KM สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี(2)


นับได้ว่าจังหวัดอุบลราชธานี เป็น1 ในจังหวัดนำร่องของกรมส่งเสริมการเกษตรที่ได้ดำเนินการจัดการความรู้ ที่สามารถดึงภาคีม

ขอเล่าเรื่อง KM สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานีต่อนะคะ

     พ่อไพฑูรย์ สมสมัย ต.โพนแพง อ.ม่วงสามสิบ ได้กล่าวถึงการผลิตข้าวอินทรีย์ จากเดิมได้ปลูกข้าวมีเพลี้ยไฟระบาดโดยในช่วงปี2515-2516 มีที่นา 30 ไร่ ผลผลิตได้ไม่ถึง 100 ถัง และเมื่อก่อนนี้พ่อไพฑูรย์ไปทำงานต่างถิ่น กลับมาบ้านเมื่อ ปี 2541 ได้เข้ารับการอบรมเกษตรอินทรีย์ แต่เสร็จสิ้นการอบรมก็ยังไม่ได้ทดลองทำ เพราะช่วงนั้นข้าวในนาตาย จึงมีความคิดอย่างเดียวว่าทำอย่างไรข้าวไม่ตายและให้มีข้าวที่เก็บเกี่ยวได้เท่านั้น ต่อมาปี 2546 จึงได้เริ่มทดลองทำโดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปรากฎว่าข้าวไม่ตายและต่อมาได้ร่วมงานวิจัยเกษตรอินทรีย์กับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ปุ๋ยที่ใช้เป็นปุ๋ยขี้ไก่ มีราคาแพงจึงใส่แกลบไปด้วย การใส่ปุ๋ยใช้หว่านแล้วไถกลบ บางครั้งใส่ปุ๋ยนำในขวดแล้วเอาเข็มเจาะรูวางทางน้ำไหล  ขณะนี้มีกลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์ ได้ GAP แล้ว พ่อไพฑูรย์ได้กล่าวถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้ลดการใช้สารเคมีอีกว่า มีการปลูกพริกซึ่งใช้สารเคมีมาก ผลจากการใช้สารเคมีมากขณะนอนช่วงกลางคืนได้กลิ่นเหม็นของยารบกวน คนแก่นอนไม่หลับ จึงสงสารคนแก่ที่หายใจไม่ออก อีกอย่างยิ่งใช้สารเคมีมาก ก็ยิ่งต้องซื้อยามารักษาสุขภาพของตนเองมากตามไปด้วย

                            Ubon18

                                  คุณเสริม แสงสุข

     คุณเสริม แสงสุข เล่าว่าตนเองเป็นลูกชาวนา จบ ปวส.เกษตร เป็นคนใฝ่รู้ ปี 2540 ได้อบรมเกษตรอินทรีย์และได้ทดลองทำดูบ้าง ต่อมาปี 2542 อบรมเรื่องผัก จึงได้กลับมาทำโดยทำปุ๋ยหมักรวมกลุ่มทำไร่นาสวนผสม ตนเองได้ตั้งความหวังไว้ในใจว่าชีวิตนี้ต้องทำอะไรให้สำเร็จสักหนึ่งอย่าง ก็ทำได้จริง ๆ เมื่ออายุได้ 30 ปี โดยได้ประสานงานกับเกษตรอำเภอจัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ระดับหมู่บ้านโดยใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจ 1 ล้านบาทที่ต.หนองเมือง เพราะที่นามีกรดมาก ทำนาไปแล้วเมื่อปุ๋ยหมดใบเหลืองออกสีส้ม ๆ ทันที เมื่อใช้ปุ๋ยที่ผลิตได้ทำให้ข้าวปกติอีกครั้ง และสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ พื้นดินมีไส้เดือนฝอยเต็มไปหมด ทำมาเป็นปีที่ 10 แล้ว ขณะนี้มีเครื่องทุ่นแรงผลิตปุ๋ย ผลที่ได้คือ

     เดิม         นา 30 ไร่  ผลผลิต   70   กระสอบ มีข้าวเมล็ดลีบ

     ปัจจุบัน   นา 30 ไร่  ผลผลิต   400 กระสอบ  ข้าวเต็มเมล็ด

    หลังปักดำใช้สมุนไพรไล่แมลง(ทำจากสาบเสือ สะเดาฯลฯ) ทำให้ไม่มีแมลงมารบกวน ต้นข้าวสูงสง่า ไม่มีโรค

     คุณเสริมเล่าว่าเกษตรกรเป็นผู้จัดการนา ลดต้นทุน ไม่ซื้อปุ๋ย แต่มีค่าใช้จ่ายในการนวด เก็บเกี่ยวเท่านั้น และตนเองมีความประทับใจการทำเกษตรอินทรีย์ ทำให้หนีจากความยากจน เพราะต้นทุนต่ำ แต่ได้ผลผลิตสูง ควรมีการรณรงค์เรื่องนี้ให้มีการทำกันมาก ๆ มีจุดถ่ายทอดให้เห็นชัดเจน จะมีประโยชน์มาก เมื่อเราทำเกษตรเคมี เจ็บป่วยเสมอ ๆ แต่เราทำเกษตรอินทรีย์ สุขภาพดีขึ้น ผู้บริโภคปลอดภัย

    

     ตอนช่วงบ่าย มีการแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็น 4 กลุ่มได้แก่การจำแนกพื้นที่ การบูรณาการแผน การถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมและเครือข่าย ซึ่งเป็นกระบวนการตามโครงการส่งเสริมการผลิตพืชปลอดภัยได้มาตรฐาน แล้วนำผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มย่อยมานำเสนอในกลุ่มใหญ่ โดยบางกลุ่มได้นำเสนอกรณีที่ประสบความสำเร็จด้วย และสุดท้ายอาจารย์ภาสกรได้สรุปทั้งหมดตาม mindmap

                         Ubon18

     เช่นเดียวกันสาย B ก็มีการดำเนินการในลักษณะเดียวกัน

 

                                  Ubon18    

                                         สภาพห้องสัมมนาสาย B 

การลปรร.ครั้งนี้ทำให้เกิดการทบทวนการปฏิบัติงานของกลุ่มตนเองพร้อมทั้งให้ไปทบทวนข้อมูลอีกครั้งเพื่อนำไปสู่การสรุปผลในภาพรวมต่อไป  ทั้งนี้จังหวัดได้กำหนดวันสัมมนาสรุปบทเรียนการจัดการความรู้วันที่ 28 ก.ย.49 ณ โรงแรมรีเจนท์พาเลซ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี โดยให้ผู้เข้าสัมมนาทุกคนจัดทำเรื่องเล่าในเรื่องการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐานและกระบวนการส่งเสริมการเกษตรแบบมีส่วนร่วม

    นับได้ว่าจังหวัดอุบลราชธานี เป็น1 ในจังหวัดนำร่องของกรมส่งเสริมการเกษตรที่ได้ดำเนินการจัดการความรู้  ที่สามารถดึงภาคีมาร่วมด้วยอย่างน่าสนใจ

ธุวนันท์ พานิชโยทัย

27 ก.ย.2549

หมายเลขบันทึก: 52063เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2006 08:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท