พัฒนาระบบงานเพื่อลดการติดเชื้อแผลฝีเย็บ


ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบงานเพื่อลดการติดเชื้อแผลฝีเย็บและแผลฝีเย็บแยก

คำสำคัญ : ติดเชื้อแผลฝีเย็บ หมายถึง การติดเชื้อของแผลบริเวณฝีเย็บจะพบลักษณะแผลบวมแดง บริเวณขอบแผลอาจพบเนื้อตายและมีน้ำเหลือง น้ำเหลืองปนเลือด หรือหนองออกมาจากบาดแผล  จากนั้นการแยกของแผลตามมา อาการที่ตรวจพบได้แก่ ปวดบริเวณแผลฝีเย็บ ปัสสาวะจะแสบขัด (อาจพบร่วมกับ urinary retention) มีหนองบริเวณบาดแผล และมีไข้

   : แผลฝีเย็บแยก หมายถึง การแยกของแผลฝีเย็บหลังคลอดโดยไม่มีข้อวินิจฉัยการติดเชื้อ

สรุปผลงานโดยย่อ:  รพ.ศรีสงคราม มีผู้คลอดที่มีแผลฝีเย็บ ปี 2554= 675 ราย ติดเชื้อ 4 ราย ( 0.59 %)  ปี 2555= 728 ราย ติดเชื้อ 5 ราย ( 0.68 %) พบอุบัติการณ์แผลฝีเย็บแยกโดยไม่มีการติดเชื้อ 17 รายต้องได้รับการเย็บซ่อม 17 ราย มีแนวโน้มสูงขึ้น แผลฝีเย็บแยกและการติดเชื้อแผลฝีเย็บยังเป็นปัญหาสำคัญในการให้บริการผู้คลอด จึงได้มีการวิเคราะห์ ทบทวนทุกระบบที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาระบบงานเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้รับบริการทำให้อัตราการติดเชื้อลดลงได้

ชื่อและที่อยู่องค์กร; งานห้องคลอด โรงพยาบาลศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

สมาชิกทีม: นางกรมรี แพงดี, น.ส.ศศิธร พรหมประกาย, น.ส.สุกัญญา อนุญาหงษ์ , น.ส.กวินชิดา  ศรีมี , น.ส.นิภาวรรณ ศรีสุวอ , น.ส.ทัชชกร กลางประพันธ์ , น.ส.นันจิรา ทากิระ , น.ส.รัชฎา ยะภักดี ,

นางนงลักษณ์ พันธุ์เวียง , นางสายใจ ชาแสน , นางกรรณิการ์ สุภาพันธ์ , น.ส.ปัทยา ทีสุกะ

เป้าหมาย : ลดอัตราการติดเชื้อแผลฝีเย็บ ≤ 0.5 %

    : ลดอุบัติการณ์แผลฝีเย็บแยกที่ต้องรับการ Re-suture

ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ :

  จากอุบัติการณ์การคลอดที่โรงพยาบาลศรีสงครามที่ได้รับการเย็บซ่อมแซมฝีเย็บในปี 2554  จำนวน  675  ราย พบแผลฝีเย็บแยกไม่มีหนอง  8  ราย (1.18 %) แผลฝีเย็บมีหนองติดเชื้อ  4  ราย ( 0.59 %) ซึ้งเป็นการคลอดที่ต้องใช้ หัตถการ 1 ราย ( 0.15 % ) ปี 2555  จำนวน  728 ราย พบแผลฝีเย็บแยกไม่มีหนอง  9  ราย (1.23 %) แผลฝี เย็บมีหนองติดเชื้อ  5  ราย (0.68 %)   จากการทบทวนอุบัติการณ์ มีปัจจัยส่งเสริมที่อาจเป็นสาเหตุได้แก่ การคลอดยากในระยะที่ 2 การคลอดยาวนาน  มารดาอยู่ไฟหลังคลอด   และจากเทคนิคการเย็บแผลฝีเย็บ  จากการทบทวนอุบัติการณ์ เวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูล พบว่าปัจจัยที่มีส่วนสำคัญมากปัจจัยหนึ่งคือ  ทักษะประสบการณ์ตลอดจนเทคนิคการเย็บแผลของพยาบาลแต่ละคนไม่เหมือนกันและเกณฑ์ การวินิจฉัยแยกกันระหว่างแผลฝี เย็บแยกและแผลฝี เย็บติดเชื้อไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 

กิจกรรมการพัฒนาคุณภาพ :

 ด้านข้อมูลข่าวสาร: มีการทบทวนด้านวิชาการ ตัวชี้วัด ทบทวนเวชระเบียน กระบวนการและวิธีการวิเคราะห์วินิจฉัยการติดเชื้อ ทบทวนและปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูล สถิติ ติดตามตัวชี้วัดหลัง

ด้านบุคลากร: มีการฟื้นฟูความรู้ ทักษะด้านทำคลอด เย็บแผลเป็นรายบุคคล และความรู้ด้านวิชาการด้าน IC ประเมินผลการปฏิบัติตามแนวทางการเย็บแผลที่กำหนดให้รัดกุม กำกับและประเมินการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องทุกระดับ

ด้านสิ่งแวดล้อม: กำกับติดตามการปฏิบัติตามหลัก IC ในการจัดการสิ่งแวดล้อม การทำความสะอาด การทำลายเชื้อ การเตรียมความพร้อมของสถานที่และการจัดเก็บเครื่องมือ

ด้านเครื่องมืออุปกรณ์ : ทบทวนปรับปรุงด้านการจัดการเครื่องมือ อุปกรณ์ เวชภัณฑ์ โดยแยกชุดเย็บแผลออกจากชุดทำคลอด ติดตามกำกับกระบวนการปราศจากเชื้อ การตรวจสอบเครื่องมือก่อนใช้ การสำรองเครื่องมือ

ด้านผู้รับบริการ : การให้ข้อมูลเสริมพลังในการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอด รับรู้และตระหนักในการเฝ้าระวังการติดเชื้อรวมทั้งการปฏิบัติที่ถูกต้อง การทำความสะอาด การอยู่ไฟที่เหมาะสม การเข้าถึงบริการที่สามารถให้การปรึกษาได้

การวัดผลและการเปลี่ยนแปลง

 ระยะเวลาดำเนินการ  ตุลาคม 2555 – กุมภาพันธุ์ 2556 มีมารดาหลังคลอดที่ต้องเย็บแผลฝีเย็บ จำนวน 277 ราย  พบอัตราการติดเชื้อแผลฝีเย็บมีหนอง = 0 ราย

พบอุบัติการณ์แผลแยกได้รับการเย็บซ่อม 3 ราย คิดเป็น = 1.08 %

สรุป: การพัฒนาระบบงานทั้งด้านวิชาการ การปฏิบัติ ด้านการจัดการเพื่อป้องกันการติดเชื้อแผลฝีเย็บทำให้อัตราการติดเชื้อลดลงจาก 0.68 % เป็น 0 % แผลแยก 1.23 % เป็น 1.08%

บทเรียนที่ได้รับ: อุบัติการณ์การติดเชื้อแผลฝีเย็บ แผลฝีเย็บแยก มีปัจจัยหลายด้านที่เกี่ยวข้อง ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคลากร การพัฒนาระบบงานทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง จึงทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้รับบริการตามที่คาดหวังได้

ทีมงาน : นางกรมรี แพงดี งานห้องคลอด รพ.ศรีสงคราม042-599230 ต่อ 101,0816628211

  Email. [email protected]


หมายเลขบันทึก: 520779เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2013 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2013 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท