ว่าด้วยเรื่องสถิติ1 : ยาขมที่ต้องกิน


การคำนวณปล่อยให้พวกนักคณิตศาสตร์เขาเล่นกัน นักวิทยาศาสตร์อย่างเราว่ากันด้วยการเอาไปใช้ก็พอ

     ถ้าหากเราไม่สบาย แล้วรู้ว่าจะต้องกินยาขม เพื่อรักษาแล้วจะทำอย่างไร ?  

     ไม่กินก็ไม่ได้ เพราะถ้าไม่กิน โรคก็ไม่หาย

      จะกินก็กระเดือกเข้าไป ไม่ลง คนมันไม่ชอบรสขมเสียด้วย

     แต่เชื่อเถอะครับ ขมยังไงก็ต้องกิน

      ผมกำลังจะพูดเรื่องของยาขมของกระบวนการวิจัย นั่นคือการคำนวณทางสถิติ ที่หลายคนบอกว่ามันเป็นยิ่งกว่ายาขม สาเหตุของคนที่คิดอย่างนี้ก็เพราะว่ายังยึดติดกับตอนเรียนสถิติช่วงตอนมัธยม ที่ไม่รู้อะไรมันเยอะเหลือเกิน คำนวณไม่ถูก กะอีแค่ตาราง มันจะแบ่งชั้นอะไรกันมากมาย แค่ค่าเฉลี่ยนี่จะมาเพียงตัวเดียวก็ไม่ได้ เฉลี่ยมันออกมาก็น่าจะจบ นี่ดันไปชวนเพื่อนมาอีกตั้งหลายตัว ทั้งเฉลี่ยมัธยฐาน เฉลี่ยเรขาคณิต โอ้ย จะบ้าตาย

     ผมกำลังจะมาพูดถึงสถิติแนวใหม่ มันจะง่ายกว่ามั้ย ถ้าเราพูดว่า SD แล้วค่า SD มันก็โผล่มา หรือเราพูดว่า ความถี่ แล้วค่าความถี่มันก็โผล่มา ไม่ว่าคุณจะพูดว่าอะไร ค่าเจ้านั้นก็โผล่มาเสมอ ลืมเรื่องการคำนวณไปได้เลย หลายคนคงร้องชัยโย เสียงดังๆ  มันทำได้จริงเหรอ จริงครับมันทำได้แน่นอนครับ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การคำนวณ ปัญหาของสถิติไม่เคยอยู่ที่การคำนวณ การคำนวณปล่อยให้พวกนักคณิตศาสตร์เขาเล่นกัน นักวิทยาศาสตร์อย่างเราว่ากันด้วยการเอาไปใช้ก็พอ

      แต่เอ เมื่อก่อนมัวแต่ไม่อยากยุ่งกับมัน ก็เลยลืมดูว่ามันเอาไปใช้อย่างไร นั่นแหละครับปัญหาใหญ่ของสถิติในปัจจุบัน ที่นี้คุณก็ต้องเริ่้มต้นกินยาขมนิดๆ ที่ไม่ขมมาก ก็แค่เพียงเรียนรู้สักนิด ว่า ไอ้ค่าแต่ละค่านี่มันเอาไปใช้อย่างไร อย่างเช่น

  • ถ้าเปรียบเทียบอะไรที่มันอยู่ในตาราง แล้วเป็นตัวอักษร มีไว้เพียงแค่นับ  ส่วนใหญ่เขาก็มักจะเปรียบเทียบด้วยค่า ไคว์สแคว์ (อย่าลืมนะครับว่าไม่ต้องคำนวณ เพราะเพียงเรานึก เจ้าไคว์สแคว์มันก็จะโผล่ออกมา)
  • ถ้าเปรียบเทียบอะไรที่มันเป็นตัวเลขต่อเนื่องกัน เขาก็มักจะใช้ student t-test\
  • ถ้าเปรียบเทียบอะไรที่ีมันมากกว่า 2 กลุ่มเขาก็จะใช้ F-test หรือ Anova
  • อื่นๆ อีกไม่มากหรอก

     ในงานปกติที่เราใช้กันโดยทั่วไปสำหรับการทำวิจัยนั้น มันมีอยู่ไม่มากหรอกครับ ไม่กี่ตัว ถ้าพิมพ์กันตัวเล็กๆ ก็ไม่น่าจะเกินกระดาษ A4 หนึ่งแผ่น แล้วไม่ต้องจำด้วย เอาเพียงอ่านผ่านๆตาให้คุ้นเคย แล้วก็รู้ว่าเจ้าค่าไหนเอาไว้ทำอะไรก็พอ

     แล้วทีนี้ตอบให้ได้เท่านั้นครับ ว่างานวิจัยของเราต้องใช้สถิติตัวไหนก็พอ อ้าว ! แค่นั้นเองเหรอ ทำไมมันง่ายอย่างนั้น ง่ายสิครับ ก็เพียงแค่คุณตอบได้ว่าใช้สถิติตัวไหน คุณก็ค่อยไปหาคนที่ใช้โปรแกรมสถิติเป็น บอกให้เขาช่วยทำ ก็แค่นั้นเอง 

??? 

หมายเลขบันทึก: 53048เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2006 07:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
 ใช่แล้วครับพี่ Mitochondria แรกๆผมก็เจอปัญหาการนำไปใช้ของสถิติแต่ละตัว ว่าเราต้องใช้ตัวไหนในการทดสอบสมมุติฐานของเรา  ผมโชคดีที่น้องชายมีความรู้ทางสถิติเป็นอย่างดีและตัวเขามีความชำนาญในการทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์มากพอสมควร ทำให้ผมไม่ค่อยมีปัญหากับเจ้าสถิติมากนักครับ

555....ขอหัวเราะตอนเช้าๆ นะคะคุณ Mitochondria กะปุ๋มชอบจังเรื่องยาขมของคุณ...อ่านไปยิ้มไป...และมาหัวเราะตอนที่จะให้ความเห็นนี่แหละคะ...ขมคะขม...และขำ...ไอ้ที่ขมก็ตอนที่เลือกสถิติมาใช้นี่แหละคะ...???...นักวิจัยที่มักมาถามนะคะ...คำถามหนึ่งที่รองมาจากว่าจะทำวิจัยเรื่องอะไร ก็คือแล้วจะเลือกใช้สถิติอะไรดี...

ขอบคุณคะ

*^__^*

กะปุ๋ม

  • ขอบคุณมากครับ นายดำ ที่่เข้ามาช่วยร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ นายดำยังโชคดีกว่าผมมากที่มีที่ปรึกษาที่ดีอยู่ใกล้ๆ  ของผมแทบตาย กว่าจะซดเข้าไปทั้งหม้อได้
  • คุณกะปุ๋มครับ งั้นต้องติดตามตอนต่อไป แล้วผมจะเฉลยว่า เขากินยาขมกันยังไง ไม่ให้ขม
สถิติเหมือนยาขม
ถ้าสบายดี  เราก็คงไม่ต้องกินมัน
(เหมือน ผัก  เลยเนาะ    ก็รู้ว่ามีประโยชน์   ยั๊งไม่ยอมกิน   เหอะ..เหอะ)
.
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท