การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน ตอนที่ 1


PAR :PARTICIPATION ACTION RESEARCH หมายถึง การลงมือปฏิบัติการค้นหาปัญหาการจัดการศึกษาด้วยการศึกษาข้อมูล สารสนเทศแล้ววิเคราะห์เปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือเป้าหมายแล้วเสาะแสวงหาแนวทางแก้ไขเพื่อพัฒนาการศึกษาให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามกำหนด โดยเน้นให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้าร่วมปฏิบัติการด้วย

 

การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต[Quality of Life]ของนักเรียน

โดย พิสุทธิ์ บุญเจริญ

นักวิชาการศึกษา 8

เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม 8ว

 

บทนำ

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 อันเป็นกฎหมายแม่บทในการบริหารและจัดการการศึกษาอบรมให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ.2540 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก หน้า 41) นั้นระบุถึงงานการวิจัยเพื่อพัฒนาไว้ใน มาตรา 24(4) ว่า “ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ และ มาตรา 30 ระบุว่า “ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา “ มาตรา 67 ก็ระบุว่า “ รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย “

โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้วิจัยตระหนักดีถึงคุณค่า คุณประโยชน์ ความจำเป็นและความสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนา [RESEARCH AND DEVELOPMENT] ในระดับโรงเรียน [ SCHOOL ACTION RESEARCH :เรียกโดยย่อว่า SAR] อันมีส่วนเกื้อกูลต่อการปฏิรูปการเรียนการสอนในโรงเรียนได้อย่างตรงจุด ตรงประเด็น ตรงปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และบรรลุตามเป้าหมายและนโยบายแห่งรัฐอย่างสูงยิ่ง

และในการนี้ผู้วิจัยเองเห็นว่าในปัจจุบันนี้วิทยาการด้านการวิจัยเพื่อการพัฒนา[RESEARCH AND DEVELOPMENT]นี้มีความจำเป็นต่องานการพัฒนาการศึกษาเป็นอย่างสูงยิ่งและจากการศึกษาพบว่าการวิจัยเพื่อพัฒนาดังกล่าวนี้[RESEARCH AND DEVELOPMENT] มีหลากหลายรูปแบบ หลายแนวทาง หลากหลายแนวคิด ดังนั้นการที่จะนำเอาการวิจัยเพื่อพัฒนา[RESEARCH AND DEVELOPMENT] ไปใช้ได้อย่างมีคุณค่า และสมประโยชน์ได้นั้นจึงควรที่จักต้องทำการศึกษาทดลองหารูปแบบหรือสร้างรูปแบบเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 11 และ 14 (เขตการศึกษา 10 เดิม)ซึ่งมีหลายสังกัด แตกต่างกันไป คือ สังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน((สปช./สศ.เดิม ) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) สังกัดเทศบาล ซึ่งล้วนแต่มีบริบทแตกต่างกันไป ที่ตนเองรับผิดชอบได้อย่างเหมาะสมเกิดคุณค่าและได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ต่องานการปฏิรูปการศึกษาตามเจตนารมณ์ของนโยบายแห่งรัฐและเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ต่อไป

 

คำนิยามคำศัพท์

1.PAR เป็นคำย่อของ PARTICIPATION ACTION RESEARCH ซึ่งหมายถึงการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม [PAR]หมายถึง การลงมือปฏิบัติการ ค้นหาปัญหาการจัดการศึกษาด้วยการศึกษา ข้อมูล สารสนเทศแล้ววิเคราะห์ เปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือเป้าหมายแล้วเสาะแสวงหาแนวทางแก้ไขเพื่อพัฒนาการศึกษาให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามกำหนด โดยเน้นให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้าร่วมปฏิบัติการด้วย.

2. SPAR เป็นคำย่อของ SHOOL PARTICIPATION ACTION RESEARCH ซึ่งหมายถึงการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในระดับโรงเรียน

3.CPAR เป็นคำย่อของ CLASSROOM PARTICIPATION ACTION RESEARCH ซึ่งหมายถึงการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในระดับชั้นเรียน

4.APAR เป็นคำย่อของ AREA PARTICIPATION ACTION RESEARCH ซึ่งหมายถึงการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่

5.OPAR เป็นคำย่อของ SHOOL PARTICIPATION ACTION RESEARCH ซึ่งหมายถึงการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในหน่วยงาน

6.การปฏิรูปการศึกษา หมายถึง การปรับปรุงการดำเนินงานการศึกษาด้วยการเลือกสรร เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมแนวทางการดำเนินงานที่มีอยู่เดิมให้สามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่มีอยู่เดิมให้เบาบางลงหรือหมดไปและสามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษา คุณภาพชีวิตนักเรียนโดยกระบวนการจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพมาตรฐานตามที่กำหนดไว้

 

*******************

 

 

 

 

 

 

PAR การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต[Quality of Life] ของนักเรียน

แนวคิดในการพัฒนาอีกอย่างหนึ่งที่กำลังนำมาใช้ในสังคมไทยก็คือ การพัฒนาแบบการมีส่วนร่วม [Participation] ของประชาชน และใช้การทำงานในรูปแบบของ การวิจัยปฏิบัติการ [Action Research] ซึ่งเป็นการวิจัยที่จัดทำเป็นกลุ่ม เป็นหมู่คณะและจัดการวิจัยโดย ผู้ปฏิบัติงานเอง จนภายหลังเรียกกันว่า การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Participation Action Research คำย่อคือ PAR1

แนวคิดที่ทำให้คริสตินเซนส์มีชื่อเสียงอย่างมากคือ ทฤษฏีว่าด้วยการเกิด นวัตกรรมเชิงปะทุ (Disruptive Innovation)ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือที่แพร่หลายมากเรื่องหนึ่งคือ

The Innovation, s Dilemma : When New Technologies Cause Green Firm to Fail “ [Dilemma : สภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออกว่าจะเลือกอย่างไหนดี ] นวัตกรรมในลักษณะนี้เริ่มแรกจะไม่มีความซับซ้อนและมีราคาถูกกว่า แต่เชื่อถือได้และใช้ได้ง่ายกว่าผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในคลาดหลัก โดยในระยะแรกนวัตกรรมเชิงปะทุนี้จะค่อยๆเริ่มเจาะเข้าไปในตลาดเฉพาะกลุ่ม [niche market] หรือตลาดรองที่ไม่เป็นที่สนใจของบริษัทขนาดใหญ่ แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป นวัตกรรมนี้จะค่อยๆพัฒนาตนเองและแทรกซึมเข้าไปจนถึงจุดที่สามารถนำเอาคุณลักษณะเฉพาะตัวไปสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้า ซึ่งหากถึงจุดนี้นวัตกรรมชิ้นนี้ก็จะสามารถเข้าไปแทนที่และเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ในตลาดหลักได้อย่างที่บริษัทยักษ์ใหญ่ก็ไม่สามารถปรับตัวได้ทันหรือกว่าจะรู้ตัวก็สูญเสียตลาดส่วนนั้นไปแล้ว

สรุปแนวคิดของ เคลย์ตัน คริสเทนเซนต์

1.นวัตกรรมและเทคโนโลยี่เป็นตัวขับเคลื่อน

2.สามารถเกิดโดยลำพังโดยอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ

3.องค์ประกอบสำคัญคือความต่อเนื่องในการพัฒนา

4.เป็นการวางแผนในระยะสั้น เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

5.ความสามารถในการแข่งขันสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีพลวัตรสูงเพราะมีการเปลี่ยนผู้นำตลาดอยู่ตลอดเวลา

6.ความสามารถในการแข่งขันมาจากความสามารถในการวิเคราะห์ถึงศักยภาพของปัจจัยนวัตกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างต่อเนื่อง 2

แนวความคิดข้างบนนี่แหละจึงเป็นเชื้อที่ปะทุขึ้นเป็นพลังในหัวอกหัวใจของผู้เขียนที่จะมุ่งศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยเรื่อง PAR [ PAR : SPAR / CPAR / APAR / OPAR ] ซึ่งตั้งใจทำให้เป็นเรื่องที่ไม่มีความซับซ้อน มีราคาถูก แต่เชื่อถือได้ และใช้ได้ง่ายกว่า การวิจัยในชั้นเรียนที่กำลังใช้กันอยู่ในแวดวงการศึกษาไทยในขณะปัจจุบันนี้ เพื่อช่วยเหลือ สนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติและตามแนวทางนโยบายแห่งรัฐให้สำเร็จลุ่ล่วงไปได้อีกแนวทางหนึ่งต่อไป

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 อันเป็นกฎหมายแม่บทในการบริหารและจัดการการศึกษาอบรมให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ.2540 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก หน้า 41) นั้นระบุถึงงานการวิจัยเพื่อพัฒนาไว้ใน มาตรา 24(4) ว่า “ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ และ มาตรา 30 ระบุว่า “ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา “ มาตรา 67 ก็ระบุว่า “ รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย “

และในการนี้ผู้ศึกษาเองเห็นว่าในปัจจุบันนี้วิทยาการด้านการวิจัยเพื่อการพัฒนา [RESEARCH AND DEVELOPMENT ] นี้มีความจำเป็นต่องานการพัฒนาการศึกษาเป็นอย่างสูงยิ่งและจากการศึกษาพบว่าการวิจัยเพื่อพัฒนาดังกล่าวนี้[RESEARCH AND DEVELOPMENT] มีหลากหลายรูปแบบ หลายแนวทาง หลากหลายแนวคิด ดังนั้นการที่จะนำเอาการวิจัยเพื่อพัฒนา [RESEARCH AND DEVELOPMENT] ไปใช้ได้อย่างมีคุณค่า และสมประโยชน์ได้นั้นจึงควรที่จักต้องทำการศึกษา ค้นคว้า ทดลองหารูปแบบหรือสร้างรูปแบบเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนา การศึกษาในระดับต่างๆทั้งในระดับเขตพื้นที่ ระดับโรงเรียนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับชั้นเรียนซึ่งมีความหนุนเนื่อง สัมพันธ์และส่งผลถึงกันในเชิงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนได้อย่างเป็นระบบเกี่ยวเนื่องกัน ในทุกมิติทั้งด้านสังกัด ระดับชั้น ที่ซึ่งมีหลายสังกัดแตกต่างกันไป คือ สังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเดิม) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) และ สังกัดเทศบาล เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่มีบริบทแตกต่างกันไป ได้อย่างเหมาะสมเกิดคุณค่าและได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ต่องานการปฏิรูปการศึกษาตามเจตนารมณ์ของนโยบายแห่งรัฐและเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ต่อไป

โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ศึกษาเองตระหนักดีถึงคุณค่า คุณประโยชน์ ความจำเป็นและความสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนา [RESEARCH AND DEVELOP - MENT] ในระดับโรงเรียน [ SCHOOL ACTION RESEARCH เรียกโดยย่อว่า SAR ] การวิจัยในชั้นเรียน[[ CLASSROOM ACTION RESEARCH เรียกโดยย่อว่า CAR ]การวิจัยในระดับหน่วยงาน [ OFFICE ACTION RESEARCH เรียกโดยย่อว่า OAR ] ซึ่งหากนำหลักการแห่งการมีส่วนร่วม [ PARTICIPATION] คือความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกันมาใช้ในการวิจัยและพัฒนาในมิตินี้ด้วยแล้ว ต้องมีส่วนเกื้อกูลต่อการปฏิรูปการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนได้อย่างตรงจุด ตรงประเด็น ตรงปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และบรรลุตามเป้าหมายและนโยบายแห่งรัฐได้ต่อไปอย่างแน่แท้

 

***************

1 กมล สุดประเสริฐ การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงาน เอกสารลำดับที่ 2/2537 สำนักงานประสานงานโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ โรงพิมพ์การศาสนา กทม. 2537 : 8-9

กมล สุดประเสริฐเอกสารลำดับที่ 2/2537 สำนักงานประสานงานโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ โรงพิมพ์การศาสนา กทม. 2537 : 8-9

2 มติชนรายวัน วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม 2546 หน้า 14 คอลัมน์ แนวคิดไมเคิล พอร์ตเตอร์ – เคลย์ตัน คริสเทนเซนส์ กับการสร้างความสามารถด้านนวัตกรรมของไทย)

มติชนรายวัน วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม 2546 หน้า 14 คอลัมน์ )กมล สุดประเสริฐเอกสารลำดับที่ 2/2537 สำนักงานประสานงานโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ โรงพิมพ์การศาสนา กทม. 2537 : 8-9 มติชนรายวัน วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม 2546 หน้า 14 คอลัมน์ )

 

ส่วนประกอบสำคัญของ PAR

ดังที่ได้เกริ่นไว้แล้วว่า PAR เป็นคำย่อของ PARTICIPATION ACTION RESEARCH ซึ่งหมายถึงการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ที่เน้นการลงมือปฏิบัติการ ค้นหาปัญหาการจัดการศึกษาด้วยการศึกษา ข้อมูล สารสนเทศแล้ววิเคราะห์ เปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือเป้าหมายแล้วเสาะแสวงหาแนวทางแก้ไขเพื่อพัฒนาการศึกษาให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามกำหนด โดยเน้นให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้าร่วมปฏิบัติการด้วย ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญดังแสดงเป็นแผนผังได้ ดังนี้

 

 

 

ในการศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดรูปแบบในการศึกษา การวิเคราะห์ ปัญหา ตามความหมายดังนี้

ปัญหา [PROBLEM] หมายถึง ส่วนต่างระหว่างเกณฑ์ [CRITERIA, MEAN,NORMหรือ SATISFACTION LEVEL]ที่กำหนดไว้เป็นบรรทัดฐานกับสภาพจริง [FACT]ที่ปรากฏดังกำหนดเป็นสูตรขึ้นไว้ดังนี้

                                                                     P = C-F

                         [P คือ PROBLEM (ปัญหา)

                         C คือ CRITERIA (เกณฑ์)

                        F คือ FACT (สภาพจริง)]

นั่นคือ ถ้าความแตกต่างมีมากก็แสดงว่าสิ่งนั้นมีปัญหามาก แต่หากค่าความแตกต่างมีน้อยก็ย่อมแสดงว่าสิ่งนั้นๆย่อมมีปัญหาน้อย.

******************

 

 

คำชี้แจงการใช้ชุดฝึกอบรม

1.เวลาที่ใช้ - ชุดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ ใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง

2.ส่วนประกอบ ชุดฝึกอบรมนี้มีส่วนประกอบสำคัญ ดังนี้

- ชุดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ ใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง

ส่วนที่ 1 เนื้อหาหลัก [Core Content ] เป็นเนื้อหาสาระที่ผู้เข้าฝึกอบรมจำเป็นต้องรู้เป็น พื้นฐาน เสียก่อน เพื่อจะได้เป็น ฐานความรู้ ในการดำเนินกิจกรรมในขั้นตอนต่อไป ประกอบด้วย เนื้อหาหลัก [Core Content ] เป็นเนื้อหาสาระที่ผู้เข้าฝึกอบรมจำเป็นต้องรู้เป็น เสียก่อน เพื่อจะได้เป็น ฐานความรู้ ในการดำเนินกิจกรรมในขั้นตอนต่อไป ประกอบด้วย

เนื้อหาหลัก [Core Content ] เป็นเนื้อหาสาระที่ผู้เข้าฝึกอบรมจำเป็นต้องรู้เป็น เสียก่อน เพื่อจะได้เป็น ฐานความรู้ ในการดำเนินกิจกรรมในขั้นตอนต่อไป ประกอบด้วย

1.ความหมาย

2.กรอบความคิด [Conceptual Framework ]

3. รูปแบบ [Model] การค้นหา ปัญหา

4.ขั้นตอนในการวิเคราะห์ปัญหา 10 ขั้น

ส่วนที่ 2 ใบสร้างองค์ความรู้ ที่ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้ ใบสร้างองค์ความรู้ ที่ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้

ใบสร้างองค์ความรู้ ที่ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้1.ลำดับที่ของใบสร้างองค์ความรู้

2.เรื่อง ที่ระบุ เรื่องที่จะฝึกอบรม

3.ความหมายของคำ ปัญหา

4.รูปแบบในการศึกษาวิเคราะห์

5.ขั้นการนำเสนอ

ส่วนที่ 3 กรณีตัวอย่าง เป็นการนำเสนอ ตัวอย่าง ในการวิเคราะห์ กรณีตัวอย่าง เป็นการนำเสนอ ตัวอย่าง ในการวิเคราะห์

ส่วนที่ 4 แบบฝึกหัด

ส่วนที่ 5 แนวคำตอบ/เฉลย

ส่วนที่ 6 แบบประเมินชุดฝึกอบรม

 

************

ชุดที่ 1

 

SPAR : การวิจัยเชิงปฏิบัติการในโรงเรียน ด้วยสูตร P=C-P

เนื้อหาหลัก [Core Content]

                                 1.ความหมายของ SPAR

                                2.กรอบความคิด

                               3.รูปแบบและขั้นตอนในการวิเคราะห์

                              4.คำถามท้ายบท

                             5.ตัวอย่าง การวิเคราะห์

                            6.แบบฝึกการวิเคราะห์

                           7.แนวคำตอบ/เฉลย

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ สามารถ

           1.บอกความหมาย กรอบความคิด SPAR ได้

          2.อธิบายรูปแบบ ขั้นตอนของ SPAR ได้

         3.รู้คุณค่า และประโยชน์ของ SPAR

         4.วิเคราะห์ข้อมูลตามรูปแบบและขั้นตอนของ SPAR ได้

         5.นำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของตนได้

คำแนะนำ

ให้ผู้เข้าฝึกอบรมอ่าน แล้วปฏิบัติตามคำแนะนำตามลำดับต่อไป.

************

 

 

ใบงานสร้างองค์ความรู้ SPAR 1

 

เรื่อง SPAR : การวิจัยเชิงปฏิบัติการในโรงเรียน ด้วยสูตร P=C-P

 

ความหมาย

SPAR ในที่นี่จึงจงใจให้มีความหมายที่ครอบคลุมถึง การที่ผู้บริหาร / ครูผู้สอนลงมือปฏิบัติการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ วิจัย ด้วยตนเองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยใช้ข้อมูล [DATA] สารสนเทศ [INFORMATION] ที่มีอยู่ในโรงเรียน /สถานศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนโดยเน้นที่การพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี [QUALITY OF LIFE]ในที่นี่จึงจงใจให้มีความหมายที่ครอบคลุมถึง

เพื่อสนองเจตนารมณ์แห่งกฎหมายหลักดังกล่าว จึงในระดับโรงเรียน หรือสถานศึกษานั้นผู้บริหาร บุคลากร หรือผู้มีส่วนได้เสีย[Stakeholders]ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาพึงลงมือปฏิบัติการการวิจัยในโรงเรียน ร่วมกันโดยมุ่งเน้นที่ การพัฒนาคุณภาพชีวิต [Quality of life] นักเรียน เพื่อสนองเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษาด้าน การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด [CHILD CENTER] ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ดังกล่าว

ดังนั้นจึงเป็นข้อผูกพันที่เรา-ท่านที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย [STAKEHOLDERS]ในกิจการการศึกษาของชาติบ้านเมืองที่จักต้องดูแล เอาใจใส่ร่วมกันในการแปลสาระบัญญัติแห่งกฎหมายแม่บทดังกล่าวนี้ออกสู่การปฏิบัติเพื่อพัฒนาการศึกษาผ่านกระบวนการวิจัยเพื่อใช้ การวิจัยให้เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนให้ดีขึ้นให้จงได้

และในที่นี่ SPAR ก็จึงเป็นอีกหนึ่งในหลายๆความพยายามที่มุ่งมั่นให้เป็นทางเลือกในการปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุตามสารบัญญัติแห่งกฏหมายสำคัญดังกล่าวข้างต้น

กรอบความคิด [FRAME]

 

 




 

 

 

 


 

 


 

 

อธิบาย/ขยายความ

ในการศึกษาวิจัย SPAR นี้เน้นที่การดำเนินการภายใต้กรอบของความหมายของ คำ SPAR และสูตร P = C-F ดังนี้

SPAR เป็นคำย่อ ของคำต่อไปนี้

เป็นคำย่อ ของคำต่อไปนี้

S : SCHOOL ในที่นี่หมายถึง โรงเรียน/สถานศึกษา เป็นการศึกษาวิจัยโดยใช้ข้อมูล/สารสนเทศในโรงเรียน / สถานศึกษานั่นเอง

: SCHOOL ในที่นี่หมายถึง เป็นการศึกษาวิจัยโดยใช้ข้อมูล/สารสนเทศในโรงเรียน / สถานศึกษานั่นเอง

P : PARTICIPATION ในที่นี่หมายถึง การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย[STAKEHOLDERS] ในโรงเรียน / สถานศึกษา ในที่นี่เน้นที่ ผู้บริหาร / ครูผู้สอน / ครูในสายชั้น / ครูในหมวดวิชา / ผู้บริหาร นักเรียน /ผู้ปกครอง /นักวิชาการ หรือ……

: PARTICIPATION ในที่นี่หมายถึง ของผู้มีส่วนได้เสีย[STAKEHOLDERS] ในโรงเรียน / สถานศึกษา ในที่นี่เน้นที่ ผู้บริหาร /

A : ACTION ในที่นี่จงใจให้มีความหมายครอบคลุมถึง การปฏิบัติการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ด้วยตัวผู้บริหาร / ครูผู้สอนเอง

R : RESEARCH ในที่นี่ก็จงใจให้มีความหมายที่ครอบคลุมถึง การศึกษาค้นคว้า ทดลองวิเคราะห์ วิจัย ด้วยตัวผู้บริหาร / ครูผู้สอน / หรือผู้สนใจทั่วไป นั่นเอง

: RESEARCH ในที่นี่ก็จงใจให้มีความหมายที่ครอบคลุมถึง ด้วยตัวผู้บริหาร / ครูผู้สอน / หรือผู้สนใจทั่วไป นั่นเอง

ดังนั้น SPAR ในที่นี่จึงจงใจให้มีความหมายที่ครอบคลุมถึง การที่ผู้บริหาร / ครูผู้สอนลงมือปฏิบัติการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ วิจัย ด้วยตนเองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยใช้ข้อมูล [DATA] สารสนเทศ [INFORMATION] ที่มีอยู่ในโรงเรียน /สถานศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนที่เน้นที่การพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี [QUALITY OF LIFE] ตาม รูปแบบ และ ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

รูปแบบ [MODEL] การค้นหา ปัญหา [PROBLEM]

ในที่นี่เน้นให้ค้นหา ปัญหา [PROBLEM] ด้วยสูตร P = C-F

นั่นคือ ผู้ศึกษาวิจัยต้องดำเนินการดังนี้ คือ

1.เก็บข้อมูล [DATA /สารสนเทศ [INFORMATION COLLECTING] ในโรงเรียน / สถานศึกษา ที่สำคัญอย่างน้อย 2 ตัว คือ

2. การเก็บข้อมูล [DATA /สารสนเทศ [INFORMATION COLLECTING] เน้นที่การเก็บรวบรวมในรูปของตาราง [TABLES] โดย COMPUTER โปรแกรม EXCEL ดังเช่น

[DATA / [INFORMATION COLLECTING] เน้นที่การเก็บรวบรวมในรูปของตาราง [TABLES] โดย COMPUTER โปรแกรม EXCEL ดังเช่น

 

วิชา

ชั้น

ภาษาไทย

[%]

อังกฤษ

[%]

คณิต

[%]

……..

เฉลี่ย

[%]

ป.1

ป.2

ป.3

ป.4

….

         

ค่า %เฉลี่ย

         

โรงเรียน

กลุ่ม

อำเภอ

จังหวัด

เขต

ประเทศ

         

3.การแปลง ข้อมูล [DATA /สารสนเทศ [INFORMATION COLLECTING] ในตารางออกเป็นแผนภูมิ[GRAPH] โดย COMPUTER โปรแกรม EXCEL

4. แปลความ/อธิบายความจาก แผนภูมิ[GRAPH]

5.ระบุปัญหา/จุดที่ยังไม่พอใจ ด้วยสูตร

 

6.วิเคราะห์หาแนวทางแก้ปัญหา [ALTERNATIVES] ด้วย FGD.TECHNIQUE

7.คัดเลือกแนวทางแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ที่สุด [SELECTED ALTERNATIVE]

8.จัดสร้างนวัตกรรม [INNOVATION] ที่สอดคล้องกับแนวทางแก้ปัญหาข้อ 5

 

 

 

 

 

 

9. เขียนรายงานการศึกษาวิจัย [REPORTING]

10. เผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ ด้วย SYMPOSIUM และหรือ อื่นๆ

************

โปรดตอบคำถามต่อไปนี้

  1. SPAR หมายถึงอะไร ? โปรดอธิบาย

2.SPAR มีกรอบความคิดอย่างไรบ้าง ? โปรดอธิบาย

3.SPAR มีรูปแบบ และขั้นตอนในการวิเคราะห์อย่างไรบ้าง ? โปรดอธิบาย

4.SPAR มีประโยชน์หรือไม่? อย่างไร? โปรดระบุเป็นข้อๆ

5.ท่านจะนำ SPAR ไปใช้ในโรงเรียนของท่านได้หรือไม่ ? อย่างไร ?

************

 

 

 

 

 

ใบงาน SPAR

 

เรื่อง การศึกษา วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ SPAR รูปแบบในการศึกษาวิเคราะห์ ในการศึกษาครั้งสำคัญนี้ ผู้เขียนตั้งใจจะนำเสนอใน 6 ประเด็นหลักคือ
  1. นำเสนอสภาพปัจจุบันในรูปของข้อมูลเป็นตาราง
  2. จัดกระทำเป็นแผนภูมิ (GRAPH)
  3. วิเคราะห์ข้อมูลในเชิงเปรียบเทียบด้วยการอธิบาย/ขยายความ ตามสูตร

P = C-F

P คือ PROBLEM (ปัญหา)

C คือ CRITERIA (เกณฑ์)

F คือ FACT (สภาพจริง)

4. ชี้ประเด็นที่เป็นปัญหา/จุดที่ยังไม่น่าพอใจ

5. ชี้โอกาสการเพิ่มศักยภาพการพัฒนาในประเด็นปัญหานั้นๆ

6. การสร้างนวัตกรรม / แนวคิด / ทฤษฏี เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

ซึ่ง ศักยภาพ ให้หมายถึงขีดความสามารถในการลดช่องว่าง (GAP) ระหว่างเกณฑ์ (CRITERIA) กับสภาพจริง (FACT)

และ การเพิ่มศักยภาพก็ให้หมายถึงการใส่ทรัพยากรการบริหารจัดการ (ADMIINSTRATIVE RESOURCES) เข้าไปในระบบ (SYSTEM APPROACH) คือ ปัจจัย (INPUT) กระบวนการ (PROCESS) เพื่อส่งให้เกิดผลผลิต (OUTPUT) และผลลัพท์ (OUTCOME) ของการพัฒนาใดๆ ได้ตามเกณฑ์หรือมาตรฐาน (STANDARD LEVEL) ที่กำหนดไว้

ขั้นการนำเสนอ

ตารางแสดงคะแนนเฉลี่ยร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษา (ป. 1-6 ) โรงเรียน.............. ปีการศึกษา 2540-2545

 

 

วิชา

 

ชั้น

ไทย

คณิต

สปช.

สลน.

กพอ.

ป. 1

ป. 2

ป. 3

ป.4

ป. 5

ป. 6

         

เฉลี่ย

         

ระดับอำเภอ

         

ระดับจังหวัด

         

ระดับเขต

         

ระดับประเทศ

         

แสดงในรูปกราฟ

สร้างกราฟโดยใช้ PROGRAM EXCEL หรือ POWER POINT

 

 

อธิบาย

* หากได้พิจารณาร่วมกันด้วย FGD.Technique ก็จะเกิดความถูกต้อง สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ปัญหา/จุดที่ยังไม่พอใจ (ด้วยสูตร P = C – F)

* หากได้พิจารณาร่วมกันด้วย FGD.Technique ก็จะเกิดความถูกต้อง สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

การเพิ่มศักยภาพ

* หากได้พิจารณาร่วมกันด้วย FGD.Technique ก็จะเกิดความถูกต้อง สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

สร้างนวัตกรรม/ทฤษฏี/แนวคิด

* หากได้พิจารณาร่วมกันด้วย FGD.Technique ก็จะเกิดความถูกต้อง สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

*************

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 5298เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2005 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท