เรื่องเล่า ตลาดนัดความรู้นครพนม(2) : ประสบการณ์ประทับใจของหมอผู้ดูแลคนไข้เบาหวาน


“อาจจะใช้เวลาเพิ่มอีกสักนิด แต่เราสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานได้ครับ”

ประสบการณ์ประทับใจของหมอผู้ดูแลคนไข้เบาหวาน


          ในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานแต่ละคนจะมีส่วนประกอบสำคัญหลายส่วน เช่น การปฏิบัติตัวทั้งด้านการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การเข้าใจในโรคเบาหวาน การให้ยารักษาเบาหวาน เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่จะช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งจะสามารถลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
 หลังจากที่ผมได้มาดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่ รพ.โพนสวรรค์ 2 ปี ได้พบว่าผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมักจะปรับยาเบาหวานด้วยตนเอง ไม่ได้ทานยาตามที่ได้จัดให้ทำให้มีปัญหาในการปรับการให้ยา ดังนั้น เมื่อผู้ป่วยเบาหวานมารับยาที่ รพ. ผมจะสอบถามการทานยาเบาหวานของผู้ป่วยที่ผ่านมาเพื่อเป็นการเตือนการทานยาของผู้ป่วยและเพื่อการปรับยาในการรักษาต่อไป ซึ่งหลังจากนั้นผู้ป่วยสามารถทานยาได้ถูกต้องมากขึ้น ส่งผลให้การควบคุมโรคเบาหวานมีประสิทธิภาพดีขึ้น 
 “อาจจะใช้เวลาเพิ่มอีกสักนิด แต่เราสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานได้ครับ”


        นพ.ปภณ อัศววรฤทธิ์  โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จ.นครพนม

หมายเลขบันทึก: 52148เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2006 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 23:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

       จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า มีครั้งหนึ่งเมื่อครั้งที่ต้องไปเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามการรักษาเพราะว่าเพื่อนผู้ป่วยเล่าว่ามีผู้ป่วยเบาหวานไม่กินยา  แต่มารับยาทุกเดือนเนื่องจากกลัวหมอจะว่า   และแล้วเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดเมื่อเข้าไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน  ลักษณะเป็นกึ่งกระท่อมกึ่งบ้าน  ข้างบ้านมียุ้งข้าวใต้ถุนยุ้งข้าวมีเล้าไก่  และรอบๆเล้าไก่มีแผงยาเก่าเปื้อนขี้ไก่บ้าง เปื้อนโคนบ้าง  สิ่งแรกที่คิดในใจว่าผู้ป่วยทันที  แต่ก็ได้พูดแกมหยอกล้อกับผู้ป่วยว่าสงสัยยาไม่อร่อยแน่เลยถึงไม่อยากกิน  แต่จากคบอกเล่าว่า เนื่องจากผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุยาที่กินยาเป็น  GB  ,met   ผู้ป่วยบ่นว่ากินแล้วเหนือย  แต่ช่วงที่ไปรับยาบางครั้งน้ำตาลสูงแต่บางครั้งก็ไม่สูงแต่ไม่อยากกินข้าว  เพราะช่วงที่ทำนาไม่มีเวลากิน  ก็เลยมีเหนื่อยใจสั่นง่ายทำนาไม่ได้ แต่ไปรับยาทุกเดือน    สิ่งที่เรียนรู้ว่า   เพื่อนผู้ป่วยเป็นประวัติที่น่าสนใจในการซักประวัติ   อาการที่ดีเมื่อมาเจอเราที่  รพ. อาจเป็นภาพลวงตา  อยาทำตัวเป็นหมอที่น่ากลัว  แต่จงเป็นเอนที่คอยรับฟังปัญหา

      อ่านเรื่องจากคุณ วิภาสินี แล้วทำให้นึกถึงการทำงาน ของเราทุกวัน ที่อาศัยจากการซักถามเป็นหลัก แล้วสั่งการรักษา สั่งยา แนะนำสารพัด แต่ขาดการรับฟัง หรือแม้กระทั่งการตามไปเยี่ยมบ้าน ซึ่งดูมีคุณค่ามาก ที่จะพบกับปัญหาที่แท้จริง และช่วยคนไข้ได้อย่างตรงจุด

      สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ต้องมอง ก็คือการให้ผู้ป่วยได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รับรู้ในสภาพการเจ็บป่วย เพื่อให้สามารถปฏิบัติตัวที่เหมาะสมได้เอง  และไม่มีคำพูดว่า  หมอสั่ง หรือหมอบอกให้ทำ อีกต่อไป

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท