เรียนรู้ : การเปลี่ยนแปลง


เรียนรู้ : การเปลี่ยนแปลง จากสัปดาห์ที่ผ่านมาพวกเราส่วนใหญ่ใช้เวลาหมดไปกับการเรียนรู้เครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติตัวใหม่ จากบริษัทโดยพี่ศุภวัฒน์ ซึ่งอดทนกับพวกเรา ที่ดูเหมือนว่าจะมี "คำถาม" และ "ข้อสงสัย" พอสมควร

จำได้ว่าเมื่อ 10 ปีก่อนผู้เขียนเข้ามาทำงานใหม่ ๆ มีความทรงจำเกี่ยวกับเครื่องตรวจวิเคราะห์ที่ใช้ในงานประจำวันดังนี้.....

  • เครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ Hitachi 704 เป็นเครื่องแรกสุด ๆ เพราะก่อนหน้านี้ พี่ ๆ เขาเล่าให้ฟังว่าต้องใช้วิธี manual เอา นับว่าเราก็ยังโชคดีอยู่มากที่เข้ามาตอนที่มีเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติใช้แล้ว (ตอนนี้เสียไปแล้วกำลังทำพิธีฌาปนกิจ เนื่องจากยังอยู่ในช่วงไว้อาลัย)
  • เครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ Hitachi 717 ปัจจุบันก็ยังใช้การได้ค่อนข้างดี มีเสียบ้างแต่ยังแก้ไขได้อยู่ ตอนนี้นำไปปรับใช้เฉพาะการตรวจบางการทดสอบ และการทดสอบพิเศษอื่นๆ 
  • เครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ Hitachi 917 เป็นตัวหลักที่ใช้ในการทดสอบ Routine ในทุกวันนี้ เพียงเครื่องเดียว ซึ่งไม่สามารถรองรับปริมาณงานที่มีมากขึ้นในปัจจุบันได้ สังเกตุได้จากเสียงโทรศัพท์ตามผลที่มีมากในช่วงเช้า จนไม่มีใครอยากรับโทรศัพท์ (แต่มันจำเป็น)
  • เครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ Modular (ที่กำลัง Train) แม้ชื่อจะแตกต่างจากเดิม แต่ก็มาจากบริษัทเดียวกันกับเครื่องข้างบนนั่นเอง

เครื่อง Modular ตัวใหม่ล่าสุด นอกจากชื่อจะแตกต่าง ระบบก็ค่อนข้างจะแตกต่างไปกว่าเดิมเช่นกัน แม้ Trainer จะพยายาม  design รูปแบบให้แตกต่างน้อยกว่าเดิมให้มากที่สุดก็ตาม....

ผลก็เลยเสียงบ่นมาพร้อม ๆ กันกับเสียงชม (ไม่เว้นแม้แต่ตัวเอง).... 

ไม่ใช่ว่าพวกเราจะไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงน๊ะ แต่ถ้าหากการเปลี่ยนแปลง ก็คือการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ต้องอาศัยความระมัดระวัง จากความเคยชิน จากเครื่องเดิม ๆ และคงต้องอาศัยระยะเวลา.....

แต่อย่างไรก็ตาม ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลงทั้งนั้น...

นั่นคือเปลี่ยนในทางที่ดีขึ้นหรือแย่ลง แต่การเปลี่ยนแปลงนี้ผู้เขียนคาดว่าน่าจะดีขึ้น

  • ผู้รับบริการได้ผลเร็วขึ้น
  • เครื่องตัวใหม่อยู่ข้างนอก ใกล้จุดเตรียมสิ่งส่งตรวจ เราก็สะดวกขึ้น  เอาเป็นว่าปั่นแยกเลือดเสร็จ ป้อนเข้าเครื่องได้เลย

แม้ก่อนหน้านี้ผู้เขียนและคนอื่น ๆ ก็อยากจะลองเปลี่ยนเครื่องจากบริษัทอื่นดูบ้างเหมือนกัน โดยเฉพาะมีระบบ Clotted detector ซึ่งเป็นการตรวจจับ Fibrin หรือก้อน Clotted ก่อนเครื่องจะทำการตรวจสอบ อย่างอื่นก็ไม่แตกต่างกันเท่าไรน๊ะ เว้นก็แต่เรื่องการจัดเตรียมน้ำยาก็เท่านั้น....

แต่ตอนนี้แม้จะเป็นเครื่องอะไรก็ตามก็ขอให้มีใช้เถอะ !!!!

 

หมายเลขบันทึก: 52735เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2006 16:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2012 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นั่นสิคะ ขอให้มีใช้เถอะ สงสัยว่ายังไงๆเราก็ยังต้องเป็นหุ่นยนต์ นำ sample ไปใส่เครื่องพร้อมกับ key test ต่างๆผ่านหน้าจออยู่เหมือนเดิม ยก sample เข้ายก sample ออก กดแป้นแล้วกดแป้นอีกซ้ำไปซ้ำมาเหมือนเดิม โดยมี sample รอตรวจน้อยลง งานออกเร็วขึ้น

เอ๊ะ แต่คนทำงานเรายังไม่มีเพิ่มขึ้นเลยนี่นา ได้แบ่งภาคกันอีกแล้วพวกเรา!!!

ขอให้ชาวห้องแล็บเคมี พบ โอกาส (opportunity) ในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้นะคะ

คุณโอ๋คะ รออีกนิดนะคะ คณะฯกำลังพิจารณาอยู่

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท