เวทีชุมชนแนวปฏิบัติ ที่ ม.อ.


มีชุมชนหลายชุมชนล้วนแตกต่างภารกิจแต่มีจุดร่วมคือต้องการพัฒนางาน พัฒนาการบริการที่มีคุณภาพ และมีภาพที่ไม่แตกต่างกันคือมีรวมตัว ฟู แฟบ มีคนมายุ ฟู ท้อถอย ปรับตัว ล้วนเป็นวงจรของทุกชุมชน

เวทีชุมชนแนวปฏิบัติเมื่อ 25 กันยายน 2549 วันนั้นมีคนมาเข้าร่วมเวทีจำนวน 28 คน จาก17 ชุมชน ด้วยความคุ้นหน้าคุ้นตากันดี
      ดิฉันเริ่มต้นเวทีด้วยการให้ผู้ร่วมโครงการเริ่มแนะนำบุคคลที่ตัวเองรู้จัก ปรากฏว่าเขารู้จักกันเกือบจะหมดวงครบทุกคนในวง อันนี้นับเป็นข้อดีอย่างหนึ่งของสงขลานครินทร์ที่บุคลากรคุ้นเคยกันเป็นทุนเดิม เรารู้จักกันเกือบหมด ไม่รู้จักชื่อก็เคยเห็นหน้า หรือ เคยได้ยินชื่อ เคยคุยกันทางโทรศัพท์เพิ่งได้เจอวันนี้เอง บรรยากาศเริ่มต้นอย่างเป็นกันเองในความรู้สึกของดิฉัน  มีชุมชนเข้าร่วมหลากหลายเช่นชุมชนน้องใหม่ที่มีแต่ชื่อแต่ใฝ่เรียนรู้เช่นชุมชน "นโยบายและแผน" "สารบรรณ" "ชุมชนเลขานุการ" "ชุมชนนักประชาสัมพันธ์"  ประเภทชุมชนเข้มแข็งเช่น "เบาหวาน" "วางแผนส่งต่อผู้ป่วย" "บรรณารักษ์นักบริการ" "ชุมชนภาควิชาพยา-ธิ" "วิจัยระบบนำส่งยา" "ชุมชน Mamboo"   "ชุมชนคนรักกฎหมาย"  และชุมชนที่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นชุมชนแต่มาร่วมด้วยใจรัก คือ"ชุมชนร่วมใจ(5ส.)" ฯลฯ  
  ช่วงแรกดิฉันขอให้ทุกคนบอกความคาดหวังของการมาร่วมโครงการในวันนี้  
   ช่วงที่สองทีมfacilitator(ซึ่งเป็นคณะกรรมการKM)ร่วมเสวนาประเด็น "ชุมชนแนวปฏิบัติกับการพัฒนาองค์กร" ในมุมมองของกรรมการ เพื่อจูนแนวคิดร่วมของชุมชนในเบื้องต้นว่าวันนี้พวกเราที่มามีความเชือว่า ชุมชนแนวปฏิบัติพัฒนางองค์กรได้
   จากนั้นแต่ละชุมชนที่มีลักษณะแตกต่างเริ่มเล่าเรื่องราวชุมชน การก่อตั้ง ปฏิสัมพันธ์และรูปแบบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนของสมาชิก  เล่าประสบการณ์ความภาคภูมิใจและ ผลงานความเป็นไปของชุมชน
    วันนั้นสภาพห้องเหมาะกับการพุดคุยเป็นกลุ่มแบบนี้อยู่แล้วประกอบกับจำนวนคนเข้าร่วมไม่มากคน เราจึงรวมกลุ่มคุยกันในห้องเดิม ไม่ได้แยกห้องย่อยเหมือนที่คิดไว้ทำให้ได้อีกอารมณ์ที่ต่างจากห้องย่อยไปอีกแบบ     ช่วงท้ายสุดมีการทำ AAR  ได้ความว่าผู้เข้าร่วมโครงการคาดหวังจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้หนักไปทางรับฟังการดำเนินการของชุมชนอื่นๆ ใน มอ. ส่วนที่ได้มากกว่าความคาดหมายคือไม่คิดว่าจะมีชุมชนหลายชุมชนล้วนแตกต่างภารกิจแต่มีจุดร่วมคือมีความต้องการพัฒนางาน ต้องการบริการให้มีคุณภาพ และมีภาพที่ไม่แตกต่างกันคือมีรวมตัว ฟู แฟบ มีคนมายุ(มีคนมาเชียร์ให้คุยกัน) ฟู ท้อถอย ปรับตัว ล้วนเป็นวงจรของทุกชุมชน ที่น้อยกว่าความคาดหวังมีจำนวนคนมาร่วมในวันนี้น้อย กว่าที่คิด และจะเก็บเอาประสบการณ์ในวันนี้ไปเป็นประสบการณ์ในการดูแลชุมชนที่ตนเองดูแลอยู่ 
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ 
     1.จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่เป็นประเด็นสำคัญ (ในระยะหลังมักจะเข้ามาตอกย้ำดิฉันเรื่อยๆในเรื่องจำนวนคนกับคุณภาพของโครงการ)  
      2.การออกแบบเวทีต้องปรับเปลี่ยน ยืดหยุ่นตลอดเวลาหากมีปัจจัยอื่นเข้ามาต้องปรับเวทีให้เหมาะสมกับกลุ่มคน เช่นในวันนี้เดิมจัดให้มีการแบ่งย่อยเล่าเรื่องกัน แต่พอถึงเวลาจริงเรามีชุมชนส่วนใหญ่เริ่มหัดเดิน ที่แข็งแรงแล้วมีจำนวนไม่มาก คนอยากฟังชุมชนที่แข็งแรงหากแบ่งกลุ่มย่อยจะทำให้ผู้เข้าร่วมทุกกระจายไปตามห้องไม่มีโอกาศได้ฟังชุมชนแข็งแรงตามที่ตนต้องการเพราะเนื่องจากเราจัดแบ่งกลุ่มให้ดูเท่าๆ กันทุกห้อง  ทำให้ทุกคนสามารถพูดคุย ซักถามกันในหลายๆ มุม ได้ซักถามประเด็น ตรงใจของทุกๆคน 
    3'วันนี้ดิฉันภูมิใจที่สามารถดูแลเวทีให้ทุกคนได้ประโยชน์และทุกคนมีคุณค่าในเวทีนี้  และในวันนั้นมีชุมชนตัวอย่างที่ได้รับรางวัล ไปร่วมงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ในเดือนธันวาคม 3 ชุมชนคือ "ชุมชนวิจัยระบบนำส่งยา"ซึ่งเป็นชุมชนของนักวิจัย  "ชุมชนเบาหวาน" ซึ่งเป็นชุมชนที่ผลักดันโดยกลุ่มพยาบาลให้แก่คนไข้เบาหวาน  และ"ชุมชนภาควิชาพยา-ธิ"  เป็นชุมชนของภาควิชาที่สามารถดำเนินการให้ทุกคนในภาควิชามองเห็นคุณค่าของตนเองดึงศักยภาพที่มีอยู่ของตนมาใช้เสริมกันในการทำงานของภาควิชา

หมายเลขบันทึก: 52875เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2006 05:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

อรุณสวัสดิ์ค่ะ  คุณเมตตา

  • ตรงคำว่า  หมดวง  ครูอ้อยอ่านตั้งนานค่ะ  ตอนแรกอ่านว่า  หม..ดวง  เอ  แล้วมีความหมายว่าอย่างไร  หรือว่าทางหมอเขาคำศัพท์แบบนี้  อ่านอีกที  หมด..วง  อิอิ  ครูอ้อยอ่านผิดเองค่ะ
  • สภาพ  ฟู แฟบ มีคนมายุ  นี่แปลกดีค่ะ  หมายความว่า  ขยัน  ขี้เกียจ  มือไม่พาย  อะไรทำนองนี้ใช่ไหมคะ
  • น่าภูมิใจนะคะที่ประสบความสำเร็จ  บางแห่งสำเร็จแต่ราคาคุย  ปฏิบัติไม่เอาไหน  อิอิ  ครุอ้อยพูดตรงไปค่ะ
  • ส่งกำลังใจไปให้นะคะ 
  • คุณไมโต  ให้ถามคุณเมตตาว่า  ที่หาดใหญ่ฝนตกหรือเปล่าคะ  อิอิ
  • ขอบคุณค่ะ  สวัสดีค่ะ

พี่เมตตา ทำงานหนักจัง

พักผ่อนบ้างนะครับ 

  • ครูอ้อยตามมาถามถึงที่นี่เลยนะครับ
  • ดีใจจังที่ชุมชนภาควิชาพยา-ธิได้รับเกียรติให้ไปร่วมงานใหญ่ระดับประเทศ
  • การเติบโตของชุมชนพยาธิ เป็นเรื่องน่าสนใจครับ เพราะชุมชนพยาธิก็เหมือนกับระบบราชการทั่วไป ที่ต่างคน ต่างก็ทำงานของตัวเองไปวันๆ เพียงแต่วันหนึ่ง ฟ้าเริ่มใส หัวหน้าภาคคนใหม่ เริ่มทำอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม แล้วปรากฎว่าโดนใจของลูกภาคอย่างจัง ไฟก็เลยติดแรงครับ
  • ที่จริงแล้วในภาควิชาพยาธิ มีคนเก่งค่อนข้้างมากครับ ก็คงเหมือนกับอีกหลายที่ แต่คนเก่งเหล่านี้ มักจะปกปิดร่างกายด้วยใบไม้ มองแยกจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ค่อนข้างยาก แต่อาจารย์ปารมีก็ใช้แว่นขยายส่องเอา แล้วไปดึงตัวมาทำงานกันหมดครับ
  • รูปแบบการทำงานในภาควิชาฯเปลี่ยนแปลงไป จากที่เป็นโครงสร้างอย่างเป็นทางการ ที่มักจะได้ผู้มีตำแหน่งทางบริหารมานั่ง แต่งานไม่เดิน ไปเป็นโครงสร้างแบบไม่เป็นทางการ เป็นลักษณะ project เฉพาะกิจ ตั้งเป็นคณะทำงาน มีเฉพาะคนที่อยากจะทำ ใครไม่อยากทำไม่ต้องมา งานก็เลยเดินครับ
  • การทำงานในกลุ่มคนที่อยากจะทำร่วมกัน นี้เป็นบรรยากาศที่สนุกครับ ดีกว่าต้องทำตามหน้าที่ เขาถึงบอกว่าทำด้วยใจสั่งมา เหมือนที่พี่โอ๋-อโณ เคยพูดถึง
  • อยากทำอะไรใหม่ อาจารย์ปารมีไม่เคยขัดครับ อยากลองก็ได้ลอง ดูจากปกสายใยพยาธิซิครับ ว่าเราเปลี่ยนมาแล้วกี่ครั้ง เริ่มจากขาวดำ- พิมพ์ 1สี -พิมพ์ 2 สี- พิมพ์3 สี-เปลี่ยนรูปแบบการจัดใหม่ นี่อีกไม่นานเราคงจะพิมพ์ 4 สี แล้วก็เปลี่ยนกระดาษปกใหม่ให้หนาขึ้น (ไม่ทราบว่าอาจารย์จะอนุมัติหรือเปล่า) มีปัญหาอะไรขอให้แก้ไขจริง อาจารย์ปารมี support ให้ทุกทางครับ ทั้งเงินทุน และกำลังใจ นี่ถ้ารวมเลี้ยงอาหารเย็นซะหลายๆมื้อด้วยก็คงจะดีนะ
  • การทำงานเป็นชนิดเชิงรุกมาขึ้น แทนที่จะตั้งรับ แบบรอให้ปัญหาเกิดแล้วค่อยแก้ไข ก็เปลี่ยนมาเป็นแบบ กันไว้ก่อนไม่ต้องรอให้เกิดปัญหา
  • คิดใหม่ ทำใหม่ ที่ไม่ใช่แบบไทยรักไทย โดยใช้กระบวนการกลุ่ม ก็เลยได้นวตกรรมใหม่ แบบ Patho Sport Day การแข่งขันกีฬาระหว่างชั้นภายในภาควิชาพยาธิวิทยา ที่กินระยะเวลายาวที่สุดของการจัดแข่งกีฬาภายใน คือยาวถึง 3 เดือน
  • เรากำลังเริ่มจับงานใหม่ การกระตุ้นให้บุคคลกรทำงานวิจัย จากงานประจำ (R2R) ได้ทั้งbest practice สำหรับการใช้งานจริง และผลงานตีพิมพ์ตามที่มหาวิทยาลัยต้องการ จับตาดูให้ดีครับ อย่ากระพริบตา
  • และอื่นๆ อีกมากมาย
ขอบคุณ ครูอ้อยค่ะ ได้แก้ไขให้กระจ่างตามที่ครูอ้อย มองเห็นแล้วค่ะ  ฝากตอบคุณไมโต ที่หาดใหญ่ฝนตกหนอยๆ  แต่ตอนนี้คุณเมตตาอยู่ที่ปัตตานีค่ะ ออกมาตั้งแต่เช้าแล้ว
คุณจตุพร  ขอบคุณค่ะ มาเป็นแรงใจกันเสมอๆ เราก็ทำงานหนักพอกันแหล่ะไม่ต้องมาว่าเค้าหรอก
สำหรับคุณไมโต ยินดีต้อนรับค่ะ อ่านไปอ่านมาคุณก็เข้ามาในบันทึกคุณเมตตา จนได้  สำเร็จ ๆ เป็นความภูมิใจในรอบวันเชียวค่ะ ขอบคุณค่ะสำหรับการแวะเวียนมาต่อยอด ทำให้เห็นภาพชัดขึ้น 
  • ผมว่าจริงๆ แล้ว เราน่าจะรู้จักกันแบบ F2F นะ ผมรู้สึกคุ้นหน้าจังเลย เพียงแต่นึกไม่ออกว่า เคยเจอกันที่ไหนน้า จะเป็นที่สนอ. คณะวิทย์ อ่างน้ำ สนามมวย ศูนย์เด็กปฐมวัย หรือที่ไหนสักที่ ที่เราเคยเจอกันมาก่อน
  • ด้วยความยินดีครับ ผมก็ติดตามอ่านบันทึกของคุณเมตตาสม่ำเสมอครับ เพียงแต่ผมเป็นคนขี้อาย

ที่อื่นๆ ก็น่าจะเป็นไปได้ แต่ที่ สนามมวย...น่าไม่ใช่นะคะ  ขอบคุณค่ะ

ผมแค่ล้อเล่น ครับ ถ้าจำไม่ผิด ผมว่าเราเจอกันแถวศูนย์เด็กปฐมวัย เมื่อสัก ปี หรือสองปีที่ผ่านมาหรือเปล่าครับ

ผมชอบอ่านข้อคิดเห็นของพี่ไมโต ผ่อนคลายดี...พี่จิ๊บ ก็รับมุขดี...

เบาๆสบายๆโล่งๆ

ขอให้กำลังใจทุกคนครับ 

 

ขอบคุณครับ คุณจตุพร อากาศบนดอยเป็นอย่างไรบ้างครับช่วงนี้ เริ่มหนาวหรือยังครับ หรือฝนยังตกอยู่

แน่นอนเลยค่ะ ดิฉันเปิดเข้าไปดูรูปถ่ายท่านแล้ว เราเจอกันที่ ศูนย์เด็กปฐมวัย มีหลักฐานอ้างอิง เด็กหญิงคนเล็กที่ท่านอุ้ม วัยเดียวกับคนนี้เลยค่ะ อนุบาล 1

Pam7

ดิฉันนึกออกแล้ว กัลยาณมิตรเก่านี้เอง ขอบคุณค่ะ

นั่นซินะครับ ถึงว่า ว่าคุ้นหน้าคุณเมตตาจังเลยครับ แสดงว่าผมทักไม่ผิดคน ถ้าไปเจอหน้าสนามมวยต่อไปผมจะได้ทักถูกคน ของคุณเมตตา ชื่ออะไรครับ  ท่าทางจะโตขึ้นแล้วสวยเหมือนแม่ ตอนนี้เรียนที่ไหนแล้วครับ ของผมเจ้าตัวโตชื่อน้ำฝน ตัวเอียดชื่อน้ำฟ้า ทั้งสองคนเรียนอยู่ธิดาครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท