Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

กรณีศึกษาสำหรับห้องเรียน : พนักงานสุขภาพชุมชนชายแดนคือใครกัน ?


ตั้งใจเก็บเอาไว้ให้นักศึกษาในวิชากฎหมายสิทธิมนุษยชนและในวิชากฎหมายระหว่างประเทศได้มาศึกษา กรณีศึกษานี้เป็นความพยายามของกระทรวงสาธารณสุขที่จะสร้าง "สุขภาวะในพื้นที่ระหว่างประเทศ" เป็นงานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางสาธารณสุข น่าจับตา เป็นความก้าวหน้ามาก

         สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดอบรมพนักงานสุขภาพชุมชนชายแดน เพื่อเปิดโอกาสให้เข้าถึงบริการ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของแรงงานอพยพและกลุ่มชนไร้สัญชาติ

       ที่ห้องประชุมอาคาร สว. โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน นายสุวัฒน์ กิตติดิลกกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานการอบรมพนักงานสุขภาพชุมชนชายแดน (พสชช.) จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยการสนับสนุนของ โครงการ SHIELD ( Support to Health Institution Building Education and Readership in policy Dialogue ) เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการ การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของแรงงานอพยพและกลุ่มชนไร้สัญชาติ ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของตนเองได้ โดยการจัดอบรมพนักงานสุขภาพชุมชนชายแดนให้เป็นผู้มีบทบาทหน้าที่ด้านส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค ประสานงานส่งต่อผู้ป่วย และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพแก่ชุมชนชายแดน เพื่อเป็นเครือข่ายที่สำคัญของงานด้านสาธารณสุข ให้มีความคล่องตัว และสามารถช่วยเหลือกลุ่มบุคคลดังกล่าวได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ข่าวโดย : สลวย นิรามัย / ข่าว

หน่วยงาน : สวท.แม่ฮ่องสอน  สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 

ประจำวันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม 2549

หมายเลขบันทึก: 53030เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2006 23:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สำคัญนะครับ สุขภาวะชายแดนมีความแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆเนื่องจาก

ประเทศเพื่อนบ้านด้อยพัฒนากว่า มีชนกลุ่มน้อย(พม่า)  การหลบหนีภัยการสู้รบ มีการเกิดในศูนย์ช่วยเหลือฯ มีการลักลอบเข้าเมืองเป็นแรงงานเถื่อน มีโรคระบาด แต่สวัสดิภาพ สุขภาพ การดูแลรักษาเมื่อเจ็บป่วย ส่วนใหญ่มารักษาในเขตไทยผู้ป่วยก็ยากจนขาดเงินค่ารักษาพยาบาล แต่เพื่อมนุษย์ธรรมเราต้องช่วยเหลือ หากมองในภาพรวมแล้วก็เป็นภาระของคนไทยทุกคน ที่ต้องนำภาษีไปใช้จ่ายกับคนเหล่านี้

ไปสอบถามโรงพยาบาลชายแดนดูได้ บางทีต้องแบ่งยาบางส่วนให้กับหมออนามัยของต่างด้าว เพราะจะได้ไม่ต้องเดินทางมาที่โรงพยาบาลเพราะรักษาคนไทยก็มากล้นอยู่แล้ว

จะขอให้องค์กรระหว่างประเทศมาช่วยเหลือจะมาแบบมีเงื่อนไขทางการเมือง จนทำให้รู้สึกว่าเป็นการแทรกแซงกิจการภายใน

แต่ก็น่าสนใจอยู่นะครับหากต้องมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง หมายความว่าเราต้องผลักดันให้เป็นนโยบายในการ กดดัน-ผลักดัน-กระตุ้น ให้ประเทศเพื่อนบ้านร่วมกันแก้ปัญหาด้วย เรื่องสิทธิมนุษยชนก็น่าสนใจดี แต่สำหรับต่างด้าวที่เข้ามาตามแนวชายแดน(ส่วนใหญ่จะผิดกฎหมาย)เราจะช่วยในลักษณะเพื่อมนุษยธรรม หากจะช่วยแบบหลักวิชาการสิทธิมนุษยชนเลย ประเทศเราจะมีต่างด้าวหลั่งไหลเข้ามาอีกมหาศาล

หลักสิทธิมนุษยชนตามแนวชายแดนมันน่าจะเกี่ยวกับกิจการต่างประเทศ การเมืองระหว่างประเทศ และความมั่นคงด้วย ทุกวันนี้ผมรู้สึกว่าเราจะเต้นหรือเรียกร้องกันเอง(คนไทย)มากกว่า บางทีก็ถูกองค์กรที่มาจาก UN กล่าวร้ายให้ด้วย ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านยังอยู่เฉยๆ ไม่กระทบอะไร

แล้วมีโควต้าให้ไปเรียนต่อสาธารณสุขชุมชนไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท