มหกรรมคุณภาพจังหวัดนครสวรรค์


ไม่เคยสอนเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลเลย เพิ่งมาสอนไม่นานมานี้ ทั้งที่เริ่มทำ KM ในโรงพยาบาลมา 18 เดือนแล้ว ด้วยสาเหตุเพราะยังไม่ได้ลงมือทำ ท่านทำแล้วจึงมาสอน
          เมื่อวานนี้เป็นวันมหกรรมคุณภาพของจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเลื่อนมาจาก วันที่ 20 กันยายน(เนื่องจากเป็นวันหยุดแบบปัจจุบันทันด่วน) ซึ่งเดิม จะมีอ.อนุวัฒน์และอ.ดวงสมรมาร่วมด้วย แต่วันนี้ท่านทั้ง2 คงไม่ว่าง
          ในช่วงเช้า ได้มีโอกาสฟัง อ.หมอประเทือง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตาคลี ซึ่งผมคิดว่าจังหวัดนครสวรรค์ค่อนข้างจะโชคดี ที่มีบุคลากรเก่งแบบนี้อยู่ในจังหวัดของเรา ท่านมาถ่ายทอด การทำ KM ในโรงพยาบาลตาคลี ซึ่งท่านบอกว่าใช้การอ่านหนังสือ การอ่านsheet การเข้ารับการอบรม แล้วมารวบรวมเป็ยแบบฉบับของโรงพยาบาลตาคลี โดยลงมือทำจริงๆก่อน ประทับหลายๆอย่างเลยครับ เช่น
          ท่านอ่านหนังสือ KM มาแล้ว 77 เล่ม
          ท่าน ไม่เคยสอนเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลเลย เพิ่งมาสอนไม่นานมานี้ ทั้งที่เริ่มทำ KM ในโรงพยาบาลมา 18 เดือนแล้ว ด้วยสาเหตุเพราะยังไม่ได้ลงมือทำ ท่านทำแล้วจึงมาสอน และเป็นโอกาสดีมากที่เราได้มารับฟังท่านในครั้งนี้
          ท่าน พยามยาม รวบ HA HPH KM เป็นภาพเดียวกัน และออกแบบ Model ให้ดูง่ายๆ ในโรงพยาบาล ทุกหน่วยงานมี Model ที่สร้างโดยคนในหน่วยงาน ที่ทำให้เข้าใจ KM ง่ายขึ้น
          ท่านเป็น CKO ที่น่าเป็นแบบอย่าง ในเรื่องการกระตุ้น ส่งเสริม เจ้าหน้าที่
          ท่านสอนได้อย่างน่าฟัง และมีเทคนิคหลายอย่าง การสอนให้รู้ที่มาของภาษา เช่น Benchmarking ที่มาจากนักตกปลา ซึ่งผมเพิ่งจะรู้วันนี้เอง และยังใช้ภาษาให้จำง่าย เช่น AAR = เหลียวหลังแลหน้า Benchmarking = เหลียวเขาแลเรา
          มันมีหลายอย่างประทับใจ แต่ผมมันคนประเภทขี้เกียจจด และลืมง่าย ตอนฟังผุดไอเดียหลายอย่าง แต่ไม่ได้จดไว้ เลยมาเขียนได้ไม่เต็มที่ AAR แล้วผมต้องมีสมุดโน็ตเล็กๆติดตัวไว้....พรุ่งนี้ต้องไปหาซื้อซักหน่อย
หมายเลขบันทึก: 52202เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2006 19:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีคะคุณหมอปฏิภาคย์

พี่กะปุ๋มดูๆ ว่าเอ๊ะ!!! หน้าใครคุ้นๆ...ทีแรกเข้าใจว่าลูกชายคุณหมอโตแล้ว...555....ไม่ได้ทักทายใน B2B นานแล้วนะคะ...ได้มองเห็นการก้าวเดินแห่งไพศาลี...รู้สึกชื่นชมนะคะ...ว่าแต่คุณหมอสนใจการทำ R2R ด้วยไหมคะ....

*^__^*

กะปุ๋ม

สวัสดีครับ พี่Dr.Ka-poom
พีีสบายดีมั้ยครับ
ไม่ได้เขียนนานเหมือนกันครับ เรื่อง R2R สนใจอยู่ครับ แต่ไม่มีความรู้เลยครับ พี่ Dr.Ka-poom ช่วยสอนหรือส่ง file ที่เกี่ยวกับ R2R มาให้อ่านหน่อยได้มั้ยครับ ขอบคุณล่วงหน้านะครับ
     ได้อ่านเรื่องเล่าของหมอบันทึกนี้ เหมือนนั่งฟังอยู่ด้วยเลยครับ ขอบคุณสำหรับเรื่องเล่าที่ทำให้ทราบว่าเวลาพูดให้คนอื่นฟัง คนฟังเขาชอบอย่างไรนะครับ
สวัสดีครับพี่ชายขอบ   พี่คงสบายดีนะครับ
ช่วงนี้ไม่ค่อยได้เข้ามาอ่ะครับ

เรียนคุณหมอปฏิภาคย์คะ...

พี่กะปุ๋มสบายดีคะ...ขอบคุณมากนะคะ..แต่ขอยืนยันอีกครั้งนะคะว่าหลายชายนั้นเหมือนคุณพ่อเหมือนพิมพ์กันออกมาเลยคะ..."สำเนาถูกต้อง"...ยิ้มๆ...สำหรับเรื่อง R2R หรือ Routine to Research หรือการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยนั้น...ไม่มีรูปแบบตายตัว...ขอเป็นเพียงการพัฒนางานประจำด้วยกระบวนการวิจัยเพื่อผลลัพธ์สุดท้าย...ที่ดีที่สุดต่อผู้ป่วย...บางแห่งก็ต่อยอดจาก CQI หรือ HA...

คุณหมอลองอ่านตามที่พี่ทำ link ไว้ให้นะคะ...หรือไปอ่านที่ blog  R2R รพ.ยโสธร หรือที่ CoP R2R อย่างของภาควิชาพยาธิ มอ. และที่ศิริราชนั้นก็เป็นอีกรูปแบบที่น่าสนใจมาก...งานนี้คุณหมอต้องลองตามร่องรอยดูนะคะ

*^__^*

กะปุ๋ม

 

หากรูปแบบตามศิริราช...ไปคุยกับ อ.หมออัครินทร์ได้ที่นี่เลยคะ...

ส่วนของภาควิชาพยาธิ...มอ.นั้นมีหลายท่านมากเลยคะที่บันทึกเล่าเรื่องให้เราได้เรียนรู้...ลองตามอ่านดูนะคะ...ก็มีหลากหลายให้เราเกิดกระบวนการสร้างความรู้...และการตกผลึกในเรื่อง R2R และนำมาใช้ในบริบทของเราคะ...แต่จริงๆ แล้วพี่กะปุ๋มมองว่า...ในพื้นที่ของคุณหมอน่ะทำแล้ว...มีข้อมูลมากมาย..แล้วเรานำมาจัดการข้อมูลในเชิงระบบระเบียบวิธีวิจัยได้...วิจัยหลายเรื่องทีเดียวเลยนะคะ

*^__^*

กะปุ๋ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท