แกะองค์ความรู้ "วิจัยชุมชน"


เราจะพัฒนาตนเองอย่างไร? เมื่อในพื้นที่เขาใช้ PAR ในการทำงานส่งเสริมการเกษตรกันแล้ว

     การสรุปผลงานปี 2549 ที่ได้ทำร่วมกับพื้นที่ก็ได้เริ่มเก็บงานเป็นจุด ๆ บ้างแล้วและงานบางชิ้นก็ได้มีการติดตามและประเมินผลเป็นระยะ ๆ รอเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม  โดยเฉพาะการทำวิจัยชุมชนที่ได้ร่วมกันทดลองทำทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และชุมชน 

     เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2549 ได้ทดลองจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อประมวลข้อมูลที่ อาจารย์พงษ์ศักดิ์ จันทร์มงคล (ตำบลยางสูง อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร) ซึ่งเป็นวิทยากรเกษตรกรชาวสวนส้มทำ PAR เรื่อง การผลิตส้มนอกฤดู ที่ทำระหว่างวันที่ 19 สิงหาคม 2548 ถึง วันที่ 15 สิงหาคม 2549 นั้นผลเป็นประการใด

     ฉะนั้น ดิฉันจึงได้เริ่มการใช้เทคนิค "สรุปผลการวิจัยชุมชน" โดยชาวบ้านเล่าให้ฟัง ซึ่งดิฉันได้ตั้งกระทู้เพื่อไล่และเรียบเรียงข้อมูล คือ

     คำถามที่ 1 ที่อาจารย์ทำส้มนอกฤดูกาลผลิตนี้...มันมีที่มาที่ไปอย่างไร?

          * ผลจากคำตอบที่เกิดขึ้น คือ ความเป็นมาของปัญหา

     คำถามที่ 2 แล้วการทำส้มนอกฤดูนี้...อาจารย์มีข้อสงสัยอะไรบ้าง? ที่ต้องการหาคำตอบ

          * ผลจากคำตอบที่เกิดขึ้น คือ วัตถุประสงค์ของการวิจัย หรือ คาบเกี่ยวกับสมมติฐานในการวิจัย

     คำถามที่ 3 ในการผลิตหรือทำส้มนอกฤดู...อาจารย์ได้เริ่มจากทำอะไรก่อน จนถึงเสร็จสิ้น 

          * ผลจากคำตอบ คือ กระบวนการผลิต หรือ กระบวนการค้นหาคำตอบ

     คำถามที่ 4 แล้วในแต่ละขั้นตอนใช้เวลากี่วัน  และต้องทำอะไรบ้าง? และพบเห็นหรือเกิดอะไรขึ้นบ้าง?

          * ผลจากคำตอบ คือ การปฏิบัติที่กระทำ  สิ่งที่เกิดขึ้น  และปัญหาต่าง ๆ ที่สรุปพบ

     คำถามที่ 5  เมื่อทำส้มนอกฤดูกาลผลิตจบแล้ว...อาจารย์สรุปผลอะไรได้บ้าง?

          * ผลจากคำตอบ คือ สรุปผลการวิจัย

     คำถามที่ 6 แล้วอาจารย์มีข้อคิดอะไรบ้าง? ที่จะส่งไปถึงคนทำส้มรายอื่น ๆ ต่อไป

          * ผลจากคำตอบ คือ ข้อเสนอแนะในการวิจัย และประเด็นที่สงสัยและควรจะค้นหาคำตอบต่อไป

     สิ่งเหล่านี้ ดิฉันได้สนทนาไปและบันทึกกันไป โดยอาจารย์พงษ์ศักดิ์ จันทร์มงคล เป็นผู้ตรวจสอบข้อมูลให้เป็นระยะ ๆจากข้อมูลที่กำลังสรุปผลการวิจัยชุมชนกัน พร้อมทั้งอาจารย์พงษ์ศักดิ์ ก็ได้เปิดสมุดบันทึกข้อมูลของท่านเองเป็นระยะ ๆ เพื่อให้เห็นของว่า "ตนเองได้บันทึกและเก็บข้อมูลมาจริง ๆ" และบันทึกไว้อย่างละเอียดด้วย

     ซึ่งเมื่อเราสรุปผลการวิจัยเป็นสื่อเอกสารเสร็จแล้วนั้น  คุณวีรยุทธ์ สมป่าสัก จากจังหวัดกำแพงเพชร ก็ได้ทำหน้าที่สัมภาษณ์อาจารย์พงษ์ศักดิ์เพื่อถ่ายทำ VDO เพราะเป็นการสรุปผลการวิจัยชุมชน (PAR) โดยใช้ปากเปล่านั่นเองค่ะ

     ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่นักส่งเสริมการเกษตรได้ก้าวสู่การทำงานส่งเสริมกับชุมชนโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ที่กำลังเกิดขึ้นในพื้นที่ ส่วนบทบาทของดิฉันก็คือ ฝึกคนโดยใช้ PAR.

หมายเลขบันทึก: 53114เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2006 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ภาพประกอบครับ

  • คุณศิริวรรณ จัดเก็บข้อมูลการผลิตส้มนอกฤดูจากคุณพงษ์ศักดิ์

         

  • หลังจากนั้นผมก็ทำการสัมภาษณ์คุณพงษ์ศักดิ์เพื่อสรุปผลการวิจัยการผลิตส้มนอกฤดูโดยถ่ายทำวีดีโอไว้

         

  • ขณะเดียวกันน้องเหมียวก็เก็บข้อมูลกับน้าปัด ซึ่งเป็นนักวิจัยชาวบ้านอีกท่านหนึ่ง เพื่อสรุปผลการทำส้มนอกฤดูเช่นกัน

         

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท