วิถีทางความเจ็บป่วย


รายงานกรอบแนวคิดวิถีทางความเจ็บป่วย (Trajectory Framework)

จากกรอบแนวคิดความเจ็บป่วยเรื้อรังในปี ค.ศ.1960, ค.ศ.1970 ของ Strauss และเพื่อนร่วมงานได้มีการพัฒนาแนวคิดวิถีทางความเจ็บป่วยเพิ่มเติมในปี ค.ศ.1980 โดย Corbin และ Strauss

-          วิถีทางความเจ็บป่วย ถูกอธิบายว่าเป็น ช่วงเวลาของการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นตามช่วงเวลารวมทั้งการปฏิบัติตนของผู้ป่วย ครอบครัวและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่จะบริหารช่วงเวลาที่เกิดการเจ็บป่วย
-          วิถีทางความเจ็บป่วย ไม่เพียงแต่เป็นพยาธิสภาพ, การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและสรีระ แต่ว่ามีกลยุทธ์ที่สามารถกำหนดรูปแบบวิถีทางความเจ็บป่วยของภาวะใกล้ตายโดยผู้ป่วย ครอบครัวและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
-          วิถีทางความเจ็บป่วยจะมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคลถึงแม้ว่าจะเกิดโรคเหมือนกัน, นำไปอธิบายลักษณะเฉพาะของโรคแต่ละบุคคล
-          ข้อสรุปของวิถีทางความเจ็บป่วยจะถูกเปลี่ยนหรือว่าโรคถูกรักษา วิถีทางความเจ็บป่วยอาจจะถูกกำหนดรูปแบบหรือถูกเปลี่ยนแปลงโดยการกระทำของผู้ป่วย ครอบครัว

-          วิถีทางของโรคจะคงที่, ความรุนแรงของโรคลดลงและอาการแสดงถูกควบคุมดีขึ้นภายในรูปแบบนี้

วัตถุประสงค์ของแนวคิดวิถีทางความเจ็บป่วย (Objective of Trajectory Theory) เพื่อให้พยาบาล

1.       มีความสามารถและเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์การเจ็บป่วยเรื้อรังของผู้ป่วย

2.       รวบรวมและจัดระเบียบของบทความสุขภาพการเจ็บป่วยเรื้อรังที่มีอยู่

3.       จัดหาทิศทางการสร้างรูปแบบการพยาบาล เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติ, การสอน, การวิจัยและการสร้างนโยบาย

แนวคิดหลักของแนวคิดวิถีทางความเจ็บป่วย (Central Ideas)

-          ภาวะเรื้อรังมีวิถีทางหลากหลายและมีการเปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลา

-          วิถีทางมีผลต่อการนำไปสู่การอธิบายการเจ็บป่วยหรือสภาวะ

-          การเจ็บป่วยมีผลต่อการทำงาน, องค์กรการทำงานและมีผลกระทบอีกหลากหลายต่อการทำงาน

-          วิถีทางสามารถจัดรูปแบบและการจัดการได้

-          วิถีทางความเจ็บป่วยจะดำเนินไปเรื่อยๆ, คงที่และการบริหารจัดการ ควบคุมภาวะฉุกเฉินได้อย่างเหมาะสม

-          การเจ็บป่วยก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพทางกาย, การเผชิญปัญหา, การดำเนินวิถีชีวิต

-          รูปแบบ/แบบแผนวิถีทางอาจจะเริ่มที่ Crisis, acute, stable, comeback, unstable, downward และอื่นๆ

ที่มาของทฤษฎี
-          พัฒนามาจากสังคมวิทยา จะมองที่พฤติกรรม หลักการเรียนในระยะสุดท้ายของการเจ็บป่วยและมะเร็ง, ไตวาย
-          เน้นให้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากขึ้นในบริบทสังคม ด้านสังคมและจิตวิทยา
-          ปัจจัยด้านบุคคลและสภาพแวดล้อมมีความสำคัญต่อการอธิบายทฤษฎี
-          ทฤษฎีการเจ็บป่วยเรื้อรังทั่วไปนำไปสู่รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาล ข้อตกลงเบื้องต้น (Assumptions)

1.       บุคคล ผู้ซึ่งมีการเจ็บป่วยหรือสภาวะเรื้อรังร่วมกับมีปัญหาทางด้านสังคมและจิตวิทยา

2.       ดยธรรมชาติ การเจ็บป่วยเรื้อรังจะเกิดขึ้นไปเรื่อยๆตามเวลา ข้อสำคัญกว่าการมีปัญหาที่เกิดขึ้นตามเวลา คือ การไม่สามารถทำนายจุดจบหรือแบบแผนได้

3.       บุคคลบางคนมีความเข้าใจ, รับรู้และพยายามจัดการกับภาวะหรือการเจ็บป่วยเรื้อรัง

4.       การเจ็บป่วยเรื้อรังเป็นไปด้วยความไม่แน่นอน

5.       การเจ็บป่วยเรื้อรัง รุกล้ำเข้าไปในชีวิตผู้ป่วยและครอบครัว เพราะเกิดความต้องการและการเปลี่ยนแปลง

6.       การเจ็บป่วยเรื้อรังต้องการแหล่งประโยชน์และแหล่งสนับสนุน แต่ไม่ต้องการอยู่ภายใต้สภาพอื่นๆ

 เนื้อหาของแนวคิดวิถีทางความเจ็บป่วย (Major concepts)

-          ความหมาย วิถีทางความเจ็บป่วย เป็นการรวบรวมแนวคิดที่สำคัญทั้งหมดในกระบวนการคิดของกรอบแนวคิดอื่นๆ

-          ระยะต่างๆของแนวคิดวิถีทางความเจ็บป่วย

-          การทำนายล่วงหน้าเกี่ยวกับวิถีทางความเจ็บป่วย

-          รูปแบบของแนวคิดวิถีทางความเจ็บป่วย

-          สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการจัดการวิถีทางความเจ็บป่วย

-          การจัดการกับวิถีทางความเจ็บป่วย

-          ผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและบุคคลรอบข้าง

 ความหมายของวิถีทางความเจ็บป่วย

                วิถีทางความเจ็บป่วยเรื้อรัง เป็นการรวบรวมการจัดการกับผลกระทบของบุคคล ครอบครัวและรูปการจัดการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

 องค์ประกอบของวิถีทางความเจ็บป่วย (Property of trajectory)

-          เวลา

-          รูปแบบ การจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นตามเวลา

-          ดำเนินการ โดย กิจกรรม, พฤติกรรม, ความต้องการและความพยายาม, การจัดการและการรักษา

ระยะต่างๆของวิถีทางความเจ็บป่วย (Trajectory phase)

                ระยะต่างๆมีการเปลี่ยนแปลงสถานะแตกต่างกัน วิถีทางสภาวะเรื้อรังเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา

วิถีทางความเจ็บป่วยมี 9 ระยะ และถึงแม้ว่าวิถีทางความเจ็บป่วยสามารถอธิบายเป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่อง แต่ว่าวิถีทางความเจ็บป่วยไม่ได้ดำเนินเป็นเส้นตรง สามารถย้อนกลับไประยะแรกได้ หรือว่าบางช่วงมีการยืดขยายของเวลามากกว่าส่วนอื่นๆ

ระยะเริ่มแรกของรูปแบบวิถีทางความเจ็บป่วย คือ Pretrajectory phase หรือ ระยะการป้องกัน ในระยะนี้วิถีทางความเจ็บป่วยยังไม่เกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตามมีปัจจัยทางพันธุกรรม หรือพฤติกรรมวิถีทางการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดความเสี่ยงของคนต่อภาวะเรื้อรังของโรค ตัวอย่าง เช่น คนอ้วน, ประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจของครอบครัว, ไขมันในเลือดสูงและการไม่ออกกำลังกาย

ระยะTrajectory phase เกิดอาการและอาการแสดงของโรคปรากฏและการวินิจฉัยโรคเกิดขึ้น บุคคลเริ่มจัดการกับปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น

ระยะ Stable phase อาการแสดงความเจ็บป่วยอยู่ภายใต้กาควบคุมและจัดการ โดยการจัดการ/ดูแลระดับปฐมภูมิเกี่ยวกับโรคจะเริ่มเกิดขึ้นที่บ้าน

ระยะ Unstable phase คือ ระยะขาดความสามารถในการรักษา/ควบคุมอาการที่เกิดขึ้น

ระยะ Acute phase คือ เกิดความรุนแรงและอาการแสดงที่ไม่สามารถบรรเทา หรือเกิดอาการแทรกซ้อนของโรค

ระยะ Crisis phase คือ เกิดภาวะฉุกเฉินหรืออยู่ในสถานะชีวิตถูกคุกคามและต้องการการรักษาที่เร่งด่วน

ระยะ Comeback คือ เป็นการแสดงการย้อนกลับของความเจ็บป่วยเรื้อรังกลับมาอย่างทีละนิดและยอมรับว่าเกิดการเจ็บป่วยและอาการแสดง

ระยะ Downward phase คือ เป็นลักษณะที่มีภาวะเพิ่มขึ้นของการทดถอย, ความพิการเพิ่มขึ้นและอาการแสดงเพิ่มขึ้นวิถีทางความเจ็บป่วยจะจบลงใน

ระยะ Dying phase ซึ่งมีการเพิ่มขึ้นทีละนิดหรือร่างกายหยุดการทำงานอย่างรวดเร็ว การทำนายล่วงหน้าเกี่ยวกับวิถีทางความเจ็บป่วย (Trajectory projection)  

               เป็นการอธิบายถึงภาพของวิถีทางความเจ็บป่วยในอนาคต การให้ความหมาย อาการแสดง ประวัติ เวลา เช่น การเสียชีวิตด้วยมะเร็ง ผู้ป่วยและผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนในการวางแผนวิถีทางความเจ็บป่วย รูปแบบของวิถีทางความเจ็บป่วย (Trajectory scheme)

                เริ่มที่วางแผนรูปแบบความเจ็บป่วย ควบคุมและจัดการกับความพิการ

 สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการจัดการวิถีทางความเจ็บป่วย (Conditions influencing management)

-          ความแตกต่างของชนิดและขั้นตอน

-          ความยากง่ายของการจัดการกับอุปสรรคและอาการแทรกซ้อน

-          ชนิด จำนวนและระยะเวลาของเครื่องมือ

ตัวอย่างเช่น ผลข้างเคียง, ผลิตผล, แหล่งประโยชน์, ประสบการณ์ที่ผ่านมา, แรงจูงใจ, หน่วยบริการและการดำเนินชีวิต

 การจัดการกับวิถีทางความเจ็บป่วย (Trajectory management)

                กระบวนการปรับวิถีทางความเจ็บป่วย เพื่อให้กระทบกับการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและบุคคลรอบข้างที่เกี่ยวข้องน้อยที่สุด

 ผลกระทบของการเจ็บป่วยเรื้อรังต่อบุคคลและการดำเนินชีวิต  (Impact Of chronic illness)

-          บุคคล ด้านวิถีการดำเนินชีวิต ความสามารถและบุคลิกภาพ

-          ผลกระทบ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงการเจ็บป่วย การจัดการ วิถีทางการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของบุคคล

-          ความสำเร็จ : คุณภาพชีวิต

-          ผลกระทบต่อบทบาท

 การประยุกต์ใช้ทฤษฎีวิถีทางความเจ็บป่วย (Application of the trajectory theory)

                จุดเน้นทางการพยาบาล

1.       คน (Person) ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมในการป้องกันการเจ็บป่วยและการจัดการการเจ็บป่วย ถือว่าเป็นหน้าที่ระดับปฐมภูมิ

2.       สุขภาพ (Health) จุดสำคัญของการดูแลไม่ใช่รูปแบบวิถีทางการรักษา แต่เป็นการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การคิดวิถีทางควบคุม QOL ในอดีตและปัจจุบัน

3.       สิ่งแวดล้อม (Environment) การจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับบุคคลและเทคโนโลยี

      4.  การพยาบาล (Nursing) รูปแบบวิถีทางที่จะช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมการพยาบาล QOL ด้วยการช่วยเหลือและสนับสนุน

คำสำคัญ (Tags): #trajectory#framework)
หมายเลขบันทึก: 53043เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2006 00:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท