จิตวิญญาณ ความสุข และภาวะผู้นำ


ขอบคุณสถาบันพัฒนาเครือข่ายผู้นำสุขภาวะ ที่มอบโอกาสให้ผมได้มีประสบการณ์ในงานปาฐกถาธรรม "เส้นทางผู้นำกับการสรรค์สร้างความกรุณาและกล้าหาญ" เมื่อวานนี้ที่ม.มหิดล โดยพระอาจารย์ ติช นัท ฮันห์


          ขอบคุณมากครับสำหรับภาพถ่ายจากคุณนุ้ย คศน. 

พระอาจารย์ ติชฯ ได้แนะนำการเจริญสติผ่านเสียงระฆัง เสียงร้องเพลงสวด และเสียงดนตรี สู่ การทำสมาธิขณะนั่ง เดิน และพิจารณาก่อนทานอาหารกลางวัน 

การเจริญสติแบบกำหนดลมหายใจเข้า (2 จังหวะ) ว่า "ฉันได้มาถึง มาถึงในปัจจุบันขณะ" และกำหนดลมหายใจออก (3 จังหวะ) ว่า "ฉันอยู่ที่บ้าน ที่บ้าน ที่บ้านในปัจจุบันขณะ"

พลังชีวิตและจิตวิญญาณ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เน้นพลังอำนาจอยู่ 3 รูปแบบ

1. พลังอำนาจของการตัดออก (Cut-Off Power) ในอารมณ์กับความรู้สึกที่ไม่ไว้วางใจ/หวาดระแวง (Suspicious) ที่หวาดกลัว (Fear) และที่โกรธ (Anger) ซึ่งระลึกถึงพลังงานแห่งความทุกข์ (Suffering Energy) 

2. พลังอำนาจของการทำความเข้าใจ (Understanding Power) ผ่านการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening)  ในจิตเพื่อเกิดการรับรู้กับการรับความรู้สึกของตนเองจนถึงการรับรู้กับการรับความรู้สึกของผู้อื่น ซึ่งเรียกว่า การรับรู้พลังงานแห่งจิตที่ตื่นรู้/สติด้วยความเมตตา (Compassionate Mindfulness Energy) เริ่มจากการหยุดคิด (Stop Thinking) เรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตกันอนาคตและการหยุดนิ่ง การทำสมาธิในปัจจุบันขณะเพื่อพิจารณาอย่างลึกซึ้ง (Looking Deeply) การเกิดความคิดที่ถูกต้อง (Right Thinking) และการคิดดูแลและเยียวยาตนเอง (์ีNursing & Healing) โดยพลังงานแห่งจิตที่ตื่นรู้ฯ ยอมรับ (Recognize) พลังงานแห่งความทุกข์ แล้วผ่อนคลายความตึงเครียดและเกิดการเปลี่ยนรูปแบบ (Transformation) จากความทุกข์ที่ลดลงด้วยวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 

3. พลังอำนาจของการมอบความรัก (Power to Love) ผ่านความคิดความเข้าใจว่าเรากับเขาต่างมีพลังงานแห่งความทุกข์ เปรียบเสมือนกระดาษมีสองด้าน ซึ่งแต่ละด้านส่งผลกระทบซึ่งกันและกันได้ นั่นคือ เมื่อเราทุกข์ คนรอบตัวเราก็ทุกข์ ดังนั้นเราต้องสร้างแรงจูงใจให้จิตของเราจัดการอารมณ์กับความรู้สึกต่างๆ เช่น การแยกแยะเหตุแห่งทุกข์แล้วค่อยๆ คิดเหตุแห่งทุกข์ที่สัมพันธ์กันและอาจแก้ไขในทิศทางเดียวกัน และ/หรือต่างกัน เป็นต้น เมื่อใดก็ตามที่เราไม่รู้ว่าจะจัดการความทุกข์อย่างไร เมื่อนั้นเราก็ตกเป็นเหยื่อแห่งความทุกข์ (เกิดการรับรู้ที่ผิดพลาด-มายาคติ) นอกจากนี้เราต้องรู้จักให้ความเมตตากรุณา (ความรัก) ในเพื่อนร่วมจักรวาล เพื่อนร่วมธรรมชาติ และเพื่อนร่วมชาติที่ช่วยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นกลุ่มพัฒนาประเทศอย่างสร้างสรรค์และสันติสุข (Constructive Opposition) 

ท่านพระอาจารย์ฯ ยังเน้นว่า ความสุขสงบที่แท้จริงไม่ได้มาจากผลประโยชน์ทางการเมือง ความมั่งคั่ง ความมีชื่อเสียง และความสุขทางเพศวิถี หากแต่ความสุขสงบที่แท้จริงนั้นต้อง "ฝึกปฏิบัติให้ตื่นรู้/มีสติ แล้วใช้พลังอำนาจใน 3 รูปแบบข้างต้น" ซึ่งรูปธรรมที่เด่นชัดคือ ความเจริญและความเสื่อมของดอกบัวที่มีหลายระดับทางปัญญาในทางพระพุทธศาสนา ตลอดจนเชิญชวนให้เพื่อนมนุษย์เจริญสติและฝึกปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • เรียนรู้การสร้างสรรค์ความสุขสงบในทุกกิจกรรมการดำเนินชีวิต เช่น การใช้คำพูดที่ไพเราะ (Lovely Speech)
  • ฝึกฝนจิตให้ตื่นรู้/มีสติในร่างกายของเราให้เป็นปัจจุบันขณะ หยุดคิดในเรื่องราวที่เป็นอดีตและอนาคต
  • ขณะกำหนดลมหายใจเข้าก็ให้สัมผัสที่ดวงตาทั้งสองข้างของเราว่าเป็นปัจจุบันขณะ และกำหนดลมหายใจออกก็ให้สร้างรอยยิ้มยังดวงตาทั้งสองข้างของเรา พร้อมสะท้อนความคิดของตนเองว่า โลกและธรรมชาติในโลกและจักรวาลนี้มีความสุข เราควรใช้ดวงตาทั้งสองข้างของเราสัมผัสความสุขตามธรรมชาตินั้น
  • เราค้นพบความสุขได้รอบๆตัวเรา ลองเขียน/บันทึกความสุขที่เกิดขึ้นอย่างหลากหลาย จิตที่ตื่นรู้คือความเบืกบากแห่งความสุข (Joy of Happiness)
  • ควรฝึกฝนการเจริญสติใน 4-7 วัน แล้วลองทบทวนว่า "เราเข้าใจวิธีการจัดการความทุกข์ที่สมดุลกับวิธีการสร้างความสุขหรือไม่" ท่านพระอาจารย์ให้ตัวอย่างว่า เมื่อเรารู้ว่าเสียใจจากการทำงานไม่สำเร็จ ก็ให้เราคิดใหม่ว่าการทำงานที่สำเร็จเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง เมื่อมีความคิดบวกลบหรือเข้าใจสุขทุกข์ ก็ถือว่ามีความคิดอันสมดุล และพอเพียงให้กระทำตามความคิดที่ไตร่ตรองจนงานนั้นสำเร็จได้จริง [ขอบคุณมากครับที่คุณหมอ ป. ช่วยถามถึงตัวอย่าง] 
  • ผู้นำทางสังคมทั้งหลายควรเรียนรู้ "ทุกข์กับสุข" และช่วยเหลือกัลยาณมิตรที่ด้อยโอกาสและกำลังมีทุกข์ในสังคมอย่างแท้จริง


  

ขอบคุณมากครับสำหรับภาพถ่ายจากคุณนุ้ย คศน. 

หมายเลขบันทึก: 531681เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2013 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2013 12:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

ขอบคุณมากครับอ.จันและทีมงาน Go to Know ที่ปรับปรุงได้รวดเร็ว

ขอบคุณคะ อาจารย์

ควรฝึกฝนการเจริญสติใน 4-7 วัน แล้วลองทบทวนว่า "เราเข้าใจวิธีการจัดการความทุกข์ที่สมดุลกับวิธีการสร้างความสุขหรือไม่" -> พอจะยกตัวอย่าง สมดุล ในที่นี้ได้ไหมคะ

ยินดีครับคุณหมอ ป. เป็นคำถามที่ดีมากครับ

ท่านพระอาจารย์ให้ตัวอย่างว่า เมื่อเรารู้ว่าเสียใจจากการทำงานไม่สำเร็จ ก็ให้เราคิดใหม่ว่าการทำงานที่สำเร็จเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง เมื่อมีความคิดบวกลบหรือเข้าใจสุขทุกข์ ก็ถือว่ามีความคิดอันสมดุล และพอเพียงให้กระทำตามความคิดที่ไตร่ตรองจนงานนั้นสำเร็จได้จริง 

เกือบจะได้ไปเข้าฟังแล้วหล่ะค่ะ แต่เผอิญว่าช่วงนี้กำลังเร่งปิดงานวิจัย เลยไม่ได้ไปค่ะ คิดแล้วก็เสียดายจังค่ะ แต่รออ่านจากอาจารย์ป๊อบ และหลายๆ ท่านเล่าถึงคำแนะนำจากท่านติช นัท ฮันท์ ก็ได้เหมือนกัน ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมา่กครับพี่ณัฐพัชร์ ขอให้ปิดงานวิจัยด้วยความสุขนะครับ

ขอบคุณครับอาจารย์...


สวัสดีค่ะ Dr. Pop

อ่านบันทึกของอาจารย์ ช้าๆ ซึมซับความละเมียดละไม ใคร่ครวญไปด้วย  มีประโยชน์ในการกล่อมเกลาจิตวิญญานมากค่ะ  ...เขียนได้บูรณาการ .ชวนติดตาม...เหมาะกับชื่อบันทึก "จิตวิญญาน ความสุขและ ภาวะผู้นำ"..ทั้งท่านอาจารย์ติชฯ และ Dr. Pop ที่นำมาถ่ายทอด...  คงทบทวนอ่านอีกหลายครั้ง ๆๆ พร้อมฝึกตน ไปด้วย..ขอบคุณมากค่ะ :-))

ขอบคุณที่ให้โอกาสเรียนรู้..

ขอบคุณมากครับอ.นุสำหรับ "การร้องเพลงและการแสดงประกอบเพลงขอบคุณใจเธอ" 

ขอบคุณสำหรับคำชื่นชมและยินดีที่คุณสุชาติ์มณีได้ใคร่ครวญรู้ครับผม

ค่อย ๆ อ่านอย่างมีความสุข  ตามลมหายใจไปด้วย

สมดุลสุข - ทุกข์  เป็นเรื่องที่ต้องฝึกเองจริง ๆ ค่ะ

อาจารย์เขียนได้น่าอ่านมาก ๆ ค่ะ  ขอบคุณมากนะคะ

ขอบคุณมากครับสำหรับคำชื่นชมจากคุณหมอธิรัมภา

...... ขอบคุณ .... บทความดีดีให้ .... "พระอารจาย์มี คำสอนที่ดีดี .... เสมือนน้ำทิทย์ชโลมใจ" ... มนุษย์ถ้าขาดคำสอน ..... คงลำบาก เพราะไม่มี "ที่เกาะยึดเหนี่ยวของ "จิตใจ" นะคะ ขอบคุณบทความคุณภาพนี้นะคะ

ยินดีและขอบคุณมากครับพี่ดร.เปิ้ล

ดีจังเลยค่ะที่นำมาเผยแพร่เช่นนี้...

ขอบคุณค่ะ 

พี่ชอบสัมผัสลมหายใจของตัวเอง 

มันช่วยให้สงบ และลดภาวะความทุกข์

 นำพาให้สุข สงบ สบาย ค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความกระจ่างคะ   :)

ยินดีอย่างยิ่งและขอบคุณมากครับพี่นงนาท คุณครูต้อย คุณหมอ ป. พี่โอ๋ พี่อ.ขจิต คุณครูอ้อย คุณทิมดาบ และท่านวอญา 

ขอบคุณมากครับคุณ NewLeader และคุณ tuknarak

เกิดมาทั้งทีก็ต้องใช้ชีวิตให้คุ้มค่า ไม่ว่าจะอยู่ประเทศไหน ทำงานอะไร ยืนอยู่ในจุดไหนของสังคม ทุกอย่างจะดีหรือไม่ดี ก็ขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิตของเรา ถ้าเราใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มองให้เห็นถึงสิ่งดีๆรอบๆตัว ทำทุกๆวันทุกๆเวลาให้มีประโยชน์และมีคุณค่า ยอมรับความเป็นจริงในปัจจุบัน เมื่อประสบปัญหาก็พร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาโดนการตั้งสติ มีสติอยู่ตลอดเวลา แบ่งเวลาให้ถูกต้องเหมาะสม ดูแลและใช้ชีวิตกับคนที่คุณรักให้คุ้มค่า แค่นี้เราก็สามารถเป็น "ผู้นำตัวเอง" ได้ล่ะ ^^ ขอบคุณมากๆ นะค่ะ อ.ป๊อป

เราควรสุขแต่พอดี และสุขนั้นสามารถหาได้จากหลายทาง การอยู่กับปัจจุบันและคิด ไตร่ตรองมันอยู่เสมอนั้นจะทำให้เราเข้าใจตนเองมากขึ้น สามารถรับรู้ตนเอง รู้ว่าตนเองต้องการอะไร และทำให้ตนเองนั้นมีสติกับการดำเนินชีวิตได้ ขอบคุณอ.ป๊อป สำหรับบันทึกดีๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท