ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ


ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ

 ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ

ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ หรือสนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินหนองงูเห่า เป็นสนามบินตั้งอยู่ที่ ถนนบางนาตราด ใน จังหวัดสมุทรปราการ กำหนดเปิดใช้งานวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 [1] และมีกำหนดการใช้งานแทนท่าอากาศยานกรุงเทพที่ดอนเมืองหลังดำเนินการระยะหนึ่ง โดยนโยบายรัฐบาลได้กำหนดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศ และจะเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

ชื่อของสนามบินสุวรรณภูมิ มีความหมายว่า "แผ่นดินทอง" เป็นชื่อพระราชทานโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543 และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2545

สถาปนิกผู้ออกแบบอาคาร คือ เฮลมุต จาห์นชาวอเมริกัน-เยอรมัน และบริษัทเมอร์ฟี/จาห์นสำนักงานใหญ่ที่ชิคาโก ซึ่งแบบอาคารสนามบินได้ถูกปรับเปลี่ยน ขนาดอาคาร และวัสดุจากแบบเดิมไปในหลายส่วน เช่นเพิ่มการประดับยักษ์ และสถาปัตยกรรมไทยเพิ่มเข้าไปโดยสถาปนิกชาวไทย

ชื่อสากลของสนามบินสะกดตามการทับศัพท์ภาษาสันสกฤต ว่า "Suvarnabhumi" แทนที่การเขียนทับศัพท์ตามระบบราชบัณฑิตยสถาน ว่า "Suwannaphum

รายละเอียดเกี่ยวกับสนามบิน

ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ มีพื้นที่ประมาณ 20,000 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ประมาณถนนบางนาตราดกิโลเมตรที่ 15 อยู่ในเขตตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งอยู่ห่างจากใจกลางกรุงเทพมหานคร 25 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยส่วนหลัก ได้แก่

ระบบทางวิ่ง ทางขับ และลานจอดอากาศยาน

ทางวิ่ง มี 2 เส้น กว้างเส้นละ 60 เมตร ยาว 3,700 เมตร และ 4,000 เมตร ห่างกัน 2,200 เมตร มีทางขับขนานกับทางวิ่งทั้ง 2 เส้น ให้บริการขึ้น-ลง ของอากาศยานได้พร้อมกัน และเมื่อพัฒนาจนสมบูรณ์แล้ว จะมีทางวิ่งทั้งหมด 4 เส้น เป็นทางวิ่งข้างละ 2 เส้นขนานกัน และมีหลุมจอดอากาศยาน มีจำนวน 120 หลุมจอด (จอดประชิดอาคาร 51 หลุมจอด และจอดระยะไกลอีก 69 หลุมจอด) รวมถึงหลุมจอดอากาศยานขนาดใหญ่ไว้ด้วย จำนวน 5 หลุมจอด

อาคารผู้โดยสาร

อาคารผู้โดยสารเป็นอาคารเดี่ยว ช่วงกว้าง ไม่มีเสากลางอาคาร มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 563,000 ตร.ม. มี 8 ชั้น รวมชั้นใต้ดิน มีรายละเอียดแต่ละชั้น(ตามแผน) ดังต่อไปนี้
  • ชั้น 1 - สถานีรถโดยสาร (Bus Lobby)
  • ชั้น 2 - ผู้โดยสารขาเข้า (Arrivals)
  • ชั้น 3 - จุดนัดพบ, ร้านค้าต่างๆ
  • ชั้น 4 - ผู้โดยสารขาออก (Departures)
  • ชั้น 5 - สำนักงานบริษัทการบินไทย และพันธมิตร (Star Alliance)
  • ชั้น 6 - ภัตตาคาร
  • ชั้น 7 - ที่ชมทัศนียภาพ
  • ชั้นใต้ดิน - สถานีรถไฟ

ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของท่าอากาศยาน รองรับผู้โดยสารได้ 45 ล้านคนต่อปี ภายในอาคารมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น จุดตรวจบัตรโดยสาร 360 จุด จุดตรวจหนังสือเดินทาง ขาเข้า 124 จุด / ขาออก 72 จุด โดยมีระบบรักษาความปลอดภัยแบบ 100% Hold Baggage In-line Screening System นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะสร้างสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนอยู่ใต้อาคาร มีอาคารผู้โดยสารนานาชาติและภายในร่วมกัน ระยะทางเดินต่อเครื่องระหว่างสายการบินภายในและภายนอก มีความยาวเฉลี่ยราว 800-1000 เมตร ระยะไกลสุดราว 3000 เมตร เดิมมีแผนที่จะเชื่อมโดยรถรางใต้ดิน (แต่ปัจจุบันไม่ได้ก่อสร้างตามแผนนั้น)

อาคารท่าเทียบเครื่องบิน

 
ภายในส่วนอาคารท่าเทียบเครื่องบินและส่วนพักคอย

อาคารท่าเทียบเครื่องบิน หรือคอนคอร์ส มีท่าเทียบ 51 จุด 5 จุดสามารถรอรับเครื่องบินขนาดใหญ่ เช่น Airbus A-380 ได้ ลักษณะสถาปัตยกรรมทันสมัย หลังคารูปโค้งกรุผ้าใบสลับกระจกโค้ง นอกจากการจอดเทียบท่าแล้วสามารถจอดที่ท่ากลางลานได้ รวมแล้วสามารถรองรับเครื่องบินได้ราว 120 ลำ

มหัศจรรย์เลข 9

นอกเหนือกิจกรรมที่จัดขึ้น โดยการท่าอากาศยานฯ (AOT)ในวันที่ 9 เดือน 9 (กันยายน 2549) ซึ่งมีการวิ่งเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยมีนักวิ่งจากภูมิภาคต่างๆ (จำนวนที่ลงทะเบียน 9,999 คน)แล้ว เป็นที่น่าสังเกตถึง มหัศจรรย์เลข 9 ดังต่อไปนี้

  • อาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบิน มีระยะห่างระหว่างเสาแต่ละต้น 9 เมตร ซึ่งเสาหลัก (เสาไพลอนที่ค้ำซูเปอร์ทรัส) หรือคานหลักรั้น มี 2 ตัวต่อ 1 คาน รวมกันเป็น 1 ชุด
  • เสา 2 ตัวที่ค้ำคานนี้จะห่างกัน 81 เมตร (8+1=9)
  • ชุดเสาที่อยู่ทางทิศตะวันออกจะห่างจากชุดเสาทางด้านทิศตะวันตก 126 เมตร (1+2+6=9)
  • หลังคาผ้าใยสังเคราะห์ที่ติดตั้งกับอาคารเทียบเครื่องบินทั้งหมด 108 ช่วง (1+0+8=9)
  • สำหรับทางเลื่อนระนาบผิวเฉพาะในเทอร์มินอลมีทั้งหมด 95 ชุด มีความยาวตั้งแต่ 27 เมตร (2+7=9) และ 108 เมตร (1+0+8=9)
  • ความเร็วของทางเลื่อนในอาคารรวมทั้งทางเลื่อนลาดเอียง มีความเร็วนาทีละ 45 เมตร (4+5=9)

ความเป็นที่สุด

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีความเป็นที่สุดในหลายๆด้าน[6] และ เป็นหนึ่งใน "ความภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ" (สโลแกนของรายการสถานีสุวรรณภูมิ ทางโทรทัศน์เคเบิ้ล ช่อง UBC9) สามารถสรุปเป็นข้อๆดังต่อไปนี้

  • สนามบินที่ใช้เวลาการก่อสร้างนานที่สุดในโลก
  • สนามบินที่ใหญ่ที่สุด และทันสมัยที่สุดแห่งใหม่ในโลกด้วย พร้อมกันกับเป็นการปิดของท่าอากาศยานกรุงเทพ ที่ได้ชื่อว่าเป็นสนามบินที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ที่ยังคงเปิดให้บริการมาจนถึงปัจจุบัน
  • ตัวอาคารผู้โดยสารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
  • ภายในอาคารเทียบเครื่องบิน ถือเป็นสถาปัตยกรรมที่ทันสมัยที่สุดในโลก
  • ระบบทางวิ่ง (รันเวย์) มีความยาวที่สุดในโลก
  • หอบังคับการบินที่สูงที่สุดในโลก
  • มีโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสาร ที่มีห้องพักถึง 600 ห้อง ซึ่งบริเวณล็อบบี้ของโรงแรมถือ ว่าใหญ่ที่สุดในโลก
  • ระบบการบริหารจัดการท่าอากาศยานทุกกิจกรรม ที่ใช้ระบบไอทีติดอันดับโลกไปโดยปริยาย
  • มีเรื่อง “ฉาวโฉ่” มากที่สุด ตลอดระยะเวลา 46 ปี โดยเฉพาะข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริต ได้แก่ การซื้อที่ดิน ออกแบบก่อสร้าง จ้างบริษัทที่ปรึกษา ถมทราย การว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง ขั้นตอนแบ่งงานบริษัทรับเหมา จัดซื้อเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิดที่เพิ่งเป็นข่าวปรากฎในสื่อ
คำสำคัญ (Tags): #สุวรรณภูมิ
หมายเลขบันทึก: 52146เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2006 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อยากไปเยี่ยมชมและใช้บริการจัง คงไปไม่ถูกหรอกครับ คงต้องอาศัยแท็กซี่เท่านั้นที่นำทาง ถือว่าเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ ที่มีสนามบินใหม่และใหญ่กว่าเดิม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท