การรับรองการหย่าตามกฎหมาย ,,,,กรณีที่การหย่ามีลักษณะในทางระหว่างประเทศ


ปัจจุบันแนวโน้มในเรื่องการหย่านั้น แต่ละประเทศมีแนวโน้มจะพิจารณาโดยใช้หลักภูมิลำเนาเพิ่มมากขึ้น

            เหตุของการหย่าในปัจจุบันนั้นมีความแตกต่างจากในอดีต  เนื่องจากในอดีตนั้น  การหย่าจะมีสาเหตุมาจากความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  แต่ในปัจจุบันนั้น  การหย่านั้นอาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากความผิดของคู่สมรสก็ได้  ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าในปัจจุบันกฎหมายของประเทศในโลกเกือบจะทุกประเทศจะอนุญาตให้มีการหย่าโดยสาเหตุของการหย่ามิได้เกิดจากความผิดของคู่สมรส โดยบางประเทศก็อาจจะมีหลักการที่เป็นรูปแบบผสม เช่น ประเทศมอลตา เป็นประเทศที่มิได้มีกฎหมายอนุญาตให้มีการหย่ากันได้ แต่ประเทศมอลตาให้การยอมรับในเรื่องของการหย่าที่เป็นไปในทางระหว่างประเทศ คือ การหย่าของคนชาติมอลตาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศอื่น อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ประเทศสวีเดน ซึ่งเป็นประเทศที่ไม่ยอมรับการแยกกันอยู่หรือการล้มเลิกการแต่งงาน ยกเว้นการหย่าที่มีสาเหตุมาจากฝ่ายหนึ่งของคู่สมรสมีความต้องการที่จะใช้ชีวิตอยู่ลำพัง เป็นต้น

             ในส่วนของการยอมรับการหย่าในทางระหว่างประเทศ ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะมีการใช้กฎหมายโดยใช้หลักภูมิลำเนาและหลักถิ่นที่อยู่ของคู่สมรสมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากสมัยก่อนที่มีการใช้หลักสัญชาติซึ่งเคยเป็นหลักที่นิยมกันมากในยุโรป เหตุที่มีการใช้หลักภูมิลำเนามากขึ้นนั้น เนื่องจากการหย่าจำเป็นต้องใช้เขตอำนาจในการตัดสินการดำเนินการในการหย่า ภูมิลำเนาของคู่สมรสแต่ละฝ่ายจึงเป็นพื้นฐานในการคาดเดาเขตอำนาจในเรื่องของกฎหมายเกี่ยวกับการหย่าและกฎหมายที่เกี่ยวกับการแยกกันอยู่ :ซึ่งการใช้หลักภูมิลำเนานั้นเป็นที่ยอมรับกันในกฎหมายขัดกันของประเทศต่างๆทั่วโลกอย่างกว้างขวางกว่าหลักสัญชาติของคู่สมรส

              Hague conference on Private International law ได้มีการประกาศใช้อนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการหย่าสองครั้งด้วยกัน โดยในครั้งแรกในปี 1902 ซึ่งมีประเทศที่ให้สัตยาบันเพียง 11 ประเทศในยุโรปและในครั้งที่สอง คือ ในปี 1969 โดยอนุสัญญานี้เป็นอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับการหย่าและการแยกกันอยู่ ซึ่งเป็นอนุสัญญาที่เข้ามาแทนที่อนุสัญญาฉบับแรก ซึ่งให้มีการยอมรับถึงกฎหมายภายใน ในกรณีที่กฎหมายภายในมีเขตอำนาจที่จำเป็นต้องพิจารณาถึงเรื่องสัญชาติ ถิ่นที่อยู่ หรือภูมิลำเนา โดยการยอมรับในเรื่องการหย่านั้น อาจถูกปฏิเสธได้ถ้าเหตุผลในการหย่าไม่สามารถที่จะแสดงให้เห็นได้ หากกฎหมายของประเทศนั้นมีความจำเป็นต้องแสดงให้เห็นถึงเหตุผลในการหย่า หรือเป็นกรณีที่กฎหมายของประเทศที่คู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีสัญชาตินั้นไม่อนุญาติให้หย่าได้ โดยมีประเทศที่ให้สัตยาบันกับอนุสัญญาฉบับนี้ จำนวน 15 ประเทศ

              จากที่ได้กล่าวมาแล้ว  จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า  การหย่าเป็นที่ยอมรับกันมากขึ้นในสังคมโลก  เเละการหย่านั้นเริ่มที่จะมีแนวโน้มเพิ่มากขึ้นในอนาคต   โดยที่สาเหตุของการหย่านั้นในปัจจุบันไม่ได้เกิดจากความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเหมือนเช่นในอดีต  และการหย่าในทางระหว่างประเทศนั้น  มีแนวโน้มที่จะได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น  เนื่องจากกฎหมายขัดกันเรื่องการหย่าของแต่ละประเทศทั่วโลกในปัจจุบัน  โดยส่วนใหญ่จะบัญญัติว่า  ให้มีการหย่าได้หากกฎหมาย(สัญชาติ,ภูมิลำเนา)ของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย  หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยอมรับให้มีการหย่าได้  จึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่า  ปัจจุบัน  สังคมโลกนั้นเริ่มมีการขยายแนวคิดในเรื่องการหย่า  ซึ่งมีที่มาจาก "ความผิดของคู่สมรส"  เป็น "ความล้มเหลวในชีวิตสมรส"  

 

หมายเลขบันทึก: 52235เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2006 23:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 18:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ที่กล่าวมานั้น เป็นเรื่องของขั้นตอนในการดำเนิการหย่าว่าสามารถที่จะกระทำได้ แล้วอยากทราบว่าในเรื่องของเหตุการหย่านั้น ในแต่ละรัฐนั้นมีความสอดคล้องกันด้วยหรือไม่ อย่างไร และการบัญญัติกฎหมายที่ให้การหย่าเป็นไปด้วยความสะดวกนั้นจะส่งผลต่อหลักการทางศาสนา

 ที่ไม่สนับสนุนให้มีการหย่าหรือไม่ครับ

วะอะลัยกุมมุสะลามค่ะ คุณ น.เมืองสรวง

ขอบคุณครับคุณ ยู  ผมเคยไปอยู่กับพี่น้องมุสลิม 2 ปี ครับ..ที่อยุธยา พี่น้องมุสลิมใจดีครับ จริงใจครับ พูดอะไรก็พูดตรง ๆ ไม่อ้อมตฃค้อม เป็นวิถีชุมชนที่น่าศึกษาครับ .ก็พอรู้ธรรมเนียมของพี่น้องมุสลิมบ้างแต่ไม่เก่งเรื่องภาษา ยาวีครับ....

เหตุของการหย่าในแต่ละรัฐมีความสอดคล้องกันหรือไม่นั้น  ขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ค่ะ  ถ้าได้คำตอบเมื่อไร  จะเข้ามาตอบให้นะคะ คุณ last life

ตอบคุณ last life ค่ะ

     ในส่วนของความสอดคล้องกันของเหตุหย่านั้นในแต่ละประเทศส่วใหญ่จะมีความสอดคล้องกันโดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากความผิดของคู่สมรสของฝ่ายหนึ่ง  ที่เห็นได้อย่างชัดเจน  คือ เรื่องการมีชู้  การจงใจละทิ้งร้าง  และโดยส่วนใหญ่  ในแต่ละประเทศก็จะเริ่มมีเหตุหย่าที่มิได้เกิดจากความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท