ถึง คนกงหรา


คนกงหราพูดกลางหลายคน ผมเลยต้องเป็นวิทยากรหลายภาษา (multi-language ฮา...)

          ด้วยเพราะต้องไปเป็นวิทยากรกระบวนการ "เอื้ออาทรคนพิการเข้าถึงสิทธิฯ" ที่ รพ.กงหรา ถึงได้ไปกงหรา ผมไม่ค่อยได้ไปนัก ทั้ง ๆ ที่อยู่ไม่ไกลจากที่ผมพักอยู่สักเท่าใด เพราะอะไรเหรอครับ "เข้าไม่ถึง" ที่นี่ผมจะมองเป็นเมืองลับแลสำรหับผม ผมไม่ค่อยรู้จักกับเจ้าหน้าที่ ที่รู้จักก็มีบ้าง แต่เขาไม่อยู่ในฐานะที่จะเชื่อมต่อกับผมได้ ประทับใจจริง ๆ ครับวันนี้ (10 ต.ค.48) ผมได้พบกับ "สู" ซึ่งเคยเจอกันในเวที "เสวนาหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน" ที่ อบต.ชะรัด เมื่อต้นปี ได้พบกับประธานสภา อบต. ที่เอาจริงเอาจัง โดยเฉพาะเรื่องคนด้อยโอกาสในสังคม

          ผมพบว่า จนท.ที่นี่พูดภาษากลางหลายคน ผมเลยต้องเป็นวิทยากรหลายภาษา (multi-language ฮา...) หลายคนบอกผมว่า วันนี้ได้เริ่มต้นการคิดเป็นทีม ทำงานเป็นทีม และเป็นนิมิตรหมายที่ดี แม้ผมจะสังเกตเห็นความขลุกขลักเยอะเหมือนกัน ผมได้พบกับหัวหน้าสอ.ชะรัด ที่มากด้วยประสบการณ์แต่ไฟไม่มอดเลย และได้ขออนุญาตที่จะมาสัมภาษณ์เทคนิคในการทำงานของแกในวันหลัง ผมได้ยินมานานและเห็นมาหลายครั้งแล้วที่แกมีความสุขกับงาน และไม่เคยหมดไฟ เมื่อคราวที่เจอกันที่จังหวัดบ่อย ๆ (มนุษย์สัมพันธ์ดีมากด้วย)

          ตอนเที่ยง ก็ได้เปิดประเด็นแนวคิดเรื่อง "ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน" ซึ่งน่าจะได้เปิดพื้นที่ที่นี่ขึ้นด้วย (เขตของ รพ. เป็น เขต อบต.) หลาย ๆ คนสนใจและตอบรับ ผมสัญญาว่าหากพร้อมแล้ว (ทีมนำสัก 8-10 คน) ก็ให้โทรนัดผมเลย

          ตอนบ่ายได้พูดคุย "เรื่องเรียนสวนร่วม" กับบังรี และยังได้แนะนำให้เปิด blog "คนกงหรา" ขึ้นจนสำเร็จ บังรีบอกว่าเรื่องแรกที่จะเล่าให้ฟังคือ "ทำไมถึงเรียกกงหรา" หวังว่าจะได้อ่านเร็ว ๆ นี้

หมายเลขบันทึก: 5233เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2005 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท