การศึกษาการสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น


สมควร สีพาทา

ศูนย์อนามัย เขตที่ 6 .ขอนแก่น

 

ผลการศึกษา
ครูผู้สอนส่วนใหญ่ยังมีวิธีคิดที่เห็นว่า งานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเป็นการเพิ่มภาระงาน ผู้บริหารโรงเรียนไม่นำเสนอแนวคิดของโครงการต่อครูผู้ปฏิบัติ แม้ว่าจะฟังการชี้แจงจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไปแล้ว เพราะเกรงว่าจะเกิดการต่อต้าน

-  โรงเรียนขาดการชักชวน ชี้นำให้การปรึกษาและนำพาดำเนินการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับปฏิบัติการเพราะไม่มั่นใจในการตอบคำถามของครูต่อแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

- โรงเรียนส่วนใหญ่ในกลุ่มตัวอย่างยังไม่ยอมรับการพัฒนาในลักษณะเครือข่าย เพราะแต่ละโรงเรียนจะมีความมั่นใจและมีความมุ่งมั่นสูงมากในการผลิตเด็กสู่มหาวิทยาลัย

- ความเข้าใจของคำว่าการมีส่วนร่วม (Participation) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับปฎิบัติและครู มีความเข้าใจไม่ตรงกันกับการมีส่วนร่วมของแนวคิดโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ผู้ประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ไม่ลงประเมิน


-ผู้เข้าอบรมเกิดความประทับใจและมีแนวคิดในลักษณะของการทำงานเป็นเครือข่าย ซึ่งมี 1 อำเภอที่เทศบาล/ อบต. ทุกแห่งได้ร่วมกันสนับสนุนให้มีการขยายเครือข่ายด้วยทฤษฎีไซโคโชว์ และสามารถขยายเครือข่ายได้อีก 10 โรงเรียน

- เครือข่ายระดับจังหวัดและอำเภอลงเยี่ยมสำรวจโรงเรียนในเขตรับผิดชอบอย่างทั่วถึงด้วยความพึงพอใจ

- หลังอบรม 6 เดือนมีการประชุมนำเสนอผลงานของเครือข่าย 1 ครั้ง ซึ่งพบว่า ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2547 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ สามารถขยายเครือข่ายให้โรงเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้ร้อยละ 18.38 ของโรงเรียนใน 5 อำเภอ โดยที่ในขณะเดียวกันจังหวัดขอนแก่นขยายได้ร้อยละ 17.71 จากเดิมร้อยละ 5


จากการนำเสนอผลงานทางวิชาการ

การประชุมวิชาการประจำปีกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 13 ประจำปี 2548

 


หมายเลขบันทึก: 52689เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2006 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 03:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท