การติดตั้ง Mambo


เมื่อติดตั้ง Web Server เรียบร้อยแล้ว ก็ต้องมาติดตั้ง Mambo กันต่อค่ะ ก่อนอื่นต้อง Download โปรแกรมกันก่อนนะคะ (โปรแกรมฟรีไม่เสียกะตังค์ค่ะ) อย่างที่เล่าในครั้งแรกว่า เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดเพิ่งออกมาเมื่อวันที่ 19 กันยาที่ผ่านมา เราก็มาใช้เวอร์ชั่นใหม่กันเลยดีกว่าค่ะ 

Mambo 4.6.2.zip มีเว็บให้ดาวน์โหลดเยอะมาก  เช่น http://www.mambohub.com

ขั้นตอนการติดตั้ง

  1. ตั้งชื่อเว็บไซต์ก่อนค่ะ เพื่อความสะดวกไปสร้างโฟลเดอร์เป็นชื่อเว็บไซต์เราไว้ที่ ‘C:/WM/www/ชื่อโฟลเดอร์เว็บเราไว้ก่อนก็จะดี
  2. ดับเบิ้ลคลิ๊ก Mambo4.6.2.zip เพื่อทำการติดตั้ง
  3. หลังจากนั้นโปรแกรมจะให้เราคลาย (unzip) ไฟล์ลงไปที่ Directory C:/WM/www/ชื่อโฟลเดอร์เว็บเรา
  4. จากนั้นเปิด Web Brower แล้วพิมพ์ที่ Address ที่ http://localhost/ชื่อโฟลเดอร์เว็บ หรือ http://127.0.0.1/ชื่อโฟลเดอร์เว็บ  จะแสดงผลเป็นหน้า pre-installation check เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติพื้นฐาน  สำหรับเราก็ง่ายๆ ค่ะ คลิ๊กไปที่ปุ่ม Next >> ตรงมุมขวาบนได้เลย
  5. การติดตั้งจะถึงขั้นตอน License ซึ่งจะแสดงเกี่ยวกับลิขสิทธ์ของ GNU/GPL คลิ๊กเครื่องหมายถูกที่หน้า I Accept …. เพื่อยอมรับข้อตกลง หลังจากนั้นคลิ๊กไปที่ปุ่ม Next >> 
  6. การติดตั้งเข้าสู่ Step 1 เพื่อให้กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับ Web server ให้กรอกเพียง 4 ช่องเท่านั้น ดังนี้ค่ะ
      • Host Name : localhost
      • MySQL User Name : root
      • My SQL Database Name : mos4521
      • MySQL Table Prefix : mos_
    • หลังจากนั้นเมื่อคลิ๊กไปที่ปุ่ม Next >>  จะมีหน้าต่างเล็กๆ ขึ้นมาให้กด OK เพื่อยืนยันว่าค่าต่างๆ ที่เราได้กรอกไปแล้วนั้นถูกต้อง
  7. Step 2  กรอกชื่อของเว็บไซต์ แล้วกด Next เพื่อเข้าสู่การติดตั้งขั้นต่อไป
  8. Step 3 ตรวจสอบความถูกต้องของเว็บไซต์ อีเมล์ และรหัสผ่าน ให้เปลี่ยนรหัสผ่านเป็นของเราเอาเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ
  9. Step 4 Congratulations Mambo is Installed  เมื่อติดตั้งมาถึงขั้นตอนนี้ แสดงว่าสำเร็จแล้ว ให้จด Username & Password ไว้กันลืม
  10. หลังจากนั้นเข้าไปทำการลบหรือเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ Installation ใน  C:\WM\www\ชื่อเว็บไซต์เรา  เป็น InstallationXXX (หรืออื่นๆ ตามสะดวก) เพื่อป้องกันคนอื่นมาติดตั้งทับเว็บไซต์ของเรา
  11. หลังจากนั้นเวลาเข้าสู่ระบบให้พิมพ์ Address ในหน้าต่าง Web browser ดังนี้ http://localhost /ชื่อเว็บไซต์/ ก็จะเข้าหน้าเว็บของเราค่ะ
  12. หากจะเข้าไปที่หน้าของการบริหารจัดการ ให้คลิ๊กปุ่ม Administration แล้วใส่ User Name & Password เพื่อจัดการเว็บของเรา
สำหรับการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ไม่ว่าจะ Template หรือการตกแต่งลูกเล่นต่างๆ ค่อยๆ มาศึกษาร่วมกันต่อไปนะคะ
คำสำคัญ (Tags): #sharing
หมายเลขบันทึก: 52883เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2006 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 15:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท