เตรียมคิดทำ “คู่มือสุขภาพเพื่อทักษะชีวิต- Life Skills & Health” Copyright © 2006


การจัดโปรแกรมการดูแลสุขภาพ (Self-management Programming) เน้นการทำงานร่วมกันระหว่างหมอนักบำบัดและผู้ที่ใช้บริการ

เวลาผ่านไปรวดเร็วเหลือเกินครับ ภารกิจของการเก็บเกี่ยวความรู้ทางกิจกรรมบำบัดทางจิตสังคมด้วยทุนรัฐบาลไทยกำลังจะสิ้นสุดลง ผมพยายามแก้งานวิทยานิพนธ์ให้สมบูรณ์ที่สุดพร้อมๆกับค้นคว้าความรู้ในเรื่องการให้บริการทางสุขภาพในทุกๆระดับผู้ใช้บริการ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในเมืองไทยต่อไป

 

ผมกำลังเตรียมงานประชุมระดับชาติของคณะกายภาพบำบัดฯ มหิดล ที่กำลังจะจัดขึ้นในเดือนมีนาคมปีหน้า เรื่องที่จะนำไปบรรยายร่วมกับทีมคณาจารย์กิจกรรมบำบัด คือ การจัดโปรแกรมการดูแลสุขภาพ (Self-management Programming) เน้นการทำงานร่วมกันระหว่างหมอนักบำบัดและผู้ที่ใช้บริการ เหตุการณ์คืบหน้าอย่างไร ผมคงจะนำมาเสนอท่านผู้อ่านอีกครั้ง เมื่อกลับไปทำงานที่เมืองไทยแล้ว

 

วันอาทิตย์ต้นเดือน เป็นวันสบายๆของผม หลังจากเตรียมงานนำเสนอที่กำลังจะไปบรรยายที่เมืองจีนในอีกสองสัปดาห์ข้างหน้า ผมก็ใช้เวลาอ่านเอกสารเรื่องหนึ่ง ชื่อเพราะมากคือ The SMART Manual: Skills and Resilience Training. ผู้เขียนชื่อ Natalie Rinehart ในโครงการ Preventing drug problem-Australian Drug Foundation. Knox Community Health Service, 2004.

 

คู่มือสุขภาพฉบับนี้พัฒนาขึ้นเพื่อฝึกฝนให้วัยรุ่นของออสเตรเลียรู้จักวิธีดำเนินชีวิตโดยปราศจากการใช้หรือรับสารเสพติด โครงการนี้มีการศึกษาและวิจัยในระดับปริญญาเอกจากผู้เขียน Natalie RinehartSwinburne University of Technology

 

ดูจากหัวข้อต่างๆ เป็นการดึงหลักการทางจิตวิทยาวัยรุ่นมาจัดการศึกษาและอบรมแบบฝึกปฏิบัติการให้กับเด็กในโรงเรียนมัธยมทั่วประเทศ ผมจะขอบันทึกหัวข้อต่างๆอย่างย่อเพื่อเป็นแนวคิดการให้กับท่านผู้อ่านบางท่านที่ต้องการจะนำไปปรับใช้ในหน่วยงานที่ดูแลเด็กและเยาวชนไทยต่อไปครับ

 
  • Challenging the students
  • Boosting teacher confidence
  • Sequencing workshops based on developmental differences
  • Anger management and assertiveness training
  • Self-esteem training
  • Problem-solving skills training
  • Bullying management
  • Leadership
  • Coping skills and stress management
 

ผมเองก็ตั้งใจที่จะนำความรู้ทางกิจกรรมบำบัดทางจิตสังคมไปประยุกต์ใช้ในคนไทยสามระดับ โดยขอจดลิขสิทธิ์ชื่อโปรแกรมที่ท่านผู้อ่านเห็นจากชื่อบันทึกนี้ครับ กลุ่มที่ผมตั้งใจไว้และจะดำเนินการเมื่อกลับสู่เมืองไทย ได้แก่ กลุ่มผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตสังคม กลุ่มผู้ใหญ่ที่มีความล้าจากโรคเจ็บป่วยเรื้อรัง กลุ่มเด็กและวัยรุ่นที่ต้องการพัฒนาความสามารถในโรงเรียนพิเศษครับ

  
คำสำคัญ (Tags): #occupational#therapy#health
หมายเลขบันทึก: 52887เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2006 09:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 08:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ใกล้เสร็จสิ้นภาระกิจแล้วเพื่อนเรา!!!

อีกไม่นานคงจะกลับเมืองไทยแล้ว..มาเริ่มต้นภาระกิจที่ยิ่งใหญ่เพื่อชาติต่อไป

ผมสนใจเรื่อง คู่มือ ที่จะทำครับ...คืบหน้ายังไง..นำมาเขียนบันทึกนะครับ 

No problem krab Aek, I will ask your suggestion on how to write it beautifully for Thai communities.

Keep in touch

วิเศษมากครับ และน่าสนใจมากเลยครับพี่ป๊อบ ยังไงอย่าลืมชวนผมไปชวนแจมงานบ้างน่ะครับ ดูแลสุขภาพครับ

you are welcome krab Nong Supat :)

All the best to your study, too.

OT Mahidol plans to invite OTs and PTs for a national conference to be held on March 2007. I will give you more details soon krab.

Take care, P"POP:)

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท