DHS...หัวใจในการทำงาน?


ระบบการทำงานเพื่อ ร่วมกันแก้ปัญหาสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ(Efficiency) บูรณาการ (Integration) ภาคีเครือข่าย (Network) เน้นเป้าหมาย (Goal) ผ่านกระบวนการชื่นชม การเห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน (Appreciate) และจัดการความรู้ (Knowledge management ; KM ) แบบอิงบริบท (Context) ของแต่ละสถานที่

 ... ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 ได้ไปประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาเครือข่ายสุขภาพ ระดับอำเภอ (DSH; District Health Systems) โดบ สำนักบริหาร สาธารณสุข และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข .... ที่ โรงแรม รามาการ์เด้นส์ ถนนวิภาวดี กรุงเทพมหานครฯ ...

          -  เปิดการประชุมโดย ท่าน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และท่านบรรยายเรื่องทิศทางการพัฒนาเครืข่ายบริการสุขภาพ ท่าน นพ. ณรงค์ สหเมธาพัฒน์

         -  แนวทางและขั้นตอนการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพ ระดับอำเภอ (Roadmap & KPI) โดย นพ. สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ

         -  ตอนบ่าย P’Ple  บรรยายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เข้าฟังการบรรยาย  “เรื่อง.. ระบบการดูแลเด็กและสตรี... การดูแลวัยใสใน Model "รุก-รับ-ลับ-ลึก"

             

             

               

              ที่นี้เรามาคุยกันนิดหนึ่งนะคะ  เรื่องDHS คืออะไร? นะคะ....DHS คือการทำงานโดยใช้  “อำเภอ”  ..เป็นฐาน ในการมองทุกส่วนในอำเภอ  “เป็น...เนื้อเดียวกัน” .... ไม่ว่าจะเป็นสาธารณสุข ส่วนราชการ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และภาคีภาคประชาชน โดย .... มีเป้าหมายที่จะขับเคลื่อน...การดูแลสุขภาพของคนทั้อำเภอ...ผสมผสานทั้งงาน “ส่งเสริมสุขภาพ& ป้องโรค& รักษาพยาบาล & ฟื้นฟูสภาพ ... “เข้าด้วยกัน” …. ระบบสุขภาพอำเภอจึงเป็นการมองสุขภาพในมุมกว้างและเน้นการทำงานร่วมกันทั้งภาคีเครือข่ายและภายนอกเครือข่ายสาธารณสุข ....

         สรุปง่าย DHS คือ  ระบบการทำงานเพื่อ ร่วมกันแก้ปัญหาสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ(Efficiency) และ บูรณาการ (Integration) ภาคีเครือข่าย (Network)  เน้นเป้าหมาย (Goal) ผ่านกระบวนการชื่นชม การเห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน (Appreciate) และ จัดการความรู้ (Knowledge management; KM ) แบบอิงบริบท (Context) ของแต่ละสถานที่....

            

            

           

            

  เนื่องจากในปัจจุบันปัญหาสาธารณสุขหลายๆด้านในปัจจุบัน “ไม่สามารถแก้” ด้วยตัวเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพียงด้านเดียว และการมีเป้าหมาย หรือตัวชี้วัดมีมากมาย  ซ้ำซ้อน “ขาดหัวใจในการทำงาน” ….มุ่งแต่ตอบตัวชี้วัด ... บริบทแตกต่างกัน ...แต่ ได้ใส่เสื้อที่ตัดมาจากส่วนกลาง..เหมือนกัน ..... ทำให้การทำงานก็ ...  “ไม่คล่องตัว” ...การทำงานด้วย  ...  “หัวใจความเป็นมนุษย์” .... จึงจะผลักดันผ่านระบบบริการปฐมภูมิ ... และเป็นการวิเคราะห์ เรียนรู้ร่วมกันในพื้นที่ เพื่อการศึกษา มาทำงานร่วมกันด้วนกระบวนการDHS ....

               

....  ภาพที่อยากเห็นคือ..คนในพื้นที่ไม่ทิ้งกัน ....ต้องการการดูแลที่.... “เป็นมากกว่าหน้าที่” ... ... เป็นการทำงานที่ต้องการ.... "การแก้ปัญหาร่วมกัน” โดยเริ่มจากกระบวนการ Context Based Learning; CBL…นำไปสู่การแลกเปลี่ยน  ซึมซับระหว่างกัน....ก่อให้เกิดผล  “เหนือกว่าความคาดหวัง” .... เป็นมากกว่า ตัวชี้วัด (KPI) .... เพราะทำด้วย...  “ความที่มีหัวใจเป็นมนุษย์”

                

  วันนี้สรุปแค่นี้ก่อนนะคะ .... มีต่อครั้งหน้านะคะ .... สรุปแล้ว....การร่วมกันทุกๆท่านในอำเภอนะคะ .... โดยทุกๆฝ่ายมาร่วมด้วยช่วยกันจริงๆ ....นะคะ

       

             "ใช้พื้นที่เป็นฐาน

              บูรณาการทุกภาคส่วน

               สร้างกระบวนการเรียนรู้

                สู่วิถีชุมชน"

                 


               ขอบคุณมากค่ะ



หมายเลขบันทึก: 520599เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2013 23:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2013 00:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

-ชื่นชมในความสามารถของท่าน....จะนำเอาแนวทางการทำงานในระบบ DHS มาบูรณาการใช้ในกิจกรรมผู้สูงอายุนะครับ

เป็นรูปแบบการดูแลสุขภาพเพื่อชุมชนที่ดีมากค่ะ..ขอให้กำลังใจในการขับเคลื่อนตามเป้าหมายด้วยดีนะคะ

I like this :

...DHS คือ  ระบบการทำงานเพื่อ ร่วมกันแก้ปัญหาสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ(Efficiency) และ บูรณาการ (Integration) ภาคีเครือข่าย (Network)  เน้นเป้าหมาย (Goal) ผ่านกระบวนการชื่นชม การเห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน (Appreciate) และ จัดการความรู้ (Knowledge management; KM ) แบบอิงบริบท (Context) ของแต่ละสถานที่....

I don't like this :

...ในปัจจุบันปัญหาสาธารณสุขหลายๆด้านในปัจจุบัน “ไม่สามารถแก้” ด้วยตัวเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพียงด้านเดียว และการมีเป้าหมาย หรือตัวชี้วัดมีมากมาย  ซ้ำซ้อน “ขาดหัวใจในการทำงาน” ….มุ่งแต่ตอบตัวชี้วัด ... บริบทแตกต่างกัน ...แต่ ได้ใส่เสื้อที่ตัดมาจากส่วนกลาง..เหมือนกัน ..... ทำให้การทำงานก็ ...  “ไม่คล่องตัว” ...

What is needed more is perhaps a "national" support (not control) organization to provide training, best practices, well-managed KM technologies and "a common KM system" (with a "call centre"), fully funded and operated with sufficiently high priority...

But maybe we have to wait for next governments or a revolt in public health systems to see this happens. In the meanwhile, we all have to do our different best ;-)

เป็นแนวทางในการทำงานที่ดี สามารถนำไปปรับใช้ในงานของตนเองได้เป็นอย่างดีเลย

ขอบคุณมากค่ะ

ชอบระบบการทำงานวิจัยเชิงพื้นที่ครับ

"ใช้พื้นที่เป็นฐาน

              บูรณาการทุกภาคส่วน

              สร้างกระบวนการเรียนรู้

             สู่วิถีชุมชน"

ขอบคุณครับพี่เปิ้น

ขอบคุณ พี่ๆ  เพื่อนๆ น้องๆ มากนะคะ .... ให้กำลังใจ นะคะ











เป็นแนวทางการให้คุณค่าและพลังชีวิตแก่เพื่้อนมนุษย์ครับผม

คุณหมอเปิ้นแต่งตัวสวยจังเลยค่ะ

....  ขอบคุณ Dr.Pop มากๆ ค่ะให้กำลังใจ P'Ple นะคะ 

 ขอบคุณ น้องกล้วยไข่มากๆค่ะ  ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท