขึ้น เพราะพืชผลทางการเกษตรมีราคาสูงขึ้น แต่หนูก็แพร่ระบาดมากขึ้น เพราะภาวะโลกร้อน

ในการเผยแพร่กับดักหนูของคุณครั้งนี้ มีประโยชน์กับผู้อื่นมาก เพราะเป็นอีกวิธีที่จะช่วยให้พลเมืองหนูลดลง ขอขอบคุณมาก

อยากได้วิธีทำน่ะค่ะ

จะเอาไปทำงานโครงงานวิทยาศาสตร์

ไม่อยากชื้อเปลืองเงินเลยอยากทำเอง

เพราะได้ใช้เยอะมาก

ขอความกรุณาตอบเร็วๆหน่อยน่ะค่ะ

ขอบคุญค่ะ

เอาไปทำโครงงานอะ มีไรปะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท