ปอยหมั่งกะป่า หรือ ประเพณีเขาวงกต


ปอยหมั่งกะป่า หรือ ประเพณีเขาวงกต

 

 Dsc02267ปอยหมั่งกะป่า หรือ ประเพณีเขาวงกต นับวันจะสูญหายไปจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพราะขาดการสืบสานหรือยึดถือเป็นประเพณีประจำปี เช่นแต่ก่อน ครั้งหนึ่งประเพณีนี้ได้จัดขึ้นเป็นงานประจำปีเดือน 12 ของวัดดอนเจดีย์ ปัจจุบันจะสามารถพบเห็นได้เฉพาะอำเภอขุนยวม โดยเฉพาะบ้านเมืองปอน ซึ่งชุมชนได้ตระหนักเห็นคุณค่าร่วมกันจัดงานปอยหมั่งกะป่า หรือ ประเพณีเขาวงกต เป็นประจำทุกปี คำว่า หมั่งกะป่า แปลว่า เขาวงกต เป็นเรื่องราวตอนหนึ่งในมหาเวสสันดรชาดก ตอนที่พระเวสสันดรได้ออกจากเมืองไปบำเพ็ญบารมีในป่าเขาวงกต ซึ่งเส้นทางที่จะเข้าไปหาพระเวสสันดรในป่าเขาวงกตนั้นสลับซับซ้อนมีทางเข้ามากมาย ถ้าผู้ใดจะเข้าไปหาหรือไปทำบุญก็ตามหากไม่มีบุญแล้ว จะไม่สามารถเข้าไปถึงอาศรมพระเวสสันดรได้ จะหลงทางไปมา อยู่ในป่าเขาวงกตนั่นเอง ในมหาเวสสันดรกล่าวได้ว่าทิศทั้งสี่ของเขาวงกตนี้จะมีหนองดอกบัวทั้ง 4 ด้าน ดังนั้นในการจัดทำหมั่งกะป่า หรือ เขาวงกตนั้น ศรัทธาชาวพุทธดั่งเช่นชาวขุนยวมจะสร้างประสาท 4 หลัง แทนหนองดอกบัว ส่วนประสาทหลังกลาง ซึ่งเป็นหลังที่ 5 และสูงกว่าหลังอื่นๆนั้น สมมุติเป็นอาศรมของพระเวสสันดร สำหรับชาวบ้านเมืองปอน ซึ่งถือว่าเป็นชุมชนชาวไตที่เก่าแก่และยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวไตอย่างเหนียวแน่นชุมชนหนึ่งนิยมสร้างประสาท 9 หลัง ตั้งไว้บริเวณเขาวงกตที่สร้างขึ้น ซึ่งมีความหมายว่า ประสาทหลังใหญ่ 1 หลังที่ตั้งไว้ตรงกลางแทนอาศรมของพระเวสสันดร สำหรับประสาทอีก 8 หลัง สร้างจำลองตามประวัติและความเชื่อตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นการจำลองประสาทมหาวิหาร 8 หลัง ที่เศรษฐีในสมัยนั้นสร้างถวายแด่พระพุทธเจ้า โดยจำลองเหตุการณ์ มาสร้างเป็นพุทธบูชา ซึ่งตามพุทธประวัติได้กล่าวไว้ว่า หลังที่ 1 ชื่อ เชตวรรณ์มหาวิหาร ตั้งอยู่ในกรุงสาวัติถี ในครั้งที่พระพุทธเจ้ายังไม่ปรินิพาน ซึ่งเป็นวัดที่มหาเศรษฐีอนาถมีนฑิกะ เป็นผู้สร้างถวาย หลังที่ 2 ชื่อ บุพผารามมหาวิหาร ตั้งอยู่ในชนบทแห่งกรุงพาราณสี โยนางวิสาขามหาอุบาสิกา เป็นผู้สร้างถวาย หลังที่ 3 ชื่อ เวฬุวรรณ์มหาวิหาร ตั้งอยู่ในกรุงราชคฤ พระเจ้าพิม พิสาล เป็นผู้สร้างถวาย หลังที่ 4 ชื่อ มหาวรรณ์มหาวิหาร ตั้งอยู่ในกรุงปาตะลีบุตร จิตตะมหาเศรษฐี เป็นผู้สร้างถวาย หลังที่ 5 ชื่อ เมกกะทายะวรรณ์มหาวิหาร ตั้งอยู่ในป่าติดกับดินแดนแห่งมัน นันฑิยะมหาเศรษฐี เป็นผู้สร้างถวาย หลังที่ 6 ชื่อ กัณฑารมมหาวิหาร ตั้งอยู่ในกรุงเวสาลี โชติกะมหาเศรษฐี เป็นผู้สร้างถวาย หลังที่ 7 ชื่อ กุสินารามมหาวิหาร ตั้งอยู่ในกรุงโกสัมภี กากะวรรณะมหาเศรษฐี เป็นผู้สร้างถวาย หลังที่ 8 ชื่อ นิโครธารามมหาวิหาร ตั้งอยู่ในกรุงกบิลภัท พระเจ้าสุทโทธนะ เป็นผู้สร้างถวาย นอกจากนี้ประสาท 7 ใน 8 หลังดังกล่าว ศรัทธาชาวเมืองปอน ยังได้อัญเชิญพระพุทธรูปปางต่างๆ ซึ่งเป็นพระประจำวันไว้ในซุ้มประสาท เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้นมัสการบูชาพระประจำวันเกิดของตนเพื่อให้เกิดศิริมงคลแก่ตนเองอีกด้วย ปอยหมั่งกะป่า หรือ ประเพณีเขาวงกต นิยมจัดขึ้นในเดือน 12 ระหว่างวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 15 ค่ำ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจัดขึ้นในช่วงขึ้น 13 ค่ำ ถึง 15 ค่ำ เดือน 12 โดยถือเอาวันขึ้น 15 ค่ำเป็นวันสุดท้ายของงาน ประเพณีต่างๆ ของชาวไต จะไม่สูญหายหากชุมชนตระหนักถึงคุณค่าการอนุรักษ์รักษาไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ยึดมั่นปฏิบัติ ส่งผลต่อการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งจะทำสังคมอยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป

หมายเลขบันทึก: 52096เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2006 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นปอยที่แป่วมาก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ

ประเพณีไม่มีวันหลง (ลืม)

กิติชาติ พรนิมิตร

ใหม่สูง เรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมงานปอยหมั่งกะป่า ณ วัดดอนเจดีย์ ในวันที่ 3 - 5 ธันวาคม 2553 นี้ครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท