ความรู้เกี่ยวกับสมอง


ศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับสมอง

 

 

 

ความรู้เกี่ยวกับสมอง    คำศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับสมอง

Q: ปรับความเข้าใจเรื่องสมอง
A:
มองของคนเราจะหนักประมาณ 3 ปอนด์ (1.3 – 1.4 กก. ) ซึ่งนับว่าใหญ่เมื่อเทียบกับร่างกาย สมองจะประกอบด้วยน้ำ 78 % ไขมัน 10 %และโปรตีน 8 % เนื้อสมองจะนิ่มและหยุ่นตัดขาดได้ง่าย เราเคยทราบกันมาว่า สมองซีกซ้ายจะทำหน้าที่ในส่วนของเหตุผล การคิดคำนวณภาษา และสมองซีกขวาจะเกี่ยวกับดนตรี แต่ทราบหรือไม่ว่านักดนตรีบางคนสร้างสรรค์ผลงานด้วยสมองซีกซ้าย ผู้ถนัดซ้ายประมาณครึ่งหนึ่งจะใช้สมองซีกขวาสื่อสารภาษา นักคณิตศาสตร์ชั้นสูงและเซียนหมากรุกจะใช้สมองซีกขวาใขขณะเล่นเกมส์ แต่มือใหม่หัดเล่นจะใช่สมองซีกซ้าย นั้นคือปัจจุบันพบว่าสมองทั้ง2ซีกจะทำงานประสานกันและแบ่งสัดส่วนตามการทำงาน นอกจากนี้เราเคยเข้าใจว่าสมองเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดมาจากกรรมพันธุ์ ความจริงคือยีนหรือกรรมพันธุ์ จะกำหนดโครงสร้างพื้นฐานของสมองส่วนหนึ่ง และอีก 70 % สมองจะพัฒนา และเรียนรู้เพิ่มศักยภาพจากสิ่งแวดล้อมอื่น เช่น การเลี้ยงดู การใช้ชีวิต การจัดการศึกษา ฯลฯ

Q: สมองแบ่งการทำงานอย่างไร ใครรู้บ้าง
A:
สมองของเราไม่ได้ทำงานแยกเป็นส่วน ๆ แต่เป็นการทำงานประสานกันคล้ายทีมฟุตบอลที่ต้องทำงานร่วมกัน แบ่งหน้าที่การทำงาน และทำงานแทนกันได้เมื่อจำเป็น อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งส่วนประกอบของสมองส่วนต่างๆ ตามหน้าที่หลักดังต่อไปนี้

สมองส่วนหน้า (Fore brain)

     1. สมองส่วนเซรีบรัม ( Cerebrum ) มีหน้าที่สั่งการและรับรู้ความรู้สึกต่างๆ เป็นส่วนที่มีหน้าที่ประมวลผลระดับสูงและมีการเจริญและซับซ้อนที่สุดในมนุษย์

     2. สมองส่วนเบซอล – แกงเกลีย (Basal ganglia) ควบคุมและประสานการเคลื่อนไหวต่างๆ ของร่างกาย

     3. สมองส่วนลิมบิค (Limbic system) ควบคุมการแสดงออกของอารมณ์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบความจำและควบคุมเรื่องความกลัวและความรุนแรง

ก้านสมอง (Brain stem)

     1. สมองส่วนได-เอน-เซ-ฟาลอน (Diencephalon) ประสานงานพฤติกรรมที่เกิดจากสัญชาตญาณพื้นฐานต่างๆ ได้แก่ การควบคุมอุณหภูมิ พฤติกรรมทางเพศและการรับประทาน

     2. สมองส่วนกลาง (Midbrain) ควบคุมระบบการรับฟัง การมองเห็นและการเดิน

     3. สมองส่วนหลัง (Hindbrain) ทำหน้าที่ประสานการเคลื่อนไหวและสนับสนุนการทรงตัวระหว่างการเคลื่อนที่

     เมื่อเรารู้ว่าสมอง ทำงานอย่างไรและการเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร เราก็สามารถออกแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการพัฒนาศักยภาพของสมอง

ที่มา http://www.nbl.or.th/th/knowledge/knowledge1.html

หมายเลขบันทึก: 52329เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2006 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
สมองของมนุษย์เรามีเซลประสาททั้งหมดประมาณเท่าใด ? พอรู้บ้างไหม ?
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท