เมื่อโดนผึ้งต่อย


เมื่อโดนผึ้งต่อย ต้องทำยังไงเอ่ย?

        ผึ้ง เป็นแมลงสังคมที่มีการแบ่งเป็นวรรณะต่าง ได้แก่ ราชินี ผึ้งตัวผู้ และผึ้งงาน ผึ้งงาน ก็คือ ผึ้งตัวเมียที่มีหน้าที่ดูแลรังและหาอาหาร ผึ้งงานจะมีอวัยวะที่เรียกว่าเหล็กไน (sting) ซึ่งดัดแปลงมาจากอวัยวะที่ใช้ในการวางไข่ (ovipositor) โดยจะต่อกับถุงพิษ (venom sac) ซึ่งอยู่ภายในช่องท้องในระหว่างที่ผึ้งต่อย กล้ามเนื้อในช่องท้องจะบีบให้พิษออกมาจากถุงพิษเข้าสู่เหล็กไน  เมื่อผึ้งต่อยมันจะปล่อยเหล็กไนรวมทั้งถุงพิษออกมา แล้วตัวมันก็ตาย พิษของผึ้งจะประกอบไปด้วยโปรตีนที่เรียกว่า melitin เป็นองค์ประกอบสำคัญ (ประมาณ 50% ของพิษ) melitin นี้มีผลทำให้เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และ lysosome แตก ผลตามมาก็คือมีการหลั่งของเอ็นไซม์ต่างๆ  และรวมทั้ง histamine จากเซลล์ที่มีการแตกนี้ นอกจากนี้ยังมีโปรตีนชนิดอื่นๆ เป็นองค์ประกอบอยู่ เช่น apamine ซึ่งมีพิษต่อระบบประสาท hyluronidase ซึ่งมีผลทำให้พิษแพร่กระจายได้เร็วขึ้น และ phospholipase ซึ่งเชื่อว่าเป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้  ผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากผึ้งต่อยนั้น  ส่วนใหญ่ไม่ได้เสียชีวิตเพราะพิษของผึ้ง แต่เสียชีวิตจาก anaphylaxis
       การดูแลผู้ป่วยที่ถูกผึ้งต่อยนั้นเบื้องต้นจะต้องเอาเหล็กไนที่ฝังอยู่ออกก่อน โดยใช้ใบมีดขูดออก หรือใช้ scot tape ติดแล้วดึงออกต้องระวังอย่าไปกดบริเวณถุงพิษ  ซึ่งจะทำให้พิษเข้าสู่ผู้ป่วยอีก การใช้น้ำแข็งประคบ จะช่วยลดการกระจายของพิษลงได้
       ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการแทรกซ้อนจะมีอาการปวดบวมแดงบริเวณที่ถูกต่อยและจะหายไป ภายใน 2-3 ชั่วโมง ในรายที่ถูกผึ้งจำนวนมากต่อย (300-500 ตัว) อาจมีอาการอาเจียร ท้องเสีย หายใจลำบาก ความดันต่ำและระบบสูบฉีดเลือดล้มเหลว  นอกจากนี้ อาจพบภาวะ  rhabdomyolysis และ intravascular hemolysis  ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะไตวายได้
       ผู้ป่วยที่เกิดปฏิกริยาทั่วร่างกาย (systemic reaction) ต่อพิษผึ้งนั้น อาจมีอาการตั้งแต่ คัน ลมพิษ หายใจลำบากและเกิด anaphylaxisได้ อาการจะเกิดภายใน 10 นาที หลังจากถูกต่อย ผู้ป่วยที่มีประวัติของการแพ้พิษแมลงอื่นๆ มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการแพ้พิษจากผึ้งได้มาก การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ในรายที่อาการไม่รุนแรงก็ให้การรักษาตามอาการ เช่น ให้ antihistamine ส่วนในรายที่เกิด anaphylaxis ก็ให้การรักษาเหมือนกับผู้ป่วยที่เกิด anaphylaxis ทั่วไป เช่นการให้ aqueous epinephrine  1:1000 ขนาด 0.01ml/kg (ไม่เกิน 0.3ml ในเด็ก) ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือใต้ผิวหนัง การให้ของเหลวทางหลอดเลือด เป็นต้น หากสงสัยว่ามีการติดเชื้อควรให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ควรแนะนำการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วย เพื่อป้องกันการถูกผึ้งต่อย เช่น สวมเสื้อผ้าที่ปกคลุมส่วนแขนขา และไม่ฉีดน้ำหอม ในกรณีที่จะเดินทางไปในบริเวณที่มีโอกาสถูกแมลงต่อยได้และควรมีกระเป๋าเครื่องมือฉุกเฉิน (emergency kit)  ซึ่งผู้ป่วยสามารถใช้ได้ติดตัวไปด้วย เมื่อเดินทางไปในบริเวณซึ่งเสี่ยงต่อการถูกแมลงต่อยและอาจไม่มีสถานพยาบาลในบริเวณนั้น 

                                                 สายลมที่หวังดี.....กาญจนา

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 5296เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2005 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
     ในฐานะที่เป็นหมออนามัย ซึ่งต้องเชี่ยวชาญเรื่องการปฐมพยาบาลโดยไม่ต้องไปเทิร์นเพิ่ม (ฮา...) ผมใช้แอมโมเนีย (ที่ใช้ดมเวลาเป็นลม เวียนศรีษะ) จุ่มตรงที่เหล็กในติดอยู่หลังจากเอาเหล็กในออกได้แล้ว (หาเหล็กในได้ไม่ยาก) การใช้ antihistamine ที่อนามัย ก็คือ ยาแก้แพ้ แก้หวัด (CPM หรือ คลอเฟ) ด้วยยาทั้ง 2 อย่างนี้ ไม่มีที่บ้าน ก็บ้าน อสม. หรือไปที่อนามัยมีแน่ และใกล้ที่สุด ใกล้ใจด้วย
     หากผิด หรือจะเสริมอย่างไรก็ชี้แจงด้วยนะครับ
     ปล.วิธีการข้างต้นจะใช้กับสัตว์มีพิษน้อย ๆ /(ต่อตัว) ถ้าหลายตัวคงไม่ไหว สัตว์ที่ว่าเช่น ตะขาบ ต่อ แตน ฯ

    1. ขอบคุณคุณชายขอบครับ

    2. ถึงสายลมที่หวังดี หากค้นหาข้อมูลมาจากที่อื่น การ copy และ Paste ลงในบล็อกอาจมีปัญหาของตัวอักษร ให้ copy และ Paste ลงใน word ก่อน แล้ว Clear formating จากนั้นทำให้เป็นตัวอักษร Tahoma ขนาด 12 แล้วจึง copy มา paste ใน บันทึก ก็จะได้ตัวอักษรที่เป็นแบบมาตรฐานใน gotoknow ครับ

    3. แวะเวียนมาบันทึกบ่อย ๆ นะครับ กำลังไปได้ดี

ผมได้เข้าไปแก้ไขตัวอักษรให้เป็นมาตรฐาน เรียบร้อยแล้วครับ

     ผมเข้าใจเหมือนที่อาจารย์สมลักษณ์ กล่าวในข้อ 2 คือ น่าจะ copy มา แต่ก็กลัวไปลด Empower ของเขา ซึ่งจะบอกว่าองค์ความรู้นั่นนะดูเหมือนจะเหมาะสำหรับแพทย์ (เราก็ควรได้รู้ด้วย) แต่ถ้าจะเอาไปใช้จริง ๆ ก็ต้องไว้วางใจแพทย์ในการดูแลเมื่อถึงมือแพทย์แล้ว (หลักการที่ดี หรือจรรยาบรรณของคนไข้ ผมพูดเอง =ไม่ได้เคยเจอหรอก=)

     ประเด็นอยู่ที่ว่าเราช่วยจะได้ช่วยตัวเองก่อน หรือดูแลกันเองก่อน รวมไปถึงดูแลไประหว่างนำส่งแพทย์เพื่อลดปัญหาที่รุนแรงขึ้น เช่น anaphylaxis (การแพ้จากพิษ) ซึ่งการหายใจไม่ออกจะเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุด แต่อาการจะเกิดขึ้นมากน้อยอย่างไรก็ขึ้นกับปริมาณพิษที่เข้าสู่ร่างกายด้วย (อันนี้เราควบคุมได้) ส่วนด้านตัวคนไข้ที่จะมีปฏิกิริยาต่อพิษ หรือความไวต่อพิษ (sensitivity) ก็แต่ละคนไม่เท่ากัน อันนี้เราควบคุมไม่ได้ในตอนเกิดเหตุครับ

     ผมไม่ทราบว่าอาจารย์ใช้อะไรบ้างใน กระเป๋าเครื่องมือฉุกเฉิน (emergency kit) จริง ๆ ก็อยากรู้นะครับ แต่ที่ผมนำเสนอไว้คือ แอมโมเนีย เพราะหนึ่งเป็นด่างอ่อน ๆ (พิษเป็นกรด) และสองดูดซึมทางผิวหนังได้ดี ฉะนั้นหลักการง่าย ๆ คือการล้างกันให้เป็นกลาง ครับผม...

     นึกขึ้นได้ครับ "ผึ้งต่อย" บ้านผมจะไม่ใช้คำนี้แต่จะเรียกว่า "ผึ้งไช" เพราะผึ้งไม่มีหมัด (ฮา...อย่ายิ้ม)

คงต้องเล่าประการณ์เรื่องผึ้งต่อยและการแก้ไขภาคสนามให้ฟังแล้วละครับ...มันอยู่ในกระแสดีครับ ในการจัดการความรู้เรื่องผึ้งและผลิตภัณฑ์จากผึ้ง

น.ส.อ้อยทิพย์ คำป้อง
anaphylaxis คือ อะไร  และเกิดขึ้นได้อย่างไรคะ

anaphylaxis คือการแพ้แบบหนึ่ง ในที่นี้คือการแพ้จากพิษผึ้ง เช่น ปวด บวม แดง ร้อน คัน ซึ่งเป็นอาการปกติ หรือบางคนมีความผิดปกติมากกว่านี้ เช่น มีผื่นขึ้นตามตัว คันตามตัว จนถึงขั้นรุนแรงหายใจไม่ออก เกิดได้เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างสารที่ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า "แพ้" เช่นสาร Histamine เป็นต้น ซึ่งอาการแพ้ของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความไวต่อพิษหรือ Sensitivity ของแต่ละคนครับ

     ผมไม่ได้เห็นเลยว่ามีคนถาม จนมาเมื่อกี้ครับ เติมเต็มจากที่อาจารย์สมลักษณ์ เขียนไว้อีกนิดนะครับ

     การหลั่งสาร Histamine ของร่างกาย เพื่อต่อต้านสิ่งแปลกปลอมจริง ๆ เป็นเรื่องดี แต่คนแต่ละคนไว (Sensitivity) ไม่เท่ากัน ฉะนั้นผลจาการหลังสาร Histamine จึงเกิดเป็นอาการข้างเคียงต่อคน ๆ นั้น ทำให้เกิดอาการ ปวด บวม แดง ร้อน คัน ผื่นขึ้นตามตัว คันตามตัว จนถึงขั้นรุนแรงหายใจไม่ออก การช่วยเหลือโดยการให้ยารับประทาน หรือยาฉีด จึงเป็นยากลุ่ม anti-histamine เช่น CPM หรือ คลอเฟนิรามีน ที่เรารู้จักกัว่ายาแก้หวัด และเป็นยาสามัญประจำบ้านชนิดหนึ่ง เป็นต้น

ผึ้งมาทำรังในบ้าน ใหญ่มาก  เกาะกำแพงผนังบ้าน

ว่ากันว่าจะโชคร้าย จริงรึเปล่า

ควรทำอย่างไรดี

เรียกดับเพลิง ????

    ผึ้งที่มาทำรัง สันนิษฐานว่าเป็นผึ้งโพรงครับ เพราะทำรังในบ้าน เกาะกำแพงผนังบ้าน ให้ดูว่ารังมีมากกว่า 1 รวงหรือไม่ ความจริงผึ้งมาทำรังในบ้านนี้จะให้โชคลาบนะครับ เพราะว่าเขาไม่ได้ไปอยู่ทุกบ้าน ถ้ามาอยู่ที่บ้านเราแสดงว่าสถานที่สร้างบ้านของเราดี ชัยภูมิดีเขาจึงมาอาศัยอยู่ด้วย

   ที่เราไม่อยากให้เขาอาศัยก็กลัวเขาจะต่อย เขาไม่จำเป็นเขาไม่อยากต่อยหรอกครับเพราะเขาจะตาย ดังนั้นเราก็ควรให้เขาอาศัยอยู่กับเรา ไม่นาน สัก 6 เดือน หรือ 1 ปีเขาก็จะไป แต่หากว่าเขาอยู่กับเราหลายปีแสดงว่าเรามีเมตตาต่อเขา เขาจึงอยู่กับเรานานครับ

   ถ้าหากเราตัดสินใจให้เขาอยู่ด้วย ก็ไม่ต้องทำอะไร กลางวันเขาก็จะบินเข้าออกไปหาอาหารเอง ส่วนกลางคืนเพื่อไม่ให้เขาเข้าไปในบ้านเรา เราก็ติดหลอดไปแกวรังเขาเพื่อให้เขาเล่นไปอยู่แถวนั้น ไปในบ้านเราเปิดเท่าที่จำเป็น

  หากเขามาเล่นไฟในบ้านเราก็ระวังไม่ไปเหยียบเขาเท่านั้น แค่นี้คนกับผึ้งก็อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขแล้วครับ

ขอบคุณครับช่วยได้เยอะมาก เหยโดนผึ่งต่อยวัน13มิถุนายน2551โดนต่อยแล้วไปสัก10นาทีแขนบวมมากเลยจับแล้วร้อน จะเป็นไรใหมงับ*-*"กลัวงะ"

เพิ่งโดนผึ้งต่อยตรั้งแรกในชีวิตค่ะ ดันมาต่อยเอาที่บาทา ซะได้ ผ่านมา 2 วันกว่าๆแล้วค่ะ เอาเหล็กไนออกแล้วด้วย แต่ตอนนี้อาการบวมแดงยังไม่หาย แถมยังคันมากๆๆๆๆ อยู่เกือบตลอดเวลาด้วย เป็นอาการปกติของคนโดนผึ้งตอยหรือไม่คะ...?????

แล้วถ้ามันคันมากๆจะไปหาหมอเนี่ย มันมากไปรึป่าวคะ กลัวไปแล้วหมอจะว่าเอาว่าแค่นี้เอง อะไรแบบนี้ (ประกันสังคมน่ะค่ะ)

คันที่อื่นพอว่านะ แต่ที่ บาทา นี่สิ เกาลำบากค่ะ

ขอบคุณจ้า เราไปเจอวิธีรักษาและบรรเทาอาการ เวลาที่โดนผึ้งต่อยจากที่นี่ เพื่อนๆ คนไหนอยากไปอ่านเพิ่มเติม เชิญได้เลยนะคะ

http://www.tipsza.com/%E0%B8%9C%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2/

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท