Serology-PSU
หน่วยภูมิคุ้มกันวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา

Training เครื่องอัตโนมัติ


ห้องแล็บภูมิคุ้มกันวิทยา   มีเครื่องอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ  จำนวน 5 เครื่อง     แต่ละเครื่องจะมีผู้ใช้งานประจำเป็นผู้ดูแล   และแน่นอนว่า "ความชำนาญ"   ในการใช้งานและดูแลเครื่องของแต่ละคน  มีไม่เท่ากัน    ตอนนี้เราเลยมีโครงการที่จะปรับฐานความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่อง     โดยเฉพาะในเรื่องของการบำรุงรักษา ( maintenance )   เพื่อให้เครื่องมือนั้น    สามารถใช้งานได้ดีและอยู่กับเราไปอีกนาน...

ตอนนี้ทำไปแล้ว 2 เครื่อง  คือเครื่องตัดชิ้นเนื้อ-Cryostat    และเครื่อง Axsym      รายละเอียดของการ training   จะทยอยนำเสนอไปเรื่อยๆ

axsym

เครื่อง Axsym   สำหรับตรวจ Anti HIV,
Tumor Marker, และ Hepatitis marker บางตัว
โดยใช้หลักการ MEIA

เครื่อง BEB-III   สำหรับตรวจ Hepatitis B , Anti HCV, Anti VZV
โดยใช้หลักการ ELISA  เครื่องนี้ใช้เป็น ELISA reader ด้วย

nephelometer

เครื่อง Nephelometer สำหรับตรวจ
Complement  และ  Immunoglobulin level

เครื่อง Cryostat  สำหรับตัดชิ้นเนื้อ

หมายเลขบันทึก: 52430เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2006 19:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

รอเรียนรู้ด้วยค่ะ

คุณ nidnoi เปิดตัวบันทึก series แบบนี้ได้ดีจังค่ะ เป็นไอเดียที่ดีในการเล่าเรื่องของหน่วยที่น่าสนับสนุนนะคะ เราน่าจะได้อะไรดีๆจากกระบวนการที่เป็นไปในหน่วย sero จากเรื่องเล่านี้แน่เลยค่ะ เอาไป 2 นิ้วโป้งเลยค่ะ
ขอบคุณ  อ.ปารมี   และพี่โอ๋ค่ะ
การเปิดบล็อกของหน่วยเป็นไอเดียของพี่ถ่าวค่ะ      คิดกันไว้ว่า    จะบันทึกกิจกรรมของหน่วย   ทั้งที่บันทึกไว้เป็นหลักฐาน  และแบบบันทึกรายละเอียดเพื่อให้นำไปใช้ต่อไป     อย่างเรื่อง training เครื่องอัตโนมัติ   ช่างที่มาแนะนำก็จะทำแบบที่สามารถนำไปทำได้จริง ๆ   จะมีทริกเล็กๆ น้อยๆ  บอกไว้ด้วย    ถ้าเราไม่บันทึกไว้  ซักพักคงจะลืม     การเขียนไว้ที่ไหนซักแห่ง  เขียนแบบที่ทำจริงๆ    น่าจะง่ายกว่าที่อ่านในคู่มือ
.
หวังว่าไอเดียนี้จะ work  ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท