ขึ้นเงินเดือนอีก, จะเป็นข้าราชการ, ค่าจ้างบรรณารักษ์, ข้อสอบ 9 ม.ครู, สอบนอกตาราง, หลักสูตรภาษาจีน, บัตร นศ.(ATM), ผล N-NET+e-Exam, B.T.C.สามัญ จะอบรม A.T.C.วิสามัญ, ทำแผนการสอน, ซื้อหนังสือให้บ้านหนังสือ, กพช.คุณธรรม, Logo กศน.อ.


สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  16  เรื่อง ดังนี้


         1. วันที่ 21 ก.พ.56 คุณ “Giovanni Capaldi” กศน.เพชรบุรี ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  การสอบปลายภาคเรียน วิชาเลือกสอบนอกตาราง ไม่ต้องสอบวันที่ 9-10 มีนา ได้ไหม

             ผมตอบว่า  ได้ แล้วแต่ "จังหวัด" จะกำหนด  โดยปกติวิชาเลือกที่เหมือนกัน 2 อำเภอขึ้นไป จังหวัดต้องกำหนดตารางสอบให้สอบในเวลาเดียวกัน จะกำหนดในตารางหรือนอกตารางก็ได้  ถ้าเป็นวิชาเลือกที่มีเพียงอำเภอเดียว จังหวัดอาจมอบให้อำเภอนั้นกำหนดตารางสอบวิชานั้นเอง จะสอบในตารางหรือนอกตารางก็ได้


         2. วันเดียวกัน ( 21 ก.พ. ) คุณวิลาวัลย์ จันทะคัด ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค 4 ประเด็น คือ 

             1)  วันไหนจะเปิดสอบข้าราชการครู กศน. ( ครูผู้ช่วย )
                  ผมตอบว่า  ประมาณ เม.ย.-พ.ค.56  ( ที่จริงท่าน ผอ.กจ. บอกผมเมื่อวันที่ 13 ก.พ.56 ว่า ประมาณ มี.ค.-เม.ย.  แต่ผมเห็นว่าช้ากว่าที่บอกทุกที ผมเลยตอบคนอื่นต่อว่า ประมาณ เม.ย.-พ.ค. )

             2)  รับจำนวนเท่าไร
                 ตอบว่า อัตราว่างบรรจุได้ทันทีประมาณ 31 อัตรา ( รวมครูศูนย์วิทย์/ศูนย์ฝึกด้วยแล้ว ) ที่เหลือคงขออนุมัติขึ้นบัญชีไว้ 1 ปี

             3)  โอกาสที่ครู กศน.ตำบบลจะเป็นข้าราชการมีหรือเปล่า
                 ตอบว่า  ก็ต้องสอบนี่แหละ

             4)  แล้ว พรบ.กศน.ล่ะ
                 ตอบว่า  พรบ.กศน.ออกตั้งแต่ปี 51 แล้ว  วันที่ 4 มี.ค.56 นี้จะครบรอบ 5 ปีแล้ว  พรบ.ที่กำลังคอยอยู่คือ พรบ.กศช. ( เรียกชื่อ พรบ.ยังไม่ถูกแล้วจะเป็นข้าราชการได้ไหมเนี่ยะ )  ท่านปลัดกระทรวงฯบอกว่า แท่ง กศน.ต้องใช้เวลาอีก 2 ปี
                 แต่ถึง พรบ.กศช.จะออกมา ครู กศน.ตำบลก็ต้องสอบเป็นข้าราชการ  ( อยากรู้จริง ๆใครเป็นคนบอกว่า พรบ.กศช.ออกแล้ว ครู กศน.ตำบลจะได้เป็นข้าราชการโดยอัตโนมัติ )  เพียงแต่โอกาสเป็นข้าราชการมีมากเพราะจะได้อัตราบรรจุมาก เช่น บรรจุสองพันคน  คนที่สอบได้ที่สองพันก็ได้เป็นข้าราชการ  แต่ถ้า พรบ.กศช.ไม่ออกคนที่สอบได้ที่สองร้อยก็ไม่ได้เป็นข้าราชการเพราะไม่มีอัตรา


         3. วันเดียวกัน ( 21 ก.พ. ) คุณ “ครู ชอวร์ กวีหลังบ้าน” นักวิชาการศึกษา กศน.สมุทรปราการ ถามในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า  ภาษาจีน จังหวัดละหนึ่งแห่ง มีหลักสูตร 300 ชั่วโมงให้ศึกษาบ้างไหม

             ผมตอบว่า  หนังสือสำนักงาน กศน. เรื่องเร่งรัดการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน ออกโดยกลุ่มแผนงาน กศน.   เรื่องนี้ คุณอ้อม กลุ่มแผนงาน บอกว่ายังไม่ได้พัฒนาหลักสูตรภาษาจีนที่เป็นหลักสูตร 300 ชั่วโมง  แต่หลักสูตรของกลุ่มพัฒนา กศน.ที่เป็นหลักสูตรการจัดการอาชีพเพื่อการมีงานทำ ชุดที่ 2 กลุ่มภาษาต่างประเทศเพื่อการอาชีพ มีอยู่ 3 หลักสูตรคือ
             - ภาษาจีนเพื่ออาชีพพนักงานขายสินค้า 60 ชม.
             - ภาษาจีนเพื่ออาชีพพนักงานบริการ 60 ชม.
             - ภาษาจีนเพื่ออาชีพพนักงานขับรถรับจ้าง 60 ชม.
             ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.pattanadownload.com/download/g.1/g1.16.rar 
             สามารถนำทั้ง 3 วิชานี้มาต่อกัน แล้ว ปรับ-เพิ่ม-ขยายเวลา บางเนื้อหา ให้เป็นหลักสูตร 300 ชั่วโมง
             หรือ ขอหลักสูตรภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร ของสถาบันการศึกษาทางไกล กศน. ซึ่งเป็นหลักสูตร 400 ชม. มาปรับให้เป็น 300 ชั่วโมง
             หรือ ค้นหาหลักสูตรจากอินเตอร์เน็ตหรือจากที่ใดก็ได้ มาปรับใช้


         4. เย็นวันเดียวกัน ( 21 ก.พ. ) คุณ “กีต้าร์ ซีซ่าส์” ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  จะสอบ 9 มาตรฐาน อยากรู้แนวข้อสอบ

             ผมตอบว่า  ดูที่
             - http://sheetthai.com/index.php/topic,1057.0.html
             - http://www.testgood.myreadyweb.com/news/topic-14166.html


         5. คืนวันเดียวกัน ( 21 ก.พ. ) คุณ “Nana Veo” ถามในหน้าเฟซบุ๊คผม ว่า  อยากทราบลำดับขั้นตอนการจัดแผนการเรียนรู้ เท่าที่ทราบ มีแผนฯรายสัปดาห์ แผนฯบูรณาการ แผนฯสอนเสริม แผนฯพบกลุ่ม แผนฯด้วยตนเอง  แล้วเริ่มแรกต้องทำแผนอะไรก่อน

             ผมตอบว่า  ให้ดูในหนังสือ "แนวทางการจัดการเรียนรู้" ( หนังสือ 1 ใน 9 เล่ม ที่แจกให้ครู กศน.ทุกคนแล้ว ตอนอบรมหลักสูตรใหม่ )
            1)  เริ่มต้นที่ ตัดสินใจก่อนว่า จะจัดการเรียนรู้แยกตามแต่ละรายวิช าหรือจะจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ( คือนำหลายเนื้อหา/หลายรายวิชามาบูรณาการเพื่อจัดการเรียนรู้รวมกัน เป็นหน่วยการเรียนรู้ )  ถ้าจะจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ก็ต้องเริ่มจัดทำ "หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ" ก่อน
            2) ขั้นต่อมาคือ จัดทำปฏิทินการจัดการเรียนรู้ ( บางคนเรียกว่าแผนฯรายภาค )  ดูในหน้า 46-48
            3) จากนั้น จัดทำแผนฯรายสัปดาห์ แยกตามรูปแบบการเรียนต่าง ๆ ( พบกลุ่ม ตนเอง ทางไกล ชั้นเรียน )  ดูในหน้า 49-87
            4) ทำแผนการเรียนรู้รายบุคคล  ดูในหน้า 88-90
            5) ทำแผนฯสอนเสริม


         6. ดึกวันเดียวกัน ( 21 ก.พ. ) คุณพิชญานิน สรรเสริญ ขรก.ครู กศน.อ.ระโนด ถามในหน้าเฟซบุ๊คผม ว่า  การทำบัตรนักศึกษารูปแบบใหม่ ที่ให้นักศึกษาใหม่ทำ ครูแต่ละคนถูกนักศึกษาถามว่า หลังจากทำแล้ว บัตรจะใช้ประโยชน์อย่างไร (นักศึกษายากจน ไม่มีธนาคารในอำเภอ มีบัญชีฝากเงินอยู่แล้ว และไม่อยากฝาก) และมีคำถามมาว่าเห็นว่าเรียนฟรี แล้วจะมาเก็บค่าทำบัตร 50 บาท (เพื่ออะไร) จะอธิบายนักศึกษาอย่างไรดี ขอคำแนะนำด้วย

            ผมตอบว่า
            1)  ประโยชน์ของบัตรนักศึกษา ATM คือ นำ "ประโยชน์ของบัตรนักศึกษา" กับ "ประโยชน์ของบัตร ATM" มารวมกัน  ประโยชน์ของบัตรนักศึกษาเช่น ใช้ติดต่อประสานงานกับสถานศึกษา ใช้แสดงตัวเวลาเข้าสอบ ใช้แสดงตัวในสถานการณ์อื่น ๆ  ประโยชน์ของบัตร ATM เช่น สะดวกในการทำธุรกรรมทางการเงิน ( ถอน ฝาก โอน ) โดยไม่ต้องรอเวลาธนาคารเปิด ไม่ต้องไปที่ธนาคารตามบัญชี ทำที่ตู้ ATM ของธนาคารอื่นที่ใกล้บ้านได้
            2)  ถึงแม้นักศึกษาจะยากจน เราก็ควรส่งเสริมการออม ให้นักศึกษาประหยัดอดออมฝากเงินบ้าง  ( ถ้ามีบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทยอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเปิดบัญชีใหม่ )
            3)  การใช้บัตร ATM มีส่วนช่วยให้นักศึกษาเป็นคนทันสมัยในการใช้เทคโนโลยี
            4)  การทำบัตร ATM ไม่ใช่การเรียน ( ยังเรียนฟรีอยู่ )  เราไม่ได้เก็บเงินค่าทำบัตร ค่าทำบัตรนี้นักศึกษาจ่ายให้ธนาคาร ไม่ได้จ่ายให้สถานศึกษา บางแห่งเก็บเงินนักศึกษาค่าต่าง ๆ มากกว่านี้



  7. วันที่ 22 ก.พ.56 ผมไป ( แทน ผอ. ) ร่วมงานประเมินโรงเรียนในฝันต้นแบบ ที่ โรงเรียนผักไห่ “สุทธาประมุข”



         8. วันเดียวกัน ( 22 ก.พ. ) คุณอนงค์ กศน.อ.บางคนที ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  ที่ให้ กศน.อำเภอดำเนินการจัดซื้อหนังสือวารสารลงบ้านอัจฉริยะ ดำเนินการอย่างไรบ้าง หรือต้องรอหนังสือจากสำนักฯ

             เรื่องนี้ สำนักงาน กศน. มีหนังสือที่ ศธ 0210.02/953 เรื่องเร่งดำเนินการโครงการบ้านหนังสืออัจฉริยะ ลงวันที่ 26 ก.พ.56  แจ้ง กศน.จังหวัด ให้เร่งดำเนินการจัดซื้อหนังสือพิมพ์และนิตยสารรายปักษ์รายสัปดาห์ ให้บ้านหนังสืออัจฉริยะ ให้ทันวันที่ 1 มี.ค.56 โดยไม่ต้องรอการโอนเงินจัดสรร

            ( หนังสือพิมพ์แห่งละ 2 ฉบับ/วัน ทุกวันไม่เว้นวันหยุด  นิตยสารรายปักษ์ 1 ชื่อเรื่อง เดือนละ 2 ฉบับ ๆ ละไม่เกิน 60 บาท   รายสัปดาห์ 1 ชื่อเรื่อง เดือนละ 4 ฉบับ ๆ ละไม่เกิน 20 บาท   รวมค่านิตยสารแห่งละ 200 บาท/เดือน ซื้อนิตยสารตามความต้องการของประชาชน )
            แยกทำเรื่องซื้อครั้งละเดือนก็ได้เพื่อไม่ให้เกินแสนบาทจะได้ใช้วิธีตกลงราคาได้


         9. วันเดียวกัน ( 22 ก.พ. ) คุณภัสสราณัฐ ครู ศรช. กศน.อ.บางเลน ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  นักศึกษาที่จะจบเทอมนี้ ทุกคนต้องผ่านการอบรมคุณธรรมไม่น้อยกว่า 50 ชม. ใช่ไหม

             ผมตอบว่า
             1) หนังสือแจ้งเรื่องนี้เมื่อเดือน พ.ย.55 ฉะนั้น ให้มีผลบังคับกับนักศึกษาที่เริ่มเรียนในภาค 2/55 เป็นต้นไป นักศึกษาเก่าไม่จำเป็น
             2)  สถานศึกษามีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบาย เช่น ให้นักศึกษาทำ กพช.ในกิจกรรมศีลธรรม 50 ชั่วโมง ( กิจกรรมศีลธรรมนี้ไม่จำเป็นต้องเข้าค่ายอบรมก็ได้ อ่านรายละเอียดในกรอบการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่  https://dl.dropbox.com/u/109014048/QualityOfLife.pdf )


        10. วันเสาร์ที่ 23 ก.พ.56 คุณวิรัตน์ ชุ่มมงคล ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  เรื่องปรับค่าตอบแทนพนักงานราชการ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2556 ที่  http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/files/GEIS/PrakardSalary6.pdf  พนักงานราชการ กศน.ได้ทุกคนหรือเปล่า

             ผมตอบว่า  1 ม.ค.56 พนักงานราชการกลุ่มบริหารทั่วไปที่จ้างด้วยวุฒิปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี ทุกสังกัดทุกตำแหน่ง จะปรับเพิ่มค่าตอบแทนแรกบรรจุ เป็น 15,960 บาท ( ไม่ได้ค่าครองชีพแล้ว ) และพอถึง 1 ม.ค.57 ก็ปรับเพิ่มอีกเป็น 18,000 บาท ( วุฒิอื่น ๆ ก็ปรับขึ้นตามลำดับ )
             คงใช้เวลาออกคำสั่งอีกหลายเดือน แต่ก็จะตกเบิกย้อนหลังตั้งแต่ ม.ค.56
             สำหรับข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษาอื่นตาม ม.38 ค. (2) ก็ได้ปรับขึ้นเช่นกัน  แต่เงินเดือนแรกบรรจุของพนักงานราชการจะสูงกว่าข้าราชการพลเรือน 20 %  ( ของข้าราชการครูตอนปรับ 1 ม.ค.55 ยังออกคำสั่งไม่เสร็จเลย หึหึ )


             วิธีคำนวณว่าพนักงานราชการ ( ที่บรรจุอยู่ก่อน 1 ม.ค.56 ทุกคน ) คนใดจะได้ปรับเพิ่มค่าตอบแทนใหม่ในเดือน ม.ค.56 ให้ได้มากกว่าผู้ที่บรรจุใหม่ เป็นเท่าไร ให้นำค่าตอบแทนเดิม ณ ธ.ค.55 ตั้ง แล้วลบด้วย 14,020 แล้วคูณด้วย 0.67 จากนั้นนำไปบวกกับ 15,960 ได้เท่าไรปัดเศษขึ้นให้ลงท้ายด้วย 0 ( ต้องปัดเศษขึ้นไม่ถึง 10 บาทนะ )  ก็จะเป็นค่าตอบแทนใหม่ ม.ค.56  ตามสูตรคือ
             = [(ค่าตอบแทนเดิม - 14,020) X 0.67] + 15,960 = ค่าตอบแทนใหม่ ม.ค.56 ( ปัดเศษก่อน )

             เช่น ถ้า นาย ก. ได้ค่าตอบแทนเดิม ณ ธ.ค.55 ( ไม่รวมค่าครองชีพ ) คือ 14,430 บาท  คำนวณได้ดังนี้
             = [(14,430 - 14,020) X 0.67] + 15,960
             = [(410) X 0.67] + 15,960
             = 274.7 + 15,960
             = 16,234.7 ปัดเศษเป็นค่าตอบแทนใหม่ ม.ค.56 = 16,240 บาท ไม่ได้ค่าครองชีพแล้ว

             ตัวอย่างที่ 2 ถ้า น.ส. ข. ได้ค่าตอบแทนเดิม ณ ธ.ค.55 ( ไม่รวมค่าครองชีพ ) คือ 16,310 บาท
             = [(16,310 - 14,020) X 0.67] + 15,960
             = [(2,290) X 0.67] + 15,960
             = 1,534.3 + 15,960
             = 17,494.3 ปัดเศษเป็นค่าตอบแทนใหม่ ม.ค.56 = 17,500 บาท


             ปวส. = [(ค่าตอบแทน ธ.ค.55 - 11,160) X 0.67] + 12,240 = ค่าตอบแทนใหม่ ม.ค.56 ( ปัดเศษขึ้นก่อน )

             สำนักงาน กศน. ให้จังหวัดส่งคำสั่งปรับค่าตอบแทนพนักงานราชการ ถึง กจ. ภายในวันที่ 5 เม.ย.56


             ส่วน ลูกจ้างชั่วคราว เฉพาะที่จ้างด้วยเงินงบประมาณที่เป็นงบบุคลากร ( มีเลขที่อัตรา ) ก็จะได้ปรับขึ้นเช่นกัน โดยสำนักงบประมาณจะจัดสรรเงินมาเพิ่มให้  แต่ถ้าจ้างด้วยงบอื่น เช่น ครู ศรช. ครู ปวช. บรรณารักษ์อัตราจ้าง ครูสอนคนพิการ ครูสอนเด็กเร่ร่อน ฯลฯ ไม่มีเงินมาเพิ่มให้  ถ้าต้นสังกัดจะเพิ่มให้ก็ต้องหาแบ่งเงินต่าง ๆ เท่าที่จะมีอยู่เดิมมาเพิ่มเอง  ( อ่านตอนท้ายข้อ 1 (1) ที่ http://www.gotoknow.org/posts/514905 )


        11. วันเดียวกัน ( 23 ก.พ. ) คุณ “ติ๊ก Vatanya” ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  ตำแหน่งอื่นปรับขึ้น บรรณารักษ์จะมีโอกาสขึ้นเงินเดือนไหม

              ผมตอบว่า  คงจะขึ้นปีงบประมาณ 2557 ( ปีงบประมาณ 2557 เริ่ม ต.ค.56 )


        12. วันอาทิตย์ที่ 24 ก.พ.56 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่องขึ้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนและบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) เช่นบรรณารักษ์, ข้าราชการใน สนง.กศน.จ.  ดังต่อไปนี้

             รัฐบาลให้ปรับเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุ  สำหรับข้าราชการพลเรือน รวมบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)  ที่บรรจุตั้งแต่ 1 ม.ค.5เป็นต้นไป ดังนี้
             -
ระดับ ปวช. 8,300 บาท/เดือน จากเดิม 7,620  บาท
             - ระดับ ปวส. 10,200 บาท/เดือน จากเดิม 9,300 บาท
             - ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี 13,300 บาท/เดือน จากเดิม 11,680 บาท  ( ค่าครองชีพ 1,700 บาท รวม 15,000 บาท )
             - ระดับปริญญาโททั่วไป 16,400 บาท/เดือน จากเดิม 15,300 บาท
             - ระดับปริญญาเอก 20,000 บาท/เดือน จากเดิม 19,000 บาท

             และวันที่ 1 ม.ค.57 ก็ให้ปรับขึ้นอีก เช่น ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี ปรับขึ้นจาก 13,300 บาท เป็น 15,000 บาท/เดือน


             สำหรับ ขรก.พลเรือนและบุคลากรทางการศึกษาอื่น ที่บรรจุอยู่ก่อน 1 ม.ค.5ก็ปรับให้ได้เงินเดือนสูงกว่าผู้ที่จะบรรจุใหม่  ตั้งแต่ ม.ค.5เช่นกัน  ( ใครที่ปรับแล้วได้ไม่เกิน 15,000 บาท ก็จะไม่ได้เงินเพิ่ม เพราะต้องคืนค่าครองชีพ  ส่วนผู้ที่ปรับแล้วเกิน 15,000 บาท ต้องรอให้คำสั่งออกก่อนจึงจะได้เงินส่วนที่เกิน ตกเบิกย้อนหลังตั้งแต่ ม.ค.56 ) 
             เช่น วุฒิปริญญาตรีจะเพิ่มให้ดังนี้
             -
ถ้าเงินเดือน ธ.ค.55 = 11,680 – 13,400 บาท ก็ให้เพิ่มอีกไม่เกิน 1,620 บาท รวมไม่เกิน 14,810 บาท
             หมายความว่า
ถ้าเงินเดือน 11,680 บาท ก็ให้เพิ่มอีก 1,620 บาท รวมเป็น 13,300 บาท แต่ถ้าใครเพิ่ม 1,620 บาทแล้วเกิน 14,81บาท ก็ให้ได้แค่ 14,81บาท  ( ซึ่งจะส่งผลให้บางขั้นเงินเดือนที่เคยต่างกัน กลายเป็นเงินเดือนเท่ากัน )

             - ถ้าได้ 13,410 – 15,100 บาท ก็ให้เพิ่มอีกไม่เกิน 1,400 บาท รวมไม่เกิน 16,260 บาท
             - ถ้าได้ 15,110 – 16,800 บาท ก็ให้เพิ่มอีกไม่เกิน 1,150 บาท รวมไม่เกิน 17,710 บาท
             - ถ้าได้ 16,810 – 18,500 บาท ก็ให้เพิ่มอีกไม่เกิน 900 บาท รวมไม่เกิน 19,160 บาท
             - ถ้าได้ 18,510 – 20,200 บาท ก็ให้เพิ่มอีกไม่เกิน 650 บาท รวมไม่เกิน 20,610 บาท
             - ถ้าได้ 20,210 – 21,900 บาท ก็ให้เพิ่มอีกไม่เกิน 400 บาท รวมไม่เกิน 22,060 บาท
             - ถ้าได้ 21,910 – 23,500 บาท ก็ให้เพิ่มอีกไม่เกิน 150 บาท รวมไม่เกิน 23,510 บาท

             ถ้าได้เกิน 23,500 บาท ไม่ให้เพิ่มอีก
             ( ดูรายละเอียดที่  cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/865/003/original_W20_2555_final.pdf?1357193271 )


        13. วันเดียวกัน ( 24 ก.พ. ) คุณภูเบศร์ นาแรมงาม กศน.อ.กบินทร์บุรี เสนอในหน้าเฟซบุ๊คผม ว่า  “การทำบัตร ATM นักศึกษา กศน. ยุ่งยากมาก ต้องทำเอกสารหลายขั้นตอน น่าจะทำแบบนักศึกษา กศน.ไปแจ้งกับทางธนาคารแล้วทำเองได้เลย ไม่ต้องให้ครูนำเอกสารส่งไปสาขาใหญ่แล้วต้องรอกว่าจะได้บัตร แล้วต้องพานักศึกษามาที่ธนาคารอีกครั้งเพื่อกดรหัสและเซ็นต์ชื่ออีกรอบ”

             จากนั้น อ.สมบัติ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนากิจการนักศึกษา กป.กศน. เข้ามาตอบว่า
             1)  การทำบัตรนักศึกษา กศน.แบบใหม่นี้ สามารถทำได้ทั้ง 2 วิธี ( ถ้าธนาคารสาขาใดมีปัญหา ให้แจ้ง กป. ) คือ

                 1.1  นักศึกษาสามารถไปทำบัตรประจำตัวนักศึกษา กศน ได้ด้วยตนเองที่ธนาคาร โดย
                        - สถานศึกษาต้องส่งรายชื่อนักศึกษา กศน.พร้อมเลขประจำตัวให้ธนาคารก่อน เพื่อยืนยันว่าเป็นนักศึกษาจริง
                        - ผู้บริหารสถานศึกษาลงนามรับรองในแบบคำร้องขอทำบัตร (กรณีรายบุคคล) ให้ นศ.ถือไปทำได้ที่ธนาคาร ( ธนาคารจะตรวจสอบจากรายชื่อที่สถานศึกษาส่งให้ ถ้าตรงกันก็ทำได้เลย )

                 1.2  ทำเป็นกลุ่ม โดยครูรวบรวมเอกสารที่นักศึกษาจะทำบัตร แล้วให้ผู้บริหารสถานศึกษาทำหนังสือนำส่งธนาคาร  นศ.ต้องไปลงลายมือชื่อในสมุดบัญชีที่ธนาคารด้วยตนเอง ลงแทนกันไม่ได้ เป็นลายมือชื่อสำหรับเบิกเงิน  แต่นักศึกษาสามารถทะยอยไปทำได้ ไม่จำเป็นต้องไปพร้อมกันหมดในวันเดียว

             2)  บัตรนี้คือ "บัตรประจำตัวนักศึกษา กศน.แบบใหม่" ไม่เรียกว่าบัตร ATM ( ใช้ ATM ได้ แต่ไม่ได้ให้นักศึกษา กศน. ทำบัตร ATM นะ )

             3)  สัปดาห์หน้า จะมีหนังสือจาก กศน. แจ้งแนวทางการจัดทำบัตรให้ทราบ คือ บัตรที่ทำไปแล้ว รหัส นศ. กศน.จะซ้ำกันทุกอำเภอ ใช้ประโยชน์จากรหัสไม่ได้  บัตร กศน. ที่กรุงไทยจะพิมพ์ออกมาทีหลังจะมีเลขเพิ่มอีก 4 ตัว ( รหัสจังหวัด/อำเภอ ) เพื่อแยกรหัส นศ.แต่ละสถานศึกษาไม่ให้ซ้ำกัน


        14. วันที่ 25 ก.พ.56 ผมเผยแพร่ข้อมูลในเฟซบุ๊คว่า  “ติดตามผลการทดสอบ N-NET ได้ทางเว็บไซต์ สทศ. http://www.niets.or.th/index.php/system_niest/index/5 จะประกาศผลไม่เกินวันที่ 31 มี.ค.56
             และวันที่ 26 ก.พ.56 ผมคุยกับ อ.พรรณทิพา กลุ่มพัฒนา กศน.
ได้ข้อมูลเรื่องการสอบ e-Exam ภาค 2/55 ว่า  ถ้าที่ใดมีนักศึกษาขาดสอบ N-NET แต่จะรีบจบ  ให้ติดต่อขอสอบ e-Exam ไปยัง สนง.กศน.จังหวัดที่เป็นจุดสอบ 17 แห่ง ( ดูในข้อ 2 ที่ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/481090 )  โดยให้ทั้ง 17 จุด เปิดให้สอบในช่วง 1-31 มี.ค.56  ( คงจะไม่มีหนังสือแจ้งอีก เพราะเรื่องนี้เป็นที่รู้กันแล้ว )  บางจุดอาจให้สอบได้ก่อนวันที่ 1 มี.ค. เพราะส่วนกลางจะเปิดเครื่องเซิร์ฟเวอร์ตั้งแต่ประมาณ 27 ก.พ.56 


        15. วันที่ 26 ก.พ.56 คุณ ศิริเพ็ญ ครูอาสาฯ กศน.อ.เชียรใหญ่ ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  การฝึกอบรมทางการลูกเสือของสำนักงาน กศน.นั้น หากเรามี B.T.C.สามัญ สามัญรุ่นใหญ่ เราจะสมัครเข้ารับการอบรม A.T.C. วิสามัญได้หรือไม่

             ผมตอบว่า  ไม่ว่าจะลูกเสือ กศน. หรือในโรงเรียน ก็ไม่ได้ครับ  แม้แต่ได้ A.T.C.สามัญแล้ว จะเข้าอบรม A.T.C.วิสามัญ โดยไม่ผ่าน B.T.C.วิสามัญก่อน ก็ไม่ได้  หรือแม้แต่จะอบรม A.T.C.สำรอง ซึ่งเป็นรุ่นเล็กกว่า โดยไม่ผ่าน B.T.C.สำรอง ก็ไม่ได้  เพราะเวลาประเมินขั้นที่ 5 จะต้องส่งวุฒิบัตร B.T.C.ของประเภทนั้น ๆ  ผอ.ฝึกต้องขอให้ส่งเอกสาร B.T.C.ประเภทนั้น ๆ ประกอบการรับสมัครด้วย  ( ไม่อย่างนั้นจะต้องแบ่ง B.T.C. ออกเป็นประเภทต่าง ๆ ทำไม )


        16. เย็นวันเดียวกัน ( 26 ก.พ. ) คุณ “Sawat Non-formal” ถามในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า  อยากได้โลโก้ กศน.อำเภอที่เป็นไฟล์ .psd ใครมีบ้าง

             ผมตอบว่า  ดูที่  https://dl.dropbox.com/u/109014048/phlogonew.psd  ( จะใช้ได้หรือเปล่าไม่รู้นะ ถ้าไปเปิดในเครื่องที่เวอร์ชั่นไม่ตรงกัน ฟ้อนต์ไม่ตรงกัน อาจมีปัญหา )


หมายเลขบันทึก: 520818เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2013 01:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2013 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

มาเยี่ยมชมผลงานและให้กำลังใจครับ

ขอบคุณครับอาจารย์..ตรงใจหลายเรื่อง..กะว่าจะถามอยู่เหมือนกัน..ก็มีเพื่อนหลายคนที่มีปัญหา..อยากทราบ..สุดยอดครับ

อบคุณท่าน ผอ.ดิศกุล และครูอาสาพัทยา ครับ

ขอบพระคุณค่ะ ได้ความรู้มากมายและถูกต้องจากบล็อกของท่าน เป็นกำลังใจให้และอย่าทิ้งกันนานนะคะ

แวะมาอ่านสาระดีๆของคนกศน.ค่ะ

ขอบคุณมากนะค่ะที่นำมาให้ได้รู้

ข้อมูลดีๆทั้งนั้นเลยคะ่ เวลาหาอะไรไม่ได้ก็ต้องมาที่นี่แหละ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะค่ะ

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกคนนะครับ

อยากถามว่าครูดอยส่วนมากมีวุฒิเป็น ปกศสูง ปวส.บ้าง ทำไมไม่ได้ค่าครองชีพ และถ้าเราจบ ป.ตรีนานแล้วทำไมไม่ให้ปรับวุฒิ และถ้าตามประกาศ พร.ฉบับที่ 6 กศน.จะช่วยให้เรารับเงินวุฒิ ป.ตรีได้ไหม ทำงานจนท้อแล้ว ที่จริงน่าจะช่วยกันนะ เช่นถ้าจังหวัดไหนมีตำแหน่ง ป.ตรีว่าง ก็ให้พวกที่ยังไม่ได้เงินวุฒิ ป.ตรีสอบ แล้วค่อยให้คนนอกสอบแทนวุฒิ ปกศ.สูง  ขอขอบคุณคำตอบล่วงหน้าครับ

เข้ามาอ่านเมื่อใด  ได้ความรู้ใหม่ๆ ตลอด ขอบคุณครับอาจารย์


1. ครูดอยที่ว่าวุฒิ ปกศ.สูง ปวส.นี้ เป็นพนักงานราชการหรือเป็นอะไรครับ ถ้าไม่ได้เป็นพนักงานราชการ ก็ไม่ได้ค่าครองชีพ ( เช่นเดียวกับ ครู ศรช. ครูประจำกลุ่ม ครู ปวช. ครูสอนคนพิการ ครูสอนเด็กเร่ร่อน บรรณารักษ์จ้างเหมา ฯลฯ ก็ไม่ได้ค่าครองชีพเช่นกัน )

2. แม้แต่พนักงานราชการก็ปรับวุฒิไม่ได้นะครับ ปรับวุฒิได้เฉพาะข้าราชการบางตำแหน่ง

3. การเปิดสอบพนักงานราชการ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อกำหนดของ ก.พ.ร. ซึ่งกำหนดให้ต้องรับสมัครบุคคลทั่วไป เราไม่มีอำนาจกำหนดเอง ก.พ.ร.เขาอยู่นอกอำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการด้วยซ้ำ ต่างจากครู ซึ่งอยู่ในความดูแลของ ก.ค.ศ. โดย ก.ค.ศ.อยู่ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จึงขอรับสมัครเฉพาะบุคคลภายในได้ในบางกรณี

      สวัสดีค่ะ ท่าน เอกชัย  กศน.ผักไห่

     ขอบคุณที่นำมาให้อ่านค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ที่เผยแพร่ข่าวข้อมูลใหม่ๆ

ขอบคุณค่ะ สำหรับข้อมูลดีๆ ที่เป็นประโยชน์

สวัสดีค่ะขอบคุณที่แบ่งบันความรู้ให้ค่ะ

ขอบคุณที่นำเรื่องราวดี ๆ  มาแบ่งปันกันค่ะ

มาให้กำลังใจค่ะ ขอบคุณข้อมูลดีๆค่ะ

ขอบคุณข้อมูลครับเยอะจนอ่านไม่ไหวเลยอิอิ

 

ขอบคุณท่าน    และทุกคนที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท