ChackTheOcean
ประจักษ์ เกื้อกูลวงศ์สกุล

บทที่ ๕ ความซื่อตรงภายในใจ ต่อตัวเองและผู้อื่น คือมหาสมุทรแห่งหลักความดีและความดีงามทั้งปวง


“ความกล้าหาญย่อมเป็นอาวุธที่เข้มแข็งที่สุด เพื่อต่อสู้กับความกลัวอันลึกซึ้งภายในใจของมนุษย์เรา เมื่อมีความกลัว ใจมนุษย์เราย่อมอ่อนแอและคดงอได้ง่าย เพื่ออยู่รอดด้วยสัณชาตญาณสัตว์โลก แต่เมื่อเราเอาชนะความกลัวในใจได้ ย่อมเป็นชัยชนะที่เหนือกว่าชัยชนะอื่นใดทั้งปวง รางวัลอันสูงสุดที่ได้รับ ย่อมได้ความซื่อตรงภายในใจ ต่อตนเองและผู้อื่น”
ความซื่อตรงภายในใจ ต่อตัวเองและผู้อื่น คือมหาสมุทรแห่งหลักความดีและความดีงามทั้งปวง ของมนุษย์ทุกหมู่เหล่าความกล้าหาญย่อมเป็นอาวุธที่เข้มแข็งที่สุด เพื่อต่อสู้กับความกลัวอันลึกซึ้งภายในใจของมนุษย์เรา เมื่อมีความกลัว ใจมนุษย์เราย่อมอ่อนแอและคดงอได้ง่าย เพื่ออยู่รอดด้วยสัณชาตญาณสัตว์โลก แต่เมื่อเราเอาชนะความกลัวในใจได้ ย่อมเป็นชัยชนะที่เหนือกว่าชัยชนะอื่นใดทั้งปวง รางวัลอันสูงสุดที่ได้รับ ย่อมได้ความซื่อตรงภายในใจ ต่อตนเองและผู้อื่น Q1: ทำไม ความซื่อตรงภายในใจ ต่อตัวเองและผู้อื่น จึงเปรียบได้กับมหาสมุทรแห่งหลักความดี และความดีงามต่างๆA1: ลองคิดดูว่า ถ้าใจเราตรง ไม่คดงอ (คดงอเพื่อหลอกตัวเอง และคดงอเพื่อหลอกผู้อื่น) สิ่งนี้ย่อมเป็นพื้นฐานของความดีอื่นๆความคิด กระทำทุกอย่างล้วนเริ่มจากใจ ถ้าใจตรง ใจถูกต้อง ความคิดและการกระทำก็ย่อมตรง ถูกต้อง เป็นคุณแต่ถ้าใจคดงอ ไม่ตรง ความคิดและการกระทำย่อมคองอ ไม่ถูกต้อง เป็นโทษ หลักความดีและความดีงามทั้งปวง ย่อมเกิดจากใจที่กล้าหาญ ซื่อตรง ไม่คดงอ ด้วยกันทั้งสิ้น Q2: หลักความดีและความดีงาม จะแตกต่างระหว่าง แต่ละชาติ แต่ละศาสนา เหนือและใต้ ตะวันออกและตะวันตกหรือไม่A2: ลองคิดดูว่า แต่ละชาติ แต่ละศาสนา ระหว่างเหนือและใต้ ระหว่างตะวันออกและตะวันตก ต่างมีประวัติศาสตร์ มีมุมมองที่ต่างกัน มีการแปลความหมายต่อสิ่งต่างๆ ต่างกัน ดังนั้นหลักความดีและความดีงามอาจจะมีแตกต่างกันออกไปบ้างในบางมุม บางแง่และหลักความดีและความดีงาม อาจจะโดนเข้าใจ โดนเรียกแตกต่างกันออกไป ตามแต่ละที่ ประดุจแม่น้ำและทะเล ที่โดนเรียกแตกต่าง กันออกไป แต่ในที่สุด แม่น้ำและทะเล ต่างๆ ก็ย่อมมีมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ เป็นที่รองรับ ด้วยกันทั้งสิ้น Q3: จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าใจมนุษย์เราไม่ซื่อตรง ต่อตัวเองและผู้อื่นA3: เมื่อใจมนุษย์เราอ่อนแอและคดงอ ความคิดและการกระทำย่อมคองอ เป็นโทษไปด้วย จิตใจย่อมอยู่ระดับเดียวกับสัณชาตญาณของสัตว์โลกและต้องกระทำเพื่อความอยู่รอดของสัญชาตญาณสัตว์โลก ไม่สามารถแยกคุณ แยกโทษได้ ไม่สามารถแยกดี แยกเลวได้ ผลลัพธ์ย่อมเป็นอันตรายอันสูงสุดเหนือกว่าภัยอันตรายทั้งปวง
หมายเลขบันทึก: 52181เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2006 17:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท