อีกก้าวของ ... การพัฒนาข้อมูล HOMC


การเก็บข้อมูลผู้ป่วยลง HOMC แบบ Real Time

วันที่  29 /09/49  คุณหมอโอ ได้นัดประชุมน้องๆ ที่ลงบันทึกข้อมูลของผู้ป่วยนอก HOMC  ผู้ที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 16  คน มี พี่มอม ปิ่ง ยุ้ย จูน อ้อม และน้องๆ  คุณหมอยุทธศักดิ์ ลาพักร้อน จึงไม่ได้ประชุมด้วย  หัวข้อที่ประชุมกัน คือ

1. ให้น้องๆ บันทึกข้อมูลผู้ป่วยนอกที่มารับบริการ ให้เป็นปัจจุบัน คือ Real  Time  โดยจะเริ่มในวันที่ 2/10/49  เพื่อเก็บข้อมูลระยะเวลาการมารับบริการของผู้ป่วยตามจริง  

- ซึ่งระบบเดิม จะทำรับผู้ป่วยเข้าห้องตรวจพบแพทย์ล่วงหน้า ทำให้เวลาไม่เป็นปัจจุบัน  จึงทำให้ข้อมูลไม่สามารถนำมาเป็นตัวชี้วัดคุณภาพ ความพึงพอใจของผู้มารับบริการได้ 

 ทางกลุ่มงานการพยาบาล จึงทำ Mannual มือ  ซึ่งทำให้เสียเวลา และงานซ้ำซ้อน ทั้งๆ ที่สามารถเก็บข้อมูลได้จาก HOMC

- ในระยะแรกๆ ขอให้น้องจูน ไปเป็นพี่เลี้ยงช่วยสอนน้องๆ ก่อนจนกว่าน้องๆ จะมีความชำนาญ

- คุณหมอโอได้ประสานกับหัวหน้าแผนกผู้ป่วยนอก คือคุณหมอพรชัย และ คุณสมพิศ ยินดีให้ความร่วมมือ

- เมื่อเก็บข้อมูลแบบ Real Time แล้ว ประมาณ 2 อาทิตย์ จะทำการประเมินผล  จากรายงาน HOMC  เพื่อดูผล และนำไปแก้ไขพัฒนางานต่อไป

- แฟ้มผู้ป่วยทุกแฟ้ม ก่อนออกจากห้องตรวจ ต้องผ่านเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลก่อนทุกครั้ง 

2. การให้รหัสโรคยังพบความผิดพลาด รหัสโรคที่ควรแก้ไข คือ

        -  ผู้ป่วยมารับยา ARV โดยที่ไม่ติเชื้อ HIV ไม่ต้องใส่รหัส Z 21

         - ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV และต้องการตรวจเลือดให้ใส่รหัสโรค Z 206 

         - ผู้ป่วยที่มาขอคำปรึกษาเรื่องการติดเชื้อ HIV โดยที่ยังไม่ติดเชื้อ ให้ใช้รหัส Z 719  แต่ถ้าผู้ป่วยติดเชื้อ HIV มาขอคำปรึกษาให้ใช้รหัส Z 717

         - กรณีที่อ่านลายมือแพทย์ไม่ออก หรือ Code โรคไม่ได้ ให้ใส่รหัส UN  ใน HOMC ไว้ก่อน เพื่อติดตามแฟ้มมาใส่รหัสโรคให้ถูกต้องต่อไป

3. โปรแกรม NAPHA ของ Med + Ped จะนำ Book  มาลงที่งานเวชสถิติ ตึก 8 ชั้น 3 เนื่องจากโปรแกรมเดิม ไม่สามารออกรายงานได้ จึงสร้างโปรแกรมใหม่ เพื่อจัดเก็บข้อมูล และ สามารถส่งรายงานได้  มอบให้น้องพีรกานต์ เป็นผู้รับผิดชอบ

4. เรื่องการลาของน้องๆ  ผู้ที่ลาขอให้แจ้งเพื่อนร่วมงานล่วงหน้าด้วย และ อย่าลาบ่อย ให้น้องประวีณา เป็น Center เพื่อจะได้ให้เพื่อนไปแทนได้  ถ้าแก้ปัญหาไม่ได้ให้แจ้งพี่อ้อม

5. การประเมินผล ประจำเดือนสิงหาคม 49  เรื่องการลงข้อมูล HOMC ให้ครบถ้วน 95 % นั้น  ผลปรากฎว่าห้องตรวจประกันสังคมไม่ผ่าน 1 คน จึงไม่ได้รับรางวัล

6. การประชุมครั้งต่อไป ควรเชิญน้องผู้ช่วยเหลือคนไข้จากแผนกตา หู ศัลยกรรม และ ER มาร่วมประชุมด้วย เนื่องจากทั้ง 4  หน่วยงานน้องผู้ช่วย  เป็นคนลงข้อมูลเอง

ปิดประชุม 16.30 น.  ต้องขอขอบคุณคุณหมอโอและทีมงานทุกๆ คนที่ร่วมด้วยช่วยกัน ทั้งแรงกายแรงใจ ที่พยายามช่วยกันพัฒนาข้อมูล HOMC เป็นก้าวใหม่ ที่ต้องรอการพิสูจน์ต่อไป

        

คำสำคัญ (Tags): #homc#แบบ#real#time
หมายเลขบันทึก: 52742เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2006 17:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 09:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แวะมาเยี่ยมดูครับ

สงสัยครับ เรื่องรหัสท่าทางจะจำยากมากเลยนะครับ เท่าที่ยกตัวอย่างมาผมว่ามันไม่ค่อยสื่อเดี่ยวโยงกับโรคเท่าไหร่ น่าจะทำให้มีโอกาสเสี่ยงผิดง่ายด้วยไม๊ครับ

ขอบคุณที่อ้อมสรุปให้ทราบค่ะ เพราะพี่มอมกับปิ่งอยู่ประชุมด้วยไม่ครบ ถูกตามออกมาประสานเรื่องงานด่วนที่ต้องเตรียมตั้งรับผู้ป่วยลงทะเบียนในวันจันทร์ค่ะ

ใช่ค่ะ  คุณจันทร์เมามาย เรื่องการให้รหัสโรคค่อนข้างยาก  สำหรับผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ และ ไม่ได้อบรมการให้รหัสโรคมาโดยตรง ก็จะงงๆๆๆๆ

ส่วนใหญ่น้องๆๆ ก็จะใช้ทั้งความจำ และใช้หนังสือคู่มือเปิดหารหัสโรค 

ที่ยกมานั้น เป็นรหัสที่น้องให้ผิดพลาด เนื่องจากผู้ป่วยที่มารับบริการ ยังไม่เป็นโรค เพียงแต่มาตรวจเลือด มาขอคำปรึกษา ซึ่งรหัสโรคจะแบ่งเป็นคนไข้ติดเชื้อ HIV  และทั่วไป รหัสโรคจะแตกต่างกัน ถ้าน้องไม่เข้าใจ หรืออ่านไม่ออก ก็จะให้รหัสผิดเพี้ยนไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท