สื่อกับสมองเกี่ยวข้องกันอย่างไร<2>


       ข้อสังเกตที่ชี้ให้เห็นตามการมองแบบ mind’eye หรือ การฟังแบบ listening ต่อเสียง ซึ่งลึกลงไปถึงการรับรู้เข้าไปในจิตใจ (mind) ที่ว่ารู้สึกอย่างไรเมื่อเจ็บ รับรู้อย่างไรเมื่อได้ลิ้มรส และได้กลิ่น และมากกว่านั้น ภาษาของเราที่ตอบสนองเฉพาะเจาะจงลงไป โครงสร้างพื้นฐานของความจำ กระบวนการของจินตนาการ ต่างๆ เหล่านี้ช่วยทำให้เราเข้าใจในแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของระบบความจำ ซึ่งจะนำไปสู่หรือเชื่อมโยงเกี่ยวกับเรื่อง Information Processing

ภาพสมอง link มาจาก                    http://www.songweaver.com/brain/index.html

Cognitive Overview
       การประมวลสารสนเทศหรือ Information Processing เป็นเรื่องที่ไปเกี่ยวข้องกับ กระบวนการ cognition ของมนุษย์ และไปสัมพันธ์กับลักษณะการทำงานที่คล้ายคลึงกันกับคอมพิวเตอร์ ซึ่ง information processing  นี้มักจะเจาะลงไปที่ว่าระบบความจำของมนุษย์นั้นเป็นอย่างไร transform , compacts , เชื่อมโยง(elaborates) เข้ารหัส(encodes) ดึงกลับออกมาใช้ (retrieve) และใช้สารสนเทศนั้นอย่างไรบ้าง ระบบความจำของมนุษย์นั้นจะสรุปไปที่สามประเด็นหลักของโครงสร้างคือ การรับรู้(sensory register) ความจำระยะสั้น(Short term Memory; STM) และความจำระยะยาว(Long Term Memory; LTM) แต่ละโครงสร้างจะเกิดกระบวนการที่คล้ายๆ กัน

       กระบวนการแรก (sensory register) เมื่อระบบความจำถูกกระตุ้นด้วยตัวกระตุ้นให้ถูกจดจำผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ ก็จะคงอยู่ระยะหนึ่งเพื่อรอการเชื่อมโยงหรือไปประมวลผลกับตัวความรู้เดิม จากนั้นก็จะถูกส่งต่อไปอย่างเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนขึ้น จนเริ่มให้ความหมายต่อสิ่งเร้านั้นได้ แต่ในส่วนของ STM หรือ short term memory นี้จะมีระยะการคงอยู่ของข้อมูลนานกว่ากระบวนการแรก หรือเป็นกระบวนการที่เราเรียกว่า rehearsal หรือสามารถนำมาเล่าเรื่องได้อีก ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานของสมองที่เป็นระบบมากขึ้น

       แต่อย่างไรก็ตามในระยะ STM นี้ก็ยังมีข้อจำกัดในการจัดการกับข้อมูลบางครั้งข้อมูลที่รับรู้ มานั้นอาจสูญหาย หรือตกหล่นไปได้เมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นกระบวนการดังกล่าวก็เข้ามาสู่ระยะที่สาม คือ LTM หรือ long term memory กระบวนการในระยะนี้จะมีความซับซ้อนและมีความสเถียรของข้อมูลมากกว่า STM การรับรู้ที่เป็นมากจากกระบวนการตีความที่มาจากจิตใต้สำนึกนั้นก็สำคัญพอๆ กับคุณลักษณะของ STM ที่ไปจัดการกับข้อมูลที่มองเห็น ภายใต้ความเข้าใจที่ว่าความสามารถในการตีความนักวิจัยจะต้องเจาะจงไปที่กระบวกการของความจำโดยเริ่มตั้งแต่ระยะแรกเลย ภายใต้โมเดลของการประมวนสารสนเทศ (Information process model) ความใส่ใน รูปแบบการจำและปัจจัยต่างๆ เกี่ยวกับการจำ เช่น ในการเรื่องการใส่ใจหรือ attention นี้ก็ดูรูปแบบว่าจะเป็นเรื่องสำคัญมากต่อการเลือกสารสนเทศเข้าสู่ประสาทสัมผัส

       รูปแบบการประมวลสารสนเทศที่ดูเหมือนจะเป็นการกรองที่สำคัญสำหรับสาร/ข้อมูล ที่ได้ยินผ่านเสียง รับรู้ผ่านการมองเห็นและบางครั้งก็มีข้อจำกัดตามการรับรู้ของบุคคล ในส่วน LTM นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ยิ่งใหญ่มากของการใส่รหัสหรือ encoding ประมวล(store) และการดึงออกมาใช้ (retrieve) ซึ่งเป็นกระบวนการและเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล

สื่อเกี่ยวข้องกับสมองอย่างไร <1>

สื่อเกี่ยวข้องกับสมองอย่างไร <3>

 

หมายเลขบันทึก: 53109เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2006 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท