เลี้ยงโคแบบพอเพียง


นักวิจัยที่ดี "อย่าขายวิญญาณ" เพื่อสนองความต้องการของเจ้าของทุน

การจัดการความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงโค

            ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป  นักศึกษาพัฒนบูรณาการศาสตร์จะต้องออกพื้นที่เพื่อสัมผัสกับความรู้และปัญหาที่แท้จริงของชุมชน  เพราะขณะนี้ทุกคนกำลังศึกษาหาความรู้ในมุมมองของตัวนักศึกษาเอง แต่อาจจะยังไม่ใช่ความรู้หรือปัญหาที่แท้จริงที่ชาวบ้านต้องการแก้ไขหรือพัฒนา  เช่นเดียวกันกับการศึกษาการจัดการความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงโค ต้องศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริงให้ได้ในหลายประเด็น เช่น

              -   แต่ละพื้นที่ในจังหวัดบุรีรัมย์เลี้ยงโคเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร จะเอาเทคนิควิธีการของแต่ละที่ไปเสริมเติมเต็มกันอย่างไรทั้งความรู้ในทางวิชาการและภูมิปัญญาชาวบ้าน

              -   ใช้พื้นที่เลี้ยงเท่าไร แต่ละพื้นที่มีข้อได้เปรียบเสียเปรียบอย่างไรต่อการเลี้ยงโค และจะพัฒนาต่อไปได้อย่างไร

              -ใช้อะไรเลี้ยง  พืชอาหารสัตว์ชาวบ้านสามารถผลิตและพึ่งตนเองได้อยู่ในระดับใด และถ้าจะจะเลี้ยงโคโดยใช้พืชพื้นเมืองจะเสริมพืชอาหารสัตว์ชนิดใดจึงจะทำให้โคสมบูรณ์ 

              -  ผลของการเลี้ยงโคของชาวบ้านทั้งในอดีตและปัจจุบันเป็นอย่างไร มีปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อการเลี้ยง

              ประเด็นที่กล่าวมาเป็นข้อสงสัยบางส่วน ซึ่งในความเป็นจริงนั้น   ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการเลี้ยงโคของชาวบ้านนั้นอาจมีมากมายที่กำลังรอคำตอบไขข้อข้องใจ อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาคุณชีวิตคนเลี้ยงโคให้ดีขึ้นในอนาคต

            

     

หมายเลขบันทึก: 52494เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2006 08:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมว่าคุณถอยหลังไปไกลเกินไปนิดหนึ่ง สิ่งที่คุณนำเสนอเป็นกรอบเบื้องต้น ที่ควรจะเชื่อมกับข้อมูลที่คุณนำเสนอมาแล้ว เป็นชุดๆไป ลองทำในมุมนี้ดูนะครับ เราจะได้จัดการความรู้ แล้วจะได้นำบทเรียนไปเขียนเป็นวิทยานิพนธ์ได้เป็นฉากๆไปเลย ว่าที่ไปที่มา และคำตอบเป็นอย่างไร

ขอบคุณค่ะอาจารย์ ตอนนี้กำลังจัดการความรู้ให้เป็นชุด ๆ ตามที่อาจารย์แนะนำค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท