AAR


Tacit K V.S Explicit K

 ผมได้รับเชิญให้ไปประเมินสถาบันแห่งหนึ่งที่ผลิตนิสิตแพทยศาสตร์ เมื่ดำเนินการเสร็จ จึงมานั่งทบทวนกิจกรมมทที่ได้ดำเนินการว่าได้เรียนรู้อะไรบ้างที่เรียกว่า "AAR หรือ After Action Learning " การก่อนที่จะไปตรวจเยี่ยม ต้องไปหาความรู้ฝังลึก " Tacit Knowledge" จากกรรมการแพทยสภาบางท่าน ได้รับความรู้มากมาย ว่าการผลิตแพทย์นั้น มีประเด็นอะไรบ้างที่ต้อง เน้น เช่น การที่ต้องเป็นโรงพยาบาลที่มี เตียงไม่ต่ำกว่า ๔๐๐ เตียง ต้องมีแพทย์ที่ให้บริการไม่ต่ำกว่า ๑๔ สาขา ซึ่งสาขาที่ไม่ค่อยจะครบ คือ พยาธิวิทยา และ นิติเวชวิทยา ต้องผ่านการรับรองคุณภาพ HA จากนั้นผมจึงไปหาความรู้ที่เป็นเอกสาร ที่มีเขียนไว้ชัดแจ้ง "Explicit Knowlege" ได้ความรู้เพิ่มเติมอีกมากมาย ที่น่าสนใจ และ เกณฑ์ที่สำคัญที่ต้องทำร่วมกัน คือ จัดทำแผนดำเนินการระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๕ ปีให้ชัดเจน และมีความเป็นไปได้สูง ได้แก่ แผนเตรียมอาจารย์ แผนจัดหาบุคลากรสนับสนุน แผนพัฒนาหลักสูตรและสื่อการศึกษา แผนพัฒนาอาคารสถานที่และแผนจัดหาโสตทัศนูปกรณ์ แผนพัฒนางานวิจัย แผนความร่วมมือกับสถาบันพี่เลี้ยง แผนความร่วมมือกับโรงพยาบาลสมทบ เป็นต้น

 ภาพข้างบนเป็นแผนกโภชาการของ โรงพยาบาลที่ได้ผ่านการรับรองคุณภาพ ที่เรียกว่า HA มาหลายรอบ สะอาดจนนึกว่าเป็นห้องนอนครับ

 JJ

คำสำคัญ (Tags): #aar
หมายเลขบันทึก: 5271เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2005 06:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท