เตรียมตัวไปงานขับเคลื่อนเครือข่าย KM ประเทศไทย


กศน.ในยุคที่ ดร.สมบัติ สุวรรณพิทักษ์ เป็นผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน เจ้าของโลโก้หรือแบรนด์ใหม่ของ กศน. ที่ว่า กศน.เพื่อนเรียนรู้ nfe-learning buddy อันเป็นโลโก้หรือแบรนด์ที่มีหลักการสออดคล้องอย่างยิ่งกับการจัดการความรู้
  • วันนี้อยากจะร่วมคิดวางแผนว่างานมหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ 3  ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่าง 1-2 ธันวาคม 2549 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ ในส่วนของเครือข่ายจัดการความรู้ กศน. ส่วนนี้เราจะต้องเตรียมการอะไรกันมั่ง
  • ในเรื่องนี้ผมเคยเขียนไปแล้วบันทึกหนึ่ง ลิ้ง แต่ก็เป็นการโปรยหัวเชิญชวนเพื่อนพ้องน้องพี่ชาว กศน.เข้ามาแจมๆแสดงความคิดเห็นกัน แต่ก็ไม่มีใครเข้ามาแสดงความเห็นมากนัก คนนอกวงการ กศน.ต่างหากที่เขียนแสดงความเห็นกันเข้ามา วันนี้จึงอยากจะเขียนอีกครั้งเพื่อกระตุ้นอีก และจะลงลึกขึ้นไปอีกถึงการเตรียมการว่าเราชาว กศน.จะผนึกกำลังนำสิ่งดีๆ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการ how to กระบวนการทำงาน ผลงาน องค์ความรู้ดีๆที่เกิดขึ้น ใดบ้างไปนำเสนอ
  • เรื่องนี้กรมการศึกษานอกโรงเรียนซึ่ง ปัจจุบันคือสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนก็ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเลย ได้นำเรื่องนี้ไปลงหน้าเว็บของกรม ชื่อ  www.nfe.go.th. พร้อมทำหนังสือเชิญชวนให้บุคลากรทุกสังกัดลงทะเบียนเข้าร่วมงาน ผมว่าเป็นโอกาสดีสำหรับชาว กศน.ในยุคที่ ดร.สมบัติ สุวรรณพิทักษ์ เป็นผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน เจ้าของโลโก้หรือแบรนด์ใหม่ของ กศน. ที่ว่า กศน.เพื่อนเรียนรู้ nfe - learning buddy อันเป็นโลโก้หรือแบรนด์ที่มีีหลักการสอดคล้องอย่างยิ่งกับการจัดการความรู้ที่จะได้นำเสนองานภายใต้โลโก้และแบรนด์ใหม่
  • ผมครูนอกโรงเรียนตัวเล็กๆคนหนึ่งอยากจะเสนอ ว่าแหล่งข้อมูลหรือร่องรอยการทำงาน  ที่กรมฯเราทำอยู่แล้วเป็นปรกติ จากที่ไหนบ้างที่เราน่าจะนำไปนำเสนอในงานนี้ แหล่งข้อมูลแรกที่อยากจะแนะนำก็คือสิ่งดีๆที่หน่วยงานของกรมทั่วประเทศได้นำไปเสนอในงานมหกรรมยกระดับการศึกษาประชากรวัยแรงงาน ที่จัดขึ้นที่ อิมแพค เมืองทองธานี 7 - 9 กันยายน 2549 มีทั้งบุคคลดีเด่น เครือข่ายที่สนับสนุน กศน.ดีเด่น หน่วยงานดีเด่น ชิ้นงานดีเด่น มากมายเหลือเกิน  น่าจะจับภาพต่อเนื่องหรือตรวจสอบ  คัดกรองเข้าร่วมงาน อีกแหล่งข้อมูลหนึ่งน่าจะเป็นจังหวัดต่างๆที่กรมฯมอบหมายให้สถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสรินธร อบรมเรื่องการจัดดการความรู้ให้ไปแล้ว บัดนี้เวลาล่วงเลยพอจะเห็นความคืบหน้าของการปฏิบัติได้บ้างแล้ว น่าจะจับภาพเช่นเดียวกัน เพื่อนำมาร่วมงานมหกรรม และส่วนสุดท้ายที่น่าจะจับภาพมาได้ก็คือสถานศึกษา หน่วยงานอื่นๆ ซึ่งทำจัดการความรู้ของตนเองตามความสนใจ ซึ่งก็คงมีอีกมาก กศน.เมืองนครศรีธรรมราช และจังหวัดนครศรีธรรมราชเราอยู่ในกลุ่มนี้ ก็น่าจะจับภาพมาเช่นเดียวกัน แต่ไม่ว่าจะจับภาพได้จากแหล่งใดก็ต้องให้เขามาร่วมด้วยความเต็มใจ KM ใจมันต้องมาก่อน
  • สิ่งที่จะต้องเตรียมการหลังจากได้สิ่งดีๆมาแล้วก็คือการจัดทำสิ่งดีๆเหล่านั้นออกเผยแพร่ในสื่อใด ต้องมีเวลาช่วงหนึ่งเหมือนกัน และเตรียมนำเสนอในช่วงงานมหกรรม 1-2 ธันวาคม ทั้งในส่วนนิทรรศการ และบนเวทีพูดคุย ใคร กิจกรรมใด ของหน่วยงานใด จะอยู่คิวไหน ก็ต้องประชุมปรึกษาหารือกัน ผมเห็นหนังสือของกรมฯที่ ผอ.สถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร ส่งมาให้แล้วก็ชื่นใจ ที่เห็นว่า ผอ.สำนักบริหารงาน กศน.ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ มอบหมายให้สถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธรเป็นแกนหลัก  ร่วมกับกลุ่มงานการเจ้าหน้าที่ กลุ่มงานแผนงาน โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ ดูแลอีกระดับหนึ่งด้วย
  • ผมคิดว่าเรื่องนี้ผมคงจะได้หารือกับท่านดังกล่าวข้างต้นในวันที่ 9  ตุลาคม ซึ่งผมนัดหมายท่านแล้ว เวลาบ่ายโมง ที่ห้องทำงาน ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ และชวนกันไปในงานแถลงข่าวสื่อมวลชน ซึ่ง สคส.จัดขึ้นโหมโรงงานมหกรรมฯ ที่อาคารเอสเอ็มทาวเวอร์วันที่ 10 ตุลาคม ซึ่งเลื่อนมาจากวันที่ 21 กันยายน 2549 เนื่องจากเหตุการณ์ปฏิรูปการปกครองฯ
  • ตอนนี้คิดได้เท่านี้ พบปะกันแล้วคืบหน้าอย่างไรจะนำมาเล่าต่อนะครับ 


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท