ละอองความรู้ 41 : เมื่อบริหารความขัดแย้งแล้วผิดพลาด


เทคนิคการบริหารความขัดแย้ง เป็นเทคนิคที่สามารถนำมาใช้เพื่อทำให้องค์กรต่าง ๆ นั้นเปลี่ยนแปลง เจริญก้าวหน้า และเข้มแข็งได้ในระยะเวลาอันสั้น

แต่ข้อสำคัญอย่างยิ่งเมื่อท่านคิดจะใช้เทคนิคบริหารความขัดแย้ง ก็คือ

ห้ามพลาด และห้ามผิด

เพราะเมื่อท่านผิดหรือพลาด

จากการเป็น"นักบริหารความขัดแย้ง" แล้วได้รับการปรบมือในฐานะผู้สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในระยะเวลาอันสั้น

แต่ท่านจะกลายเป็น "ผู้สร้างความขัดแย้ง" แล้วได้รับการประนามจากคนรอบข้างในฐานะคนที่มีปัญหา สร้างปัญหา หรือตัวปัญหา โดยทันที


ต้องคิดให้ดีก่อนใช้นะครับ เพราะสังคมไทยนิยม "ความประนีประนอม" มากกว่าครับ

คำกล่าวนี้พิสูจน์มาด้วยชีวิต

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

หมายเลขบันทึก: 52465เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2006 23:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

หลายๆหน่วยงานของไทย บางครั้งเอาเรื่องของงานมาคิดเป็นเรื่องส่วนตัวด้วยค่ะ เวลาขัดแย้งในความคิดเห็นเรื่องงาน เสนอความเห็น เลยมักถูกมองว่าเป็นการต่อต้านบุคคลไปด้วย

การฟังความเห็นก็เช่นกัน ผู้น้อยถึงจะเสนอความเห็นดี ก็มักจะหาเหตุผลมาคัดค้านและไม่ค่อยฟัง แต่เรื่องเดียวกันนั้นถ้าผู้มีตำแหน่งสูงกว่าพูดก็มักจะฟังความเห็น

รอบๆตัวแถวๆนี้ก็เป็น ลองสังเกตดูค่ะ ยังไม่หลุดพ้นวิถีคิดแนวนี้ไปเท่าไหร่ค่ะ

  • ขอบพระคุณท่านอาจารย์จันทรรัตน์เป็นอย่างสูงครับ สำหรับการแลกเปลี่ยนที่ทรงคุณค่ายิ่งครับ
  • เป็นจริงอย่างที่ท่านอาจารย์พูดมิผิดเพี้ยนครับ
  • ตอนนี้ผมก็พยายามที่จะหาทางหลุดพ้นจากวิถีนี้ไปให้ได้เพื่อให้พบหนทางแห่งความสุขครับ
  • ขอบพระคุณท่านอาจารย์จันทรรัตน์อย่างสูงอีกครั้งครับ
  • ขอพลังแห่งความรู้และศรัทธาจงสถิตกับท่านอาจารย์ตลอดไปครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท