กิจกรรมภายใน สคส.


"สรรพสิ่งล้วนสัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด"

ในช่วงนี้ ชาว สคส. มีกิจกรรมมากมายที่ดำเนินการ  ทั้งงานมหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 3 ในวันที่ 1-2 ธันวาคม 2549 ที่ไบเทคบางนา ซึ่งเราถือว่าเป็นความภาคภูมิใจที่จะนำเสนอให้คนทั่วไปรู้ว่าขณะนี้มีการขับเคลื่อน KM ไปในทุกภาคส่วนของประเทศไทย.......และกิจกรรมภายในที่เราปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำทุกสัปดาห์ ....คือ การประชุมประจำสัปดาห์  ซึ่งวาระที่เราให้ความสำคัญหนึ่งคือ การตีความหนังสือ How to Think Like Leonardo da Vinci เขียนโดย Michael J. Gelb  และเล่มนี้เป็นเล่มที่ 2 แล้ว  แต่ละคนจะคัดเลือกบทที่ตนสนใจเพื่อนำไปตีความและนำเสนอในการประชุมประจำสัปดาห์  เรามุ่งหวังว่า ทั้งการตีความของผู้นำเสนอและการช่วยกันแสดงความคิดเห็น มุมมองต่างๆ  จะทำให้เปิดโลกทัศน์ของทุกคน เพราะแต่ละคนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป    ซึ่งจากข้อคิดเห็นดังกล่าว   อาจช่วยเสริมให้การทำงานของ สคส. มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

เกริ่นกันมานานขอเข้าเรื่องหน่อยแล้วกัน....จากหนังสือ How to Think Like Leonardo da Vinci  เราได้ตีความมาจนถึงส่วนที่  2 บทที่ 2 - Dimostrazione แล้ว  

         ซึ่งหนังสือเล่มนี้มี 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นประวัติของลีโอนาโด ดาวิน ชี  ส่วนที่ 2 กล่าวถึงเนื้อหาหลักของหนังสือ คือ หลักในการคิด 7 ประการ ที่ Michael Gelb ได้รวบรวมข้อมูลจากบันทึกของดาวินชีและจากแหล่งต่างๆ โดย เขาได้ตั้งชื่อแนวทางต่างๆ เป็นภาษาอิตาเลียน เพื่อเป็นเกียรติแก่ดาวินชี และเรียกแนวทางทั้งเจ็ดว่า Seven Da Vincian Principles  คือ 1. Curiosita การใฝ่รู้ ช่างสงสัย และการค้นคว้าที่ไม่สิ้นสุด

2. Dimostrazione การมุ่งมั่นใช้ความรู้ในสิ่งต่างๆ และเต็มใจเรียนรู้จากความผิดพลาด
3. 
Sensazione เปิดประสาทรับรู้ทั้ง 5 โดยเฉพาะสายตา
4. 
Sfumato ยินดีเปิดรับความขัดแย้งและความไม่แน่นอน
5. 
Arte/Scienza ปรับระดับความคิดที่ผสมระหว่างศาสตร์ และศิลป์ ตรรกศาสตร์และจินตนาการ
6. 
Corporalita เก็บเกี่ยวความสามารถหลากหลายด้าน ความพอดี และสติสัมปชัญญะ
7. 
Connessione จดจำและรับรู้ถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วคิดอย่างเป็นระบบ

         

ส่วนที่ 3 เป็นบทสรุปและการฝึกปฏิบัติในการวาดภาพของดาวินชี

ซึ่งขณะนี้ ชาว สคส. ได้ตีความถึงหลักที่ 3 แล้ว และในพุธนี้ (4 ตุลาคม 2549) แบบหลักที่ 4  Sfumato ซึ่งคุณอุไรวรรณ์เป็นผู้ตีความและนำเสนอ   ..สำหรับจ๊ะจ๋าได้คัดเลือกหลักที่ 7 ในการตีความ เมื่อได้อ่านแล้ว พบว่า หลักที่ 7 Connessione  เป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะเป็นเรื่องของการให้ควาสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ   การเชื่อมโยงสรรพสิ่งเข้าด้วยกันเป็นองค์รวม "สรรพสิ่งล้วนสัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด"  หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ Syetems Thinking  ผู้เขียนบรรยายถึงดาวินชีว่า เป็นผู้ที่ปฏิบัติตามแนวคิดนี้มาตลอด งานหลายๆ ชิ้นของดาวินชีแสดงให้เห็นถึงความสามารถของเขาในการคิดเชิงองค์กรรวม หรือความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ

รูปภาพหลายรูปของดาวินชีก็เป็นผลจากความสามารถในการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน  ได้แก่ whirlpool, Hair, The star of Bethlehem  โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปของสัตว์ในเทพนิยาย  รวมทั้งการฝึกฝนตนด้วยการใช้  Mindmap ผสมผสานด้วยศิลปะ  และรูปภาพใน Mindmap จะเป็นการฝึกหัดให้เราใช้ทั้งสมองข้างซ้ายและข้างขวาไปพร้อมๆ กัน  ซึ่งแนวคิดนี้ของดาวินชีสอดคล้องกับหนึ่งในแนวคิด ในเรื่องขององค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน

นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดของการฝึกตนในการใช้สมาธิเพื่อกำหนดเป้าหมาย ด้วยการนั่งสมาธิ ลองหลับตาและพุ่งเป้าไปที่งานๆ หนึ่ง ในความเป็นจริงแล้วเราได้มีหลักการด้านนี้มานานแล้ว เพียงแต่เราละเลยที่จะปฏิบัติไป   และมีสิ่งหนึ่งที่ทำให้จ๊ะจ๋าสนใจนั่นคือ เรื่องของ Butterfly effectจริงๆ แล้ว ผู้เขียนไม่ได้กล่าวโดยตรง แต่เนื้อหาที่ลีโอนาโดกล่าวในยุคนั้น คือ โลกเคลื่อนที่จากตำแหน่งของมันด้วยน้ำหนักของนกน้อยที่เกาะอยู่บนโลก  มีความหมายในปัจจุบันก็คือ Butterfly Effect”  ผีเสื้อตัวหนึ่งกระพือปีกที่ฮ่องกง สามารถที่จะทำให้ดินฟ้าอากาศที่แคลิฟอร์เนียเปลี่ยนแปลงได้เมื่อ 1 เดือนให้หลัง หรือเราอาจจะเรียกว่า "เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว"

จากการได้ฟังชาว สคส. ตีความจนถึงส่วนที่ 2 หลักที่ 3 ประกอบกับจ๊ะจ๋าได้อ่านหลักที่ 7 แล้ว พบว่าเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้สื่อให้เราย้อนกลับไปมองว่า เราจะสามารถพบเห็นอยู่เป็นประจำไม่ว่าตามหลักด้านการจัดการ หลักพระพุทธศาสนา หลักจิตวิทยา หลักการดูแลสุขภาพ เพียงแต่ในกรณีของดาวินชีนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า เขาเป็นผู้นำหลักทั้ง 7 ประการไปใช้ปฏิบัติจนเห็นผลสำเร็จ และเราก็นำเคล็ดลับความสำเร็จของลีโอนาโด ดาวินชี ไปปฏิบัติ แต่คงจะไม่สามารถทำได้ง่ายๆ นัก แต่อย่างน้อยก็น่าจะเป็นแนวทางสำหรับผู้อ่านในการพัฒนาตนเองบ้าง นั่นก็คือ การทำ KM (Knowledge Management) อย่างหนึ่ง การนำเคล็ดลับความสำเร็จของผู้ที่ประสบผลสำเร็จไปปรับใช้ในบริบทของตนเอง ทั้งในการทำงานและชีวิตประจำวัน  ก็คงจะดีไม่น้อยนะคะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 52905เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2006 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

This subject is very interesting. I like such an idea that all things are related. Also, a mind-map technique is a good example to organizing things in such a way that making everything connected.  However, I am so concerned about how these knowledge management strategies to be applied for Thai people or community. It comes with its own culture and belief. Poor understanding in problems or troubles to which society to be applied would be abortive accordingly. Anyway, I think you are on the right track of developing KM in Thailand, land of varieties.

ขอบคุณมากเลยคะจ๊ะจ๋า...

เรื่องเล่านี้อ่านแล้วเหมือนกำลังนั่งฟังจ๊ะจ๋าพูดเลย...ได้ยินเสียงสดใสของจ๊ะจ๋าที่เล่าเรื่องที่ลุ่มลึกกับการตกผลึกทางความคิดที่ได้จากการอ่านและคิด...อันสะท้อนออกจากการผ่านกระบวนการคิดที่เป็นระบบของผู้เขียนที่ได้จากการอ่านแล้วประมวลผล(Infoamation processing แล้วเล่าหรือสรุป (retrive) ออกมาก...

จริงแล้ว...หากเราได้เชื่อมโยง (elabultion) แต่ละ part กับส่วนของเราจะยิ่งทำให้เรา...กระตุ้นและกระจ่างต่อกระบวนการทางปัญญาอย่างยิ่งนะ และจะเกิด cognitive activity...อย่างมากเลยคะ

ขอบคุณคะ

*^__^*

กะปุ๋ม

ยังมีรายละเอียดของการตีความโดยชาว สคส. อีกหลายคนคะ เช่น ของพี่หญิง http://gotoknow.org/blog/learn2fly/52619

 และคนอื่นๆ คะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท