เป้าหมายปลายสุดเหมือนกัน


เมื่อนำแนวทางการดำเนินงานตามโครงการไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน จังหวัดพัทลุง มาเปรียบเทีบดู ทั้งนี้ก็เพื่อพัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในระดับชุมชน เช่นกัน จะเห็นวิธีการเดินที่อาจจะแตกต่างกันบ้าง แต่เป้าหมายเดียวกัน

     ผมขอนำข้อคิดที่ได้จากหนังสือ “การจัดการความรู้นโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี” ประเด็นการสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในระดับชุมชน ซึ่งได้เสนอไว้ว่าอาจจะมีขั้นตอน 9 ขั้นตอน และเมื่อนำแนวทางการดำเนินงานตามโครงการไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน จังหวัดพัทลุง มาเปรียบเทีบดู ทั้งนี้ก็เพื่อพัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในระดับชุมชน เช่นกัน จะเห็นวิธีการเดินที่อาจจะแตกต่างกันบ้าง แต่เป้าหมายเดียวกัน ลองดูนะ
          แนวทางการสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในระดับชุมชน 9 ขั้นตอน
            (1) ผู้ริเริ่มการสร้างนโยบาย อาจจะมีเพียงคนเดียวหรือเป็นกลุ่มก็ได้
            (2) กำหนดปัญหาของชุมชน ขึ้นมา
            (3) จะต้องสร้างกลุ่มทำงานให้ได้ โดยที่กลุ่มควรจะประกอบไปด้วยประชาชนผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยให้คำแนะนำ และประชาชนที่สนใจทั่วไป ทั้งนี้กลุ่มทำงานจะต้องไปเกี่ยวข้องกับหลายส่วนในสังคม เช่น นักการเมืองในท้องถิ่น ข้าราชการ เป็นต้น
            (4) ประเมินความต้องการของชุมชน โดยเราสามารถรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในชุมชน ศาลาประชาคม หน่วยงานราชการและองค์กรในชุมชน ซึ่งข้อมูลเหล่ านี้จะนำมาประเมินสถานการณ์ของชุมชนในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ ลักษณะประชากร, การจ้างงาน, สภาพเศรษฐกิจ และสังคม, ด้านสาธารณสุข, บริการต่าง ๆ ในชุมชน เช่น สวนสาธารณะ การจัดการขยะ การขนส่ง, การมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น ศาลาประชาคม สื่อสารมวลชน เป็นต้น และด้านองค์กรสุขภาพของชุมชน เมื่อเรารู้สถานการณ์ของชุมชนแล้วก็จะกำหนดแผนได้ชัดเจน
            (5) กำหนดวัตถุประสงค์ และเขียนแผนปฏิบัติการ โดยในแผนปฏิบัติการจะต้องกำหนดกิจกรรม ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงาน และระยะเวลาที่ชัดเจน
            (6) สนับสนุนการมีส่วนร่วม เนื่องจากโดยปกติจะมีผู้ที่เห็นด้วยและไม่ เห็นด้วยฉะนั้นในการพัฒนานโยบายจำเป็นต้องได้รับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย

            (7) สื่อสารสิ่งที่จะทำกับชุมชนและประชาชนทั่วไปผ่านสื่อต่าง ๆ
            (8) นำนโยบายมาใช้ และดำเนินการให้เกิดผล
            (9) ติดตามความก้าวหน้า ประเมินผล และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่ อให้บรรลุวัตถุประสงค์ สำหรับกระบวนการสร้างนโยบายสาธารณะข้างต้น ควรจะต้องถามตัวเองตลอดเวลา ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนกว่าจะบรรลุผลว่าสังคมเกิ ดการเปลี่ยนแปลงจากการผลักดันของเราอย่างไร ผลลัพธ์ เป็นไปตามที่ชุมชนต้องการหรือไม่ และนโยบายจะต้องเปลี่ยนแปลงต่อไปอย่างไร
          แนวทางไตรภาคีฯ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีในระดับชุมชน 9 ขั้นตอน
            (1) กำเนิดผู้ริเริ่มการสร้างนโยบาย ได้แก่กลุ่มแกนนำเครือข่ายไตรภาคีฯ ระดับจังหวัด (20 คน) มีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นคนอำนวยการ มีผมเป็นผู้ประสานงานภาพรวม และทีมงานเป็นผู้ประสานกับพื้นที่โดยตรง
            (2) การพัฒนากลุ่มทำงาน ได้แก่เครือข่ายไตรภาคีฯ ในระดับพื้นที่ทั้งระดับชุมชน (ขยายเป็นระดับตำบล) และระดับอำเภอ โดยมีตัวแทนจาก (1) ลงมาขับเคลื่อน
            (3) กำหนดปัญหาสำคัญ ๆ ของชุมชนในเบื้องต้นขึ้นมาเพื่อจุดประกาย สร้างกระแส หากมีแผนชุมชนแล้วก็นำมาวิเคราะห์ใหม่ ถือเป็นการทบทวนแผนฯ โดย (2) มี (1) เป็นพี่เลี้ยงในระยะแรก ๆ
            (4) นำผลผลิตจาก (3) มาประเมินความต้องการของชุมชนที่แท้จริงอีกครั้ง และผนวกความต้องการที่จะพัฒนาชุมชน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม พบปะพูดคุยกลุ่มย่อย ๆ รวมเป็นกลุ่มใหญ่เรื่อย ๆ โครงสร้างความร่วมมือแบบไตรภาคีก็จะใหญ่ขึ้น และแน่นแฟ้นขึ้น เน้นที่ทุกคนต้องมีส่วนได้ส่วนเสีย เสร็จแล้วเมื่อรู้สถานการณ์ของชุมชนร่วมกันแล้ว ก็จะกำหนดเป็น (ร่าง) แผนสุขภาพชุมชนขึ้นได้อย่างชัดเจน โดยมีองค์ประกอบ คือ ค่านิยมร่วมของชุมชน วิสัยทัศน์ชุมชน – > กลยุทธ์ชุมชน แต่ในขั้นตอนนี้ จะยังไม่ผ่านการทำประชาคมในภาพรวม โดย (2) มี (1) เป็นพี่เลี้ยงในระยะแรก ๆ
            (5) จากผลผลิตใน (4) ก็นำเขียนแผนปฏิบัติการฉบับร่างโดย (2) โดยในแผนปฏิบัติการจะต้องกำหนดกิจกรรม ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงาน และระยะเวลาที่ชัดเจน
            (6) สนับสนุนการมีส่วนร่วม เนื่องจากโดยปกติจะมีผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยฉะนั้นในการพัฒนานโยบายจำเป็นต้องได้รับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย โดยการเปิดเวทีประชาคมในภาพรวม โดยนำผลผลิตจาก (4) และ (5) มาเพื่อขอความเห็น คำชี้แนะ ซึ่งในขั้นตอนนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามที่ประชาคมเห็นชอบ ดำเนินการโดย (2) และสนับสนุนโดย (1)
            (7) ดำเนินการสื่อสารสิ่งที่จะทำกับชุมชนและประชาชนทั่วไปผ่านสื่อต่าง ๆ ในชุมชน
            (8) สิ่งใดที่ชุมชนดำเนินการเองได้ก็ดำเนินการกันเอง หากสิ่งใดที่ต้องมีการเชื่อมต่อก็ดำเนินการเชื่อมประสานไปยังหน่วยงานราชการท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เช่น อบต. เทศบาล อบจ. และหน่วยราชการส่วนภูมิภาค เพื่อขอความร่วมมือในการนำนโยบายของชุมชนมาใช้กับชุมชนเขา และดำเนินการให้เกิดผล รวมถึงการเชื่อมต่อไปยังองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ต้องการพัฒนาและตรงกับวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้น ๆ โดย (2) (ซึ่งในรูปแบบการพัฒนาแบบไตรภาคีฯ ตัวแทนจากส่วนต่าง ๆ นี้ได้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว)
            (9) ติดตามความก้าวหน้า ประเมินผล และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่ อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งจะต้องมีการถอดบทเรียนด้วยการถามตัวเองตลอดเวลา โดย (2) และ มี (1) เป็นพี่เลี้ยง
     กล่าวโดยสรุป จะเห็นว่าขณะนี้โครงการไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชนของจังหวัดพัทลุง เรากำลังเดินคล้าย ๆ เส้นทางนี้อยู่นะครับ ในส่วนที่แตกต่างกันออกไปบ้างก็คือการขับเคลื่อนของเราหากพื้นที่ใดมีแผนชุมชนที่ ชุมชนยอมรับอยู่แล้ว เราจะขับเคลื่อนผ่านแผนชุมชนนั้น หากยังไม่มีเราจะสนับสนุนให้เกิดกระบวนการนี้ขึ้น และเราเริ่มจากการพัฒนากลุ่มทำงานก่อน โดยกลุ่มทำงานค่อยไปวิเคราะห์ปัญหาทีหลัง โอกาสนี้จึงขอให้เครือข่ายที่กำลังขับเคลื่อนอยู่ได้ลองนำไปปรับใช้บ้างนะครับ

     แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี [ http://km.hppthai.org ] ได้เปิดรับสมัครสมาชิกผู้ปฏิบัติและสนใจอยู่ในขณะนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ ขอเชิญไปติดตามรายละเอียดได้ที่หน้า website ครับ

หมายเลขบันทึก: 5220เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2005 01:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท