R2R งานเวชระเบียน


บันทึกนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากbaby R2Rของคุณปภังกร ในการพัฒนางานเวชระบียนมีประเด็นคำถามหลายอย่างที่ทางทีมเรา(พี่มอม พี่อ้อม พี่ศิริพร และยุ้ย) ได้นำมาคุยกันทุกวัน  ในประเด็น การทำงานเป็นทีม การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน พฤติกรรมบริการ(ถูกร้องเรียน) การลดระยะเวลารอคอยแฟ้ม

ประเด็นการทำงานเป็นทีมและการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน

       ปัจจุบันลักษณะงานที่แบ่งเป็นโซนของห้องบัตร ยังมีจุดอ่อนการเชื่อมโยงเพื่อให้ระบบต่อเนื่องไม่ขาดตอน ซึ่งทางศูนย์พัฒนาคุณภาพได้รับรายงานความเสี่ยงเรื่องไม่มีคนรับโทรศัพท์ (คาดการว่าน่าจะเป็นช่วง8.00-9.00น.วันจันทร์กับพฤหัส)โทรมาห้องบัตรแต่ไม่มีคนรับสาย ทำให้นึกถึงสถานการณ์จริงซึ่งทุกคนจดจ่อกับงานเร่งด่วนเฉพาะหน้าขณะนั้น คนไข้ก็เร่ง คัดกรองก็มาเร่งว่าคนไข้รอนานแล้วแฟ้มยังไม่ได้ ฯลฯ ประกอบกับไม่มีใครได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่เฉพาะในการรับโทรศัพท์ได้ประชุมถามน้องๆห้องบัตรเพื่อหาคนที่จะรับโทรศัพท์ประจำ1 คนว่าควรจะเป็นใคร เห็นพ้องกันว่าควรเป็นมาลัย(ซึ่งรับผิดชอบหลักเรื่องการยืมแฟ้ม)กรณีน้องมาลัยไม่ว่างให้พี่นิโรจน์รับผิดชอบซึ่งทั้งสองท่านปฏิบัติงานอยู่ที่โชน 2 อันเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงระบบ

       กรณีแฟ้มช้า ทุกโซนที่เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบโดยจะมีการบันทึกเวลาตั้งแต่รับแจ้ง(จากบัตรคิวและรับแจ้งทางโทรศัพท์ให้หาแฟ้ม)และเวลาส่งออกแฟ้มทดลองบันทึก 1 เดือนแล้วหาค่าเฉลี่ยเพื่อกำหนดว่าจะลดเวลาเหลือเท่าไหร่จึงจะท้าทายทีมห้องบัตร ถ้าทำได้ทางทีมพัฒนางานเวชระบียนจะเป็นสปอนเซอร์เงินรางวัลให้โซนที่ทำสำเร็จ

      ทีมพัฒนางานเวชระบียนเชื่อว่าการสร้างแรงจูงใจเพื่อท้าทายคนทำงานในการสร้างผลงานจะช่วยให้คนเต็มใจทำงานและปัญหาพฤติกรรมบริการ(ถูกร้องเรียน) ปัญหาการรอคอยแฟ้มนานจะลดลงไปเอง

หมายเลขบันทึก: 52685เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2006 09:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เห็นด้วยจ๊ะ เพราะ การพัฒนาระบบบริการของห้องบัตร  ถ้าการให้บริการค้นแฟ้มต่อเนื่อง ผู้รับบริการจะมีความพึงพอใจ   สามารถเก็บตัวชี้วัดของงานเวชระเบียนตามที่ HA  กำหนดไว้ได้เลย   เท่าที่จำได้  งานคุณภาพของเวชระเบียน  คือ

- ระยะเวลาในการค้นแฟ้ม

- จำนวนแฟ้มหาย ไม่กลับเข้าห้องบัตร

- จำนวนแฟ้มที่เก็บผิด

-ความสมบูรณ์ของแฟ้มเวชระเบียน

  • ขอบคุณปิ่ง และ อ้อม ทุกครั้งที่ร่วมกันลงไปประชุมและทำงานเป็นทีม
  • หลายๆ ครั้งที่พบปัญหาและสบตาน้องๆ จะเพิ่มกำลังใจ
  • มีบางครั้งที่เราเคยพูดคุยกันว่า อย่าหมดแรงพร้อมกันนะ.....ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
  • อ่านแล้วได้รู้ความลำบากอีกหลายอย่าง
  • เป็นกำลังใจให้ครับ
  • ชอบที่คุณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพ Anonymous พูดครับ อย่าหมดแรงพร้อมกันนะครับ ไปผลัดกันให้ดีนะครับ อิอิ
ต้องขอโทษด้วยครับ ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น โดยอาจจะยังไม่เข้าใจระบบโครงสร้าง และการไหลของงานที่ดีเพียงพอ ปัญหาหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้น อาจเป็นเพราะเรายังยึดติดกับโครงสร้างเดิม และการไหลของงานแบบเดิมๆ ลองส่งคนไปดูงานที่ต่างๆ ที่เขามีโครงสร้างที่ดี มีการไหลเวียนของงานที่ดี มีเทคโนโลยี่ที่ดี และรองรับการให้บริการแก่ผู้ป่วยจำนวนมากเช่นเดียวกับสถาบัน แล้วค่อยกลับมาออกแบบระบบใหม่ของทางสถาบัน ซึ่งน่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาว และรองรับกับการขยายตัวต่อไปในอนาคต เพราะระบบที่เป็นอยู่ จากเท่าที่อ่านมาจากหลายบันทึกที่เกี่ยวข้อง อาจไม่เหมาะในการให้บริการผู้ป่วยจำนวนมาก และยิ่งต่อไปในอนาคตหากทางสถาบันต้องขยาย ระบบเหล่านั้นจะเป็นปัญหารุนแรงมากขึ้น อย่ายึดติดโครงสร้างเดิม หลับตา แล้วโยนมันทิ้งไป ออกแบบระบบใหม่ หรือที่เรียกกันว่า reengineering กันดีกว่า
น่าสนใจค่ะ    แต่คงต้องดูที่รากของปัญหาก่อน     ขอความเห็นด้วยค่ะปิ่ง
พวกรุ่นเก่า ๆ ลาออกกันเยอะ เหลือไวแต่พวกไม่มีสมอง แก่ ๆ หน้างอ เอาไปไว้ที่เก็บศพเลย  ปากเหยิ้งปากจัด
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท