นักเรียนเชื่อถือการเรียนแบบติวเข้มมากกว่าการเรียนในชั้นเรียนตามปกติ


ครูอ้อยเป็นครูรัฐบาล นักเรียนไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเรียน ถ้าคิดแบบนี้ก็ผิดนะคะ รัฐบาลต้องเสียเงินในการจ้างครูอ้อยเดือนละหลายหมื่น

นักเรียนสมัยนี้แตกต่างจากนักเรียนสมัยก่อนมากเลย  ทั้งที่นักเรียนสมัยนี้มีเครื่องมือที่ช่วยในการเรียนมากกว่า  รวมทั้ง สื่อ  อุปกรณ์  และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

นักเรียนสมัยนี้เชื่อถือการเรียนติวเข้มมากกว่าการเรียนในชั้นเรียนปกติ

วันหนึ่งครูอ้อยสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ตามปกติ  เมื่อนักเรียนคนหนึ่งเข้าใจในบทเรียน  แต่กลับพูดว่า  " ครูสอนเหมือนที่ผมเรียนพิเศษเลยครับ "

แน่นอนค่ะ  โรงเรียนที่สอนพิเศษ  เขาต้องนำเอาหลักสูตรที่ครูสอนตามปกติไปศึกษาและสอนตามนั้น  จะได้รู้แนวการออกข้อสอบของครูประจำ

และรู้สึกว่านักเรียนจะเชื่อฟังครูที่สอนพิเศษมากกว่าครูอ้อยเสียอีกอาจจะเป็นเพราะ

ครูอ้อยเป็นครูรัฐบาล  นักเรียนไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเรียน  เรียนฟรี 12 ปี ถ้าคิดแบบนี้ก็ผิดนะคะ  รัฐบาลต้องเสียเงินในการจ้างครูท่านอื่นๆ  รวมทั้งครูอ้อยเดือนละหลายหมื่น

ในความเป็นจริงแล้ว  นักเรียนน่าจะเชื่อถือครูประจำมากกว่า  เพราะมีสิทธิขีดเขียนชะตากรรมนักเรียนในการสอบ  แต่ไม่เป็นเช่นนั้น

อาจจะเป็นเพราะมาตรการเลื่อนชั้นให้หมด  ห้ามตก  นั่นเอง  นักเรียนจึงไม่ค่อยเชื่อถือครูประจำ  แต่กลับไปเชื่อครูติวเข้มเพราะนักเรียนจะสอบเข้าโรงเรียนอื่นได้เพราะ  ครูสอนติวเข้ม (ใช่หรือ) 

แล้วที่เรียนภาษาอังกฤษอยู่สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง  ไม่เป็นผลทำให้นักเรียนรู้แล้วสอบผ่านหรอกหรือ (น่าน้อยใจจริง)

ยิ่งฟังข่าวตอนบ่ายสามโมงว่า  นักศึกษามหาวิทยาลัย  ไม่มีความสามารถเรียนแบบช่วยตัวเองได้เลย  เรียกร้องให้ทางมหาวิทยาลัยเปิดสอนแบบติวเข้ม 

สาเหตุเพราะมีความเชื่อถือการเรียนแบบติวเข้ม  เพราะนักศึกษาผ่านการสอบเข้ามหาวิทยาลัยด้วยการเรียนแบบติวเข้มนั่นเอง

แล้วอะไรจะเกิดขึ้นอีก

ก็คือ  เยาวชนไทยจะไม่รู้จักการเรียนด้วยตัวเองเลย  ไม่มีการลำดับความคิดและความสำคัญ  รอที่จะให้ผู้อื่นมาช่วยอยู่ร่ำไป

นักเรียนเชื่อถือการเรียนแบบติวเข้มมากกว่าการเรียนในชั้นเรียนตามปกติ  จึงมีสาเหตุด้วยประการฉะนี้ 

คำสำคัญ (Tags): #enginstruction#englishteacherkm#siriporn
หมายเลขบันทึก: 52837เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2006 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

เด็กรุ่นใหม่ทุกข์กับการเรียนที่ต้องแข่งขัน   วิธีการใดที่จะทำให้เขาคิดว่าเขาต้องเอาชนะการแข่งขันได้  ก็จำต้องทำ    

อาจจะถึงขั้นที่เรียกได้ว่ามันฝังวิธีคิดแบบนี้   เหมือนกับฝังโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้าไปในหัวเด็กเสียแล้ว   เป็นทั่วทั้งประเทศ   ซึ่งต้องปฏิรูปวิธีคิด วิธีเรียนกันทั้งระบบเลยทีเดียว  ตั้งแต่พ่อ-แม่  ครู  (ไม่เฉพาะครูเล็ก  ครูใหญ่ด้วย)   ซึ่งที่จริงผู้ใหญ่นี่แหละตัวดี   ทำให้เด็กต้องทุกข์เช่นนี้

คุณ Thawat คะ 

  • มีผู้ปกครองนักเรียนหลายคนมาติดต่อครูอ้อยบ่อยครั้งมากที่จะให้ไปสอนลูกที่บ้าน
  • และรับอาสาหาสมาชิกให้ด้วย  แต่ครูอ้อยปฏิเสธ
  • กลับบอกไปด้วยว่าไม่เห็นด้วยกับการเรียนพิเศษ  หากแต่ลูกๆสนใจในเวลาเรียนเป็นเพียงพอแล้วในระดับประถมศึกษา

ในความเป็นจริง  เด็กๆต้องสอบแข่งขันกันตั้งแต่ชั้นอนุบาล  มีโรงเรียนรับติวเข้มด้วย แต่ที่โรงเรียนไม่ใช่นะคะ

ขอบคุณค่ะ 

อรุณสวัสดิ์ค่ะ คุณวัฒนา

  • ขอบคุณสำหรับเพลงอันแสนไพเราะที่ส่งมาให้ฟังยามดึกแก้เหงา
  • ที่โคราชฝนตกหนักหรือเปล่าคะ  ครูอ้อยจะไปโคราชวันเสาร์อาทิตย์นี้ค่ะ  ขอบคุณสวัสดีค่ะ
  • ข้อมูลหายไป
  • แวะมาบอกพี่อ้อยว่า ตั้งแต่จำความได้ไม่เคยไปเรียนพิเศษครับ ยิ้ม ยิ้ม
  • กำลังทำงานวิจัยยุ่งๆอยู่เลยครับผม
  • ขอบคุณมากครับผม
อยากพบพี่อ้อยที่โคราชครับ

อรุณสวัสดิ์ค่ะคุณขจิต

  • ครูอ้อยตั้งใจจะไปโคราชวันหยุดสัปดาห์นี้ 
  • แต่พ่อบ้านคงไม่ว่าง 
  • ห้าสิบห้าสิบค่ะ  ไม่ค่อยแน่ใจ 
  • ถ้าได้ไปครูอ้อยจะกริ๊งไปหานะคะ 
  • ครูอ้อยก็อยากพบคุณขจิตคนเก่งเหมือนกันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
วันหนึ่งมีโอกาสไปเดินซื้อของที่ห้างแห่งหนึ่ง  เป็นเวลา 16.00 น.โดยประมาณ  ผู้คนจะสับสนอลหม่านมากเลย  คงเป็นพราะโรงหนังเลิกมั๊ง  ครูอ้อยคิด  แต่ผิด  ไม่ใช่ค่ะ  เป็นเพราะนักเรียนไปเรียนพิเศษ แบบติวเข้ม  แบบหวังผล  แบบชัวร์  มีหลายแบบที่เขาเรียนกัน  ซึ่งแต่ละแบบเสียเงินจำนวนมากมาย  ต้องจองกันล่วงหน้าด้วย  อยูกินนอนกับเขาเลยก็มี  โอ้โฮ  เรื่องจริงค่ะ  เป็นธุรกิจที่เบิกบานมากเลยค่ะ

แฮะๆ ขอแสดงความคิดเห็นนิดหนึ่งว่า สมัยนี้เค้ามีเรียนพิเศษกันแบบเอาเป็นเอาตายมั๊กมาก ..ไม่เห็นเหมือนสมัยก่อน แต่ต้องขอบอกว่า บางแห่งก็มีคุณภาพ อยู่ที่การศึกษาข้อมูลก่อนเข้าเรียน และความตั้งใจจริงในการเรียน แต่โดยส่วนตัวแล้ว จ๋าไม่เคยไปด้เรียนพิเศษจากสถาบันอื่นนอกจากโรงเรียนที่ตัวเองจัดขึ้น ซึ่งก็เป็นการทบทวนมากกว่า และคิดว่า  การเรียนพิเศษ สำหรับตัวเองไม่จำเป็น ถ้าเราทบทวนตลอดเวลาอยู๋แล้ว อยู่ที่ค่านิยมด้วยคะ เราต้องปลูกฝังค่านิยมใหม่คะ

  • อดพบพี่อ้อยเลย
  • ไม่เป็นไรเอาไว้มาโครราชค่อยคุยกันก็ได้เนอะ
  • ขอบคุณครับผม
  • สมัยนี้ไปที่ไหนก็จะมีการติวเข้มมากเลย
  • แบบนี้  หันมาเรียนแบบติวเข้มเสียเลย  ไม่ต้องไปเรียนแบบปกติ..เป็นคำพูดของผู้ปกครองหลายคน
  • จึงจำเป็นต้องไปศึกษาว่า..การสอนแบบติวเข้มเขาทำกันอย่างไร  จึงมีประสิทธิภาพ  แล้วนำมาสอนในโรงเรียนแบบปกติบ้าง
อ่านแล้วก็น่าเห็นใจคุณครูนะครับ...เมื่อสมัยผมเรียน ป. 3 ป.4...เป็นโรงเรียนบ้านนอก...ไม่มีการสอนพิเศษ...คุณครูประจำชั้นเป็นที่รักและเคารพของผมและเพื่อน ๆ มาก...ทั้งที่คุณครูไม่เคยดุพวกเราเลย...แต่เราก็ทำตามที่คุณครูบอกด้วยความเต็มใจ...คุณครูของพวกเราชื่อ "ครูสหเทพ ดาศรี"...ชื่อเพราะมาก...ว่าไหมครับคุณครูอ้อย...

คุณครูอ้อยคงจะเป็นคุณครูในเมือง...อายุน่าจะอ่อนกว่าคุณครูของผมนิดหน่อย...ไม่ถึงสิบปี...คุณครูในเมืองคงต้องปรับตัวให้ทันเด็ก ๆ น่ะครับ...ตามทัศนะผม...สำหรับผม...คนแนวโบราณ...โบราณมาก...ประมาณว่าพวกโซฟิสต์โน่นแหนะ...ผมจึงเลือกที่จะอยู่กับเด็ก ๆ บ้านนอกเพื่อจะได้ซึมซับบรรยากาศแบบโบราณ ๆ แทนที่จะปรับตัวให้ทันเด็ก...เพราะแบบนี้ชีวิตเหนื่อย...

ผมมีโอกาสมาที่ปากพนัง...ได้รู้จักกับนักเรียนตัวน้อย...อนุบาล 3 ชื่อ "น้องผี่" สำเนียงใต้ หรือน้องพี่ สำเนียงกรุงเตบ...สอบถามได้ความว่าได้ชื่อนี้มาเพราะเป็นลูกแฝด...

ผมไม่ได้สอนน้องผี่นะครับ...ผมเป็นเพื่อนกับเขามากกว่า...ผมเรียนรู้กับเขามากกว่า...นี่แหละหนา...พอเราอายุมากขึ้น...เราต้องมาเรียนรู้ที่จะเป็นเด็กอีกครั้งหนึ่ง...คุณครูอ้อยเคยลองไหมครับ...มันอาจจะช่วยให้เด็กกลับมาเชื่อฟังคุณครูอ้อยมากกว่าครูสอนพิเศษก็ได้นะครับ...เด็กน่าจะเชื่อ "เพื่อน" มากกว่าครูนะผมว่า...

หวัดดี่ครับ...(หรอยจังสำเนียงใต้นิ)

สวัสดียามเช้าค่ะคุณ...สวัสดิ์

  • ครูอ้อยยอมรับว่า...อ่านการแสดงความคิดเห็นของท่านแล้วมีความสุข...เหมือนได้พูดกับตัวเอง  เพราะความคิดเห็นที่คล้อยตามกันไป 
  • ในเมื่อมาอยู่ในสังคมเมือง..ก็ต้องทำตัวและเปลี่ยนกระบวนยุทธ์ในการสอนไปด้วย   ..และที่สำคัญต้องเข้าใจธรมชาติของนักเรียน  มีจิตวิทยา  ใช้ความเป็นเพื่อน  ซึ่งครูอ้อยก็ใช้ในการสอนทุกครั้งค่ะ
  • ขอบคุณค่ะกับคำสอนเหมือนเพื่อนที่เข้าใจกัน  และจุดมุ่งหวังเดียวกันคือ  พัฒนาการศึกษา  ถึงมันจะช้า   แต่น้ำมันยังเซาะหินได้ฉันใด   เราก็ไม่หยุดนิ่งที่คิดะทำต่อไป

ขอบคุณค่ะ  ...  เข้ามาแนะนำครูอ้อยยินดีรับเสมอค่ะ

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท