รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

เกียรติบัตรนี้มีค่า เสียภาษี...ได้คืนตั้งเกือบห้าพัน



           พอย่างเดือน มีนาคม ก็เป็นกังวลมากกับการเสียภาษี  เพราะได้ข่าวจากมวล

มิตรทั้งหลาย ที่ได้ คศ.3 และมีเงินตกเบิก  ทั้งจากปาก  และจากลายลักษณ์อักษรที่

สือสารกันทางโลกออนไลน์ ว่ากันว่า บางรายต้องจ่ายเพิ่มตั้งหกหมื่นเจ็ดหมื่น  ฟังแล้ว

สยอง  ขณะเดียวกัน พ่อของลูกก็โทรศัพท์มาขอหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการลดหย่อน

ภาษี ได้แก่ใบรับรองดอกเบี้ยการผ่อนบ้าน จากธนาคาร  พร้อมกับบอกว่าลองคำนวณ

ดูแล้ว ตัวเขาอาจจะต้องเสียภาษีเพิ่มถึงแปดหมื่นบาท  ฉันได้แต่ร้อง โอ....พระเจ้า

ช่วยกล้วยทอด 

          วันที่ 26  มีนาคม  เดินขึั้นสำนักงานสรรพากรอำเภอ "ช่วยคำนวณให้

ก่อนนะคะ  ว่าต้องจ่ายเพิ่มเท่าไหร่ แต่ยังไม่ได้เตรียงเงินมานะคะ" เจ้าหน้าที่

ยิ้ม ๆ พร้อมทั้งเรียกหลักฐานต่าง ๆ ที่สามารถลดหย่อนภาษีได้  ฉันส่งหนังสือรับรอง

ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ผ่อนบ้าน ของ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารออมสิน  "สอง

ใบนี้ แบ่งคนละครึ่งกับคู่สมรสนะคะ" เจ้าหน้าที่ก็อธิบายว่า แบ่งครึ่งไม่ได้ ของ

ใครก็ของคนนั้น  "แต่ปีที่แล้ว ยังแบ่งครึ่งได้นี่คะ" ฉันชี้แจง  ด้วยคิดว่า สงสาร

ฝ่ายโน้นที่ต้องจ่ายเพิ่มตั้งแปดหมื่น เจ้าหน้าที่ก็ยังคงยืนยันว่า  

    กฏหมายใหม่เริ่มใช้ปีนี้  ต่างคนต่างใช้สิทธิ์ลดหย่อนไม่สามารถแบ่งครึ่งได้  

จริง ๆ แล้วฉันน่าจะดีใจ  เพราะเท่ากับว่า ฉันจะได้ลดหย่อนมากขึ้น ขณะที่นั่งรอเจ้า

หน้าที่คำนวณ ก็ได้ยินเจ้าหน้าที่อีกคน บอกผู้เสียภาษี ซึ่งเป็นคุณครูที่ได้รับตกเบิก 

คศ.3 เช่นเดียวกับฉันว่า  "ต้องจ่ายเพิ่มสองหมื่่นค่ะ"  ฉันยิ่งมั่นใจว่า วันนี้ต้องใช้เงิน

เป็นหมื่นแน่เลยเรา แต่ครู่ต่อมาเจ้าหน้าที่ก็เอ่ยขึ้นว่า  "อือ  ยังได้คืนอีกนิดหน่อยค่ะ 

ประมาณ 700 บาท"  "ว้าว...จริงเหรอคะ"  ฉันดีใจจนออกนอกหน้า  เพราะไม่คาดคิด  

คิดว่าตัวเองคงต้องจ่ายเพิ่มหลักหมื่นแน่นอน  แต่ก็ยิ่งดีใจมากขึ้นไปอีก  เมื่อเจ้า

หน้าที่หันมาบอกว่า  

           "เอ่อ...เดี๋ยวก่อนนะคะ  ยังไม่ไ้ด้ใช้ใบนี้ลดหย่อน"  เจ้าหน้าที่พูดพร้อม

กับหยิบ เกียรติบัตร ของฉันไปดู พร้อมกับเงยหน้าขึ้น บอกว่า  "ใบนี้ได้ลดหย่อน 2 

เท่าเลยค่ะ  บริจาค 2 หมื่น  ก็เท่ากับได้ลดหย่อน 4 หมื่นค่ะ" เจ้าหน้าที่กดเครื่อง

คิดเลขอยู่ครู่หนึ่ง  ก็บอกว่า  "ได้คืน 4,600 บาทค่ะ"  ฉันเลยได้ ว๊าว....อีกครั้งหนึ่ง  

มีเงินเป็นค่าน้ำมันรถกลับไปทำบุญบ้านเกิดแล้ว   ฉันนั่งรออยู่ครู่ใหญ่  ๆ  เจ้าหน้าที่จึง

แจ้งให้ทราบว่า  ต้องรอนะคะ  ทางสรรพากรจะมีหนังสือส่งไปที่บ้าน เพื่อแจ้งเรื่องจ่าย

เงินคืน และคืนเป็นเช็ค  เอ่อไม่เป็นไรค่ะ  แค่ไม่ต้องจ่ายเพิ่มก้ดีใจมากแล้วค่ะ แต่ในใจ

ก็คิดว่า  

     ฮึ....ที่จ่ายเพิ่มหละก็ ให้ฉันจ่ายเงินสดทันทีทันใด      แต่พอจะคืนให้ฉัน แหม...เยอะ...ขั้นตอนจัง.... เห้อ 

หมายเลขบันทึก: 532145เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2013 20:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2013 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมต้องทำแบบพี่อิงบ้างแล้ว ผมเสียรายเดือนรวมทั้งปี แค่ ๑๘๐๐ บาท พวกบ้านไม่ยอมผ่อนเป็นเดือน ลดหย่อนมีบ้าง.... ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๖  ไปเสียภาษี หอบไป ๖ หมื่น เหลือกลับบ้านนิดเดียว..ภาษีอานจริงๆ ครับ ยุคนี้

เรียนท่าน ผอ.

  • พ่อของลูกครูอิง เค้าบอกว่า คำนวณภาษีเอง  น่าจะเสียประมาณ 8 หมื่น
  • เขาใกล้เกษียณแล้วหน่ะค่ะ  เงินเดือนเยอะ ก็ต้องเสียภาษีเยอะ
  • แต่เขาเป็นคนที่จ่ายเงินเพื่อโรงเรียนเยอะมาก  โดยเฉพาะช่วงที่ประกวด งานศิลปหัตถกรรม ที่ได้เป็นตัวแทนภาค
  • เขาไม่เคยออกเกียรติบัตรให้ตัวเองเลยค่ะ
  • พอครูอิงเล่าให้เขาฟัง  เขาก็ขอให้ช่วยแฟกซ์เกียรติบัตรไปให้ดูหน่อย
  • สุดท้าย เขารวบรวม เกียรติบัตรที่ตนเองบริจาคในที่ต่าง ๆ พร้อมทั้งใบอนุโมทนาบัตร ให้ได้มากที่สุด
  • ในที่สุด วันเสียภาษี  เขาต้องจ่ายเพิ่ม แค่หมื่นกว่าบาทค่ะ
  • แต่ใบเกียรติบัตร จะต้องพิมพ์ว่า บริจาคเพื่อการศึกษานะคะ  ถ้าพิมพ์เป็นอย่างอื่นเขาไม่ให้สองเท่าค่ะ

ขอบคุณที่แบ่งปันข้อมูลคะ เคยสงสัยมานานว่า บริจาคเพื่อการศึกษา นั้น ต้องเป็นสถานศึกษาตามประกาศ http://www.rd.go.th/publish/28654.0.html หรือนอกเหนือจากในนั้นได้ด้วยคะ

ดีค่ะ เป็นความรู้เพิ่มให้กับคนโลกแคบๆอย่างติ๊กเลยนะเนี่ย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท